นับตั้งแต่สถานการณ์ราคายางพาราดีขึ้น จนทะลุกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงลูกจ้างกรีดยางต่างมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกันถ้วนหน้า
"กวีศักดิ์ สุขยิ่ง" เกษตรกรสวนยางพารารายหนึ่งในบ้านวังพา ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่มีสวนยางกว่า 10 ไร่ แต่กลับออกไปรับจ้างกรีดยางให้กับชาวสวนยางรายอื่น บอกว่า
"กวีศักดิ์ สุขยิ่ง" เกษตรกรสวนยางพารารายหนึ่งในบ้านวังพา ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่มีสวนยางกว่า 10 ไร่ แต่กลับออกไปรับจ้างกรีดยางให้กับชาวสวนยางรายอื่น บอกว่า
เหตุที่ต้องไปรับจ้างกรีดยางสวนของคนอื่น เนื่องจากต้องการมีรายได้เข้าครอบครัวมากขึ้น เพราะสวนยางพาราที่มีอยู่ จะมีพ่อแม่คอยกรีดอยู่แล้ว
"เราเป็นลูกอยากจะหาเงินเลี้ยงชีพเองบ้าง จึงออกไปรับจ้างกรีดยางของคนอื่นอีกทั้งตนเองก็แยกไปสร้างครอบครัวเองแล้ว การหารายได้เข้าครอบครัว จึงมีความจำเป็นมาก ยิ่งในช่วงราคายางพาราดี ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ความเป็นอยู่ของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รวมถึงครอบครัวของตัวเองก็ดีขึ้นไปด้วย" กวีศักดิ์กล่าวและว่า
ราคายางแพง ทำให้ภาพรวมความเป็นอยู่ของชาวสวนยางดีขึ้นก็จริง แต่สำหรับตัวเขาแล้ว มองว่ามันไม่ต่างอะไรจากเดิมกับช่วงที่ราคายางไม่ดีมากนัก
"จริงอยู่ที่ตอนนี้ราคายางแพงทะลุเกิน 100 บาทแล้ว ขายน้ำยางสด ยางแผ่น ได้เงินมาแต่ละวันเพิ่มมากขึ้น แต่อย่าลืมว่า ขณะนี้ ค่าครองชีพก็สูงขึ้น ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ปรับขึ้นราคากันต่อเนื่อง ทำให้รายจ่ายมีมากขึ้นเช่นกัน"
หนุ่มสวนยางรายนี้ บอกอีกว่า
"เราเป็นลูกอยากจะหาเงินเลี้ยงชีพเองบ้าง จึงออกไปรับจ้างกรีดยางของคนอื่นอีกทั้งตนเองก็แยกไปสร้างครอบครัวเองแล้ว การหารายได้เข้าครอบครัว จึงมีความจำเป็นมาก ยิ่งในช่วงราคายางพาราดี ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ความเป็นอยู่ของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รวมถึงครอบครัวของตัวเองก็ดีขึ้นไปด้วย" กวีศักดิ์กล่าวและว่า
ราคายางแพง ทำให้ภาพรวมความเป็นอยู่ของชาวสวนยางดีขึ้นก็จริง แต่สำหรับตัวเขาแล้ว มองว่ามันไม่ต่างอะไรจากเดิมกับช่วงที่ราคายางไม่ดีมากนัก
"จริงอยู่ที่ตอนนี้ราคายางแพงทะลุเกิน 100 บาทแล้ว ขายน้ำยางสด ยางแผ่น ได้เงินมาแต่ละวันเพิ่มมากขึ้น แต่อย่าลืมว่า ขณะนี้ ค่าครองชีพก็สูงขึ้น ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ปรับขึ้นราคากันต่อเนื่อง ทำให้รายจ่ายมีมากขึ้นเช่นกัน"
หนุ่มสวนยางรายนี้ บอกอีกว่า
ระยะเวลากรีดยาง 15 วันต่อเดือน
ทำให้ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 90,000 บาท
ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อวันประมาณ 6,000 บาทขึ้นไป และที่ผ่านมา ทางครอบครัวรวมถึงตนเอง ก็ไม่ได้นำเงินมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย พยายามเก็บเงินให้มากที่สุด เพื่ออนาคตข้างหน้า
