วันนี้ (9 พ.ค.) นายฉูอิบ ปังแลมาปุเลา เกษตรกรชาวนา หมู่ที่ 3 ต.เกตรี อ.เมือง จ.สตูล กล่าวถึงราคาข้าวที่สูงขึ้นในขณะนี้ ว่า ราคาข้าวที่ชาวนาสตูลส่วนใหญ่ปลูกจำหน่ายในราคาข้าวเปลือกจากเดิมราคา 7-8 บาท ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 12 บาทนั้น ยอมรับว่าราคาข้าวปีนี้ดีขึ้น แต่ถ้าเทียบกับค่าจ้างไถนา ค่ายาในการฆ่าหอยเชอรี่ ยาฆ่าหนูนาอีก แต่ก็ไม่เยอะเหมือนก่อน และยังมีค่าปุ๋ย เมื่อคิดรวมกันแล้วเท่ากับว่าชาวนาก็ไม่ได้อะไรเลย เพราะทุกอย่างก็ปรับราคาขึ้นตามราคาข้าวสารไปด้วย
ตอนนี้ก็มีชาวนาหลายรายหันไปเปลี่ยนนาข้าวเป็นสวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมันแทน เพราะหากเทียบกับการทำนาแล้วไม่เห็นเงินเป็นกอบเป็นกำ เกษตรชาวนายังบอกด้วยว่า ดินที่มีอยู่ 10 ไร่ ก็ยังคงปลูกข้าวเต็มพื้นที่เช่นเดิม เพราะจะให้ปลูกมากกว่านี้คงไม่ได้ เพราะมีนาข้าวเพียงแค่นี้ จะให้เช่าที่ปลูกเพิ่มคงไม่ทำแน่เพราะทำเพียงแค่นี้ก็พออยู่พอกินได้แต่ก็ไม่ร่ำรวยอะไร
ชาวนาสตูล ยอมรับว่า แม้ชีวิตชาวนาจะมีชีวิตที่ไม่หวือหวาอยู่ในสภาพอย่างนี้ ก็คิดว่าจะทำนาให้ลูกหลานต่อไป และไม่คิดจะเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น หากเปลี่ยนจากนาไปเป็นสวนยางก็ไม่มีอะไรกิน เพราะข้าวสารก็แพง
พร้อมเสนอรัฐว่า อย่าสนับสนุนในเรื่องของการปลูกปาล์ม หรือสวนยางพาราเยอะมากเกินไป เพราะชาวนาได้เปลี่ยนไปทำสวนกันเยอะ เพราะมีชาวบ้านบางกลุ่มเห็นว่าไม่คุ้มหากเทียบกับการทำสวนปาล์มขึ้นกิโลกรัมละ 6-8 บาท ยางแผ่นขึ้นกิโลกรัมละ 6-70 ซึ่งข้าวสารได้ตั้ง 2 กิโลกรัมแล้วชาวบ้านยังคิดแบบนี้
อย่างไรก็ตาม หากถามว่าข้าวขึ้นราคาเกษตรกรนาข้าวมีชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนตัวคิดว่ายังไม่ดีขึ้น เพราะขายข้าว 2 กระสอบ ได้ปุ๋ยกลับมา 1 กระสอบแล้วจะดีได้อย่างไร ปุ๋ยก็ขึ้นราคา พันธุ์ข้าวก็ขึ้นราคา หอยเชอรี่ก็ต้องกำจัดอีกนำมันรถก็ขึ้น ฝากให้รัฐบาลช่วยควบคุมราคาปุ๋ยให้ลดหน่อย ระดับรากฐานจะไปสู้ระดับราชการได้อย่างไร
เกษตรกรชาวนา บ้านเกตุรี ยังบอกด้วยว่า ในละแวกบ้านตนชาวบ้านได้เปลี่ยนนาไปเปลี่ยวสวนมากถึง 65% แม้ใครจะเปลี่ยนแต่ตนไม่เปลี่ยนหลังได้เข้ารับการอบรมเศรษฐกิจพอเพียงที่ จ.สุราษฎร์ธานี ได้แนวคิดว่า หากรู้จักการบริหารจัดการที่ดินให้ดี โดยใช้น้ำในสัดส่วน 30% สวน 30% นาข้าว 30% และดิน 10% ก็จะทำให้เราอยู่ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ยากเป็นหนี้ถ้าจะให้ไปกู้มาปรับปรุงก็เห็นว่าไม่ดีกว่า ค่อยๆ เปลี่ยนน่าจะดีกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น