"ในอดีตรับจ้างกรีดยางได้เงินวันละ 600 -700 บาท แต่ปัจจุบันราคายางพาราดีขึ้น ค่าจ้างก็ได้มากขึ้น ตกวันละ 1,500-2,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายรายวันซื้อกับข้าวเข้าบ้าน 200-300 บาท หรือมากสุด 500 บาท ก็ยังมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามที่ขัดสน ไม่ต้องไปหากู้ยืมใคร อยู่อย่างเพียงพอ และรู้จักคำว่าพอเพียง ตามพระราชดำรัสของในหลวง และที่ผ่านมา ก็ไม่เคยนำเงินมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย"
กวีศักดิ์ บอกว่า ชาวสวนยางบางรายนำเงินไปซื้อรถยนต์ยนต์ป้ายแดง หรือรถจักรยานยนต์คันใหม่ โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค บางคนนำเงินที่เก็บสะสมไว้ไปซื้อสวนยางพาราเพิ่ม เพื่อขยับขยายกิจการและเพื่ออนาคตข้างหน้า แทนการนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารเพียงเพื่อหวังดอกเบี้ย
ขณะที่เถ้าแก่สวนยางพารากว่า
"ในอดีตรับจ้างกรีดยางได้เงินวันละ 600 -700 บาท แต่ปัจจุบันราคายางพาราดีขึ้น ค่าจ้างก็ได้มากขึ้น ตกวันละ 1,500-2,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายรายวันซื้อกับข้าวเข้าบ้าน 200-300 บาท หรือมากสุด 500 บาท ก็ยังมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามที่ขัดสน ไม่ต้องไปหากู้ยืมใคร อยู่อย่างเพียงพอ และรู้จักคำว่าพอเพียง ตามพระราชดำรัสของในหลวง และที่ผ่านมา ก็ไม่เคยนำเงินมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย"
กวีศักดิ์ บอกว่า ชาวสวนยางบางรายนำเงินไปซื้อรถยนต์ยนต์ป้ายแดง หรือรถจักรยานยนต์คันใหม่ โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค บางคนนำเงินที่เก็บสะสมไว้ไปซื้อสวนยางพาราเพิ่ม เพื่อขยับขยายกิจการและเพื่ออนาคตข้างหน้า แทนการนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารเพียงเพื่อหวังดอกเบี้ย
ขณะที่เถ้าแก่สวนยางพารากว่า
400 ไร่ รายใหญ่ใน ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
"เจริญ อรุโณประโยชน์" บอกว่าแม้ราคายางพาราจะสูงมากในขณะนี้ แต่สำหรับตนเองแล้ว ยังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิมปกติ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือใช้ชีวิตหวือหวากว่าเดิม และไม่คิดที่จะหาซื้อสิ่งใดมาเพิ่ม หากไม่มีความจำเป็น
"ยอมรับว่าราคายางพาราดี อาจมีส่วนทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเฉพาะบรรดาลูกจ้างของผม 17 ครัวเรือนที่ดูแลเขาอยู่ตอนนี้ พวกเขามีความเป็นอยู่สะดวกสบายมากขึ้น บางรายก็สามารถเก็บเงินซื้อรถกระบะ ซื้อจักรยานยนต์ บางรายก็นำเงินที่เก็บสะสมทั้งในอดีตและปัจจุบัน มาก่อสร้างบ้านเรือน เราเห็นแล้วก็รู้สึกยินดีไปกับพวกเขาด้วยที่เขาเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น" เจริญกล่าว
ขณะที่ "กุ่ย แซ่ลิ้ม" เจ้าของสวนยางพาราอีกรายหนึ่งใน ต.พะตง อ.หาดใหญ่ บอกว่าความเป็นอยู่ของชาวสวนยางขณะนี้ดูดีขึ้น เนื่องจากราคายางที่พุ่งสูง แต่หากลองไตร่ตรองให้ลึกลงไป ก็จะพบว่าข้าวของสินค้าต่างๆ ในปัจจุบันก็แพงขึ้นด้วย ทำให้มีรายจ่ายกันมากขึ้นเช่นกัน
"มันดีขึ้นก็จริง แต่แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะสินค้าต่างๆ ในตอนนี้แพงมาก อย่างเช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย รวมถึงอีกหลายๆ อย่าง ส่งผลให้แต่ละครัวเรือนต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย"
เถ้าแก่สวนยางคนเดิม บอกว่า ที่ผ่านมา ผู้คนมองว่าชาวสวนยางมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากราคายางพาราแพง แต่ความจริง มันไม่มากอย่างที่คิด หากยังคงมีรายจ่ายออกไป ฉะนั้นครอบครัวของตนจึงไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยเงินที่สะสมไว้นำมาต่อเติมบ้านบางส่วน โดยเฉพาะปรับถมพื้นบ้านในสูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก เพราะที่ผ่านมา ที่บ้านน้ำท่วมเกือบทุกปี
นับเป็นวิถีชีวิตชาวสวนยางกลุ่มหนึ่ง ท่ามกลางราคาที่พุ่งขณะนี้ ที่ยังตระหนักถึงการได้มาของเงิน และยังใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ตามกระแสสังคม แม้ว่าปัจจัยรุมเร้าก็ตาม
ธรณิศวร์ พิรุณละออง
"ยอมรับว่าราคายางพาราดี อาจมีส่วนทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเฉพาะบรรดาลูกจ้างของผม 17 ครัวเรือนที่ดูแลเขาอยู่ตอนนี้ พวกเขามีความเป็นอยู่สะดวกสบายมากขึ้น บางรายก็สามารถเก็บเงินซื้อรถกระบะ ซื้อจักรยานยนต์ บางรายก็นำเงินที่เก็บสะสมทั้งในอดีตและปัจจุบัน มาก่อสร้างบ้านเรือน เราเห็นแล้วก็รู้สึกยินดีไปกับพวกเขาด้วยที่เขาเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น" เจริญกล่าว
ขณะที่ "กุ่ย แซ่ลิ้ม" เจ้าของสวนยางพาราอีกรายหนึ่งใน ต.พะตง อ.หาดใหญ่ บอกว่าความเป็นอยู่ของชาวสวนยางขณะนี้ดูดีขึ้น เนื่องจากราคายางที่พุ่งสูง แต่หากลองไตร่ตรองให้ลึกลงไป ก็จะพบว่าข้าวของสินค้าต่างๆ ในปัจจุบันก็แพงขึ้นด้วย ทำให้มีรายจ่ายกันมากขึ้นเช่นกัน
"มันดีขึ้นก็จริง แต่แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะสินค้าต่างๆ ในตอนนี้แพงมาก อย่างเช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย รวมถึงอีกหลายๆ อย่าง ส่งผลให้แต่ละครัวเรือนต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย"
เถ้าแก่สวนยางคนเดิม บอกว่า ที่ผ่านมา ผู้คนมองว่าชาวสวนยางมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากราคายางพาราแพง แต่ความจริง มันไม่มากอย่างที่คิด หากยังคงมีรายจ่ายออกไป ฉะนั้นครอบครัวของตนจึงไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยเงินที่สะสมไว้นำมาต่อเติมบ้านบางส่วน โดยเฉพาะปรับถมพื้นบ้านในสูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก เพราะที่ผ่านมา ที่บ้านน้ำท่วมเกือบทุกปี
นับเป็นวิถีชีวิตชาวสวนยางกลุ่มหนึ่ง ท่ามกลางราคาที่พุ่งขณะนี้ ที่ยังตระหนักถึงการได้มาของเงิน และยังใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ตามกระแสสังคม แม้ว่าปัจจัยรุมเร้าก็ตาม
ธรณิศวร์ พิรุณละออง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น