โอกาสการขยายพื้นที่ ปลูกปาล์มในประเทศไทยดูเหมือนว่ากำลังเข้าสู่ความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันดีเซลเฉียด 30 บาทเช่นนี้ การปลูกปาล์มน้ำมันที่มีอยู่เดิมประมาณ 3 ล้านกว่าไร่ ไม่มีทางที่จะเพียงพอกับการที่จะนำมาใส่กับเครื่องยนต์ ซึ่งในปี 2551 นี้ ปริมาณความต้องการใช้ตามนโยบาย B5 ก็ยิ่งไม่มีวัตถุดิบเพียงพอ
สำหรับเรื่องพื้นที่ปลูกในประเทศไทยนั้นไม่มีปัญหา เพียงแต่ว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนมากน้อยเพียงใด และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเข้าใจของเกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันนี้กระแสของยางพารากำลังแข่งขันกับปาล์มน้ำมันอย่างกระชั้นชิด อีกทั้งการปลูกในพื้นที่ใหม่นอกเขตภาคใต้ก็ยังเป็นที่ลังเลใจ หาคำตอบว่าปลูกได้หรือไม่ ส่วนในพื้นที่ภาคใต้เองนั้นการขยายตัวไม่มีปัญหาในเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็อยู่ที่การตัดสินใจของเกษตรกรเองว่าจะเอายางพาราหรือปาล์มน้ำมัน
การปลูกในพื้นที่ใหม่หรือเก่านี้ ถ้าจะให้มีความเป็นไปได้สูงจะต้องมีการจัดการแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศษเหลือจากสวนและโรงงาน มีความจำเป็นต้องนำมาแปรรูป หรือใช้ประโยชน์ที่มีมูลค่าควบคู่กับการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนที่เรียกว่า ไบโอดีเซล
แนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
จากกระแสการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันที่ดูจะรุนแรง และฮอตมากขึ้นทุกวันนี้ ทำให้นโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมปาล์มน้ำมันดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยคาดการณ์จะมีการขยายพื้นที่ปลูกอีกประมาณ 1 ล้านไร่ในปี 2551 ซึ่งบางส่วนก็อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และบางส่วนก็อยู่ในพื้นที่ภาคอื่น เช่น ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแม้แต่ภาคเหนือ
แนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
จากกระแสการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันที่ดูจะรุนแรง และฮอตมากขึ้นทุกวันนี้ ทำให้นโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมปาล์มน้ำมันดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยคาดการณ์จะมีการขยายพื้นที่ปลูกอีกประมาณ 1 ล้านไร่ในปี 2551 ซึ่งบางส่วนก็อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และบางส่วนก็อยู่ในพื้นที่ภาคอื่น เช่น ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแม้แต่ภาคเหนือ
การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ที่ทำกันมากว่า 40 ปี คำตอบและความเหมาะสมของพื้นที่ชัดเจนเพียงแต่ว่าจะเอาพื้นที่ที่ไหนมาปลูก ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ปลูกใหม่ที่ไม่เคยปลูกพืชพวกยางพารามาก่อน หรือพื้นที่ที่กำลังจะปลูกยางพาราใหม่ หากจะขยายพื้นที่ปลูกในภาคใต้นั้นก็คงต้องมีตัวเปรียบเทียบที่สำคัญอย่าง น้อย 1 อย่างก็คือ ยางพารา ในภาคใต้ของประเทศไทย
โดยเฉพาะในจังหวัดกระบี่มีการคาดการณ์ว่าจะขยายพื้นที่ ปลูกอีก 7 แสนไร่ ซึ่งถ้าเป็นดังนี้กระบี่ก็คงเป็นจังหวัดที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดใน ประเทศไทย การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ที่กำลังจ่อคิวว่าจะลงที่ไหนกันดี ภาครัฐก็ประกาศอย่างกว้างๆว่าจะปลูกในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยยังไม่ได้กำหนดว่าที่ไหน แต่เป็นการตั้งเวลาว่าในปี 2551 นี้จะปลูกกันอย่างจริงจัง ด้วยสาเหตุที่ภาครัฐพูดๆหยุดๆอย่างนี้ก็ทำให้หลายคนเลิกราเกี่ยวกับปาล์ม น้ำมันไป ใน2-3ปีที่ผ่านมาขณะเดียวกันก็มีเกษตรกรที่พร้อมเสี่ยงปลูกกันไปล่วงหน้า บ้างแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง เช่น ในจังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ดินสวนส้มเก่า แถวรังสิต ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้ พูดตรงๆก็คือ เป็นบุคคลที่กล้าเสี่ยงด้วยตนเอง ทั้งๆที่พวกเขาเหล่านั้นยังไม่รู้เลยว่าปลูกแล้วจะออกดอกออกผลอย่างไร ซึ่งตามทฤษฎีแล้วบอกว่าปลูกไม่ได้ ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เกษตรกรเหล่านี้ยอมเสี่ยงถึงขั้นที่ว่า ถ้าหากได้ผลผลิตแล้วจะนำส่งโรงงานแถวภาคตะวันออกด้วยตนเอง ไม่กลัวแม้กระทั่งค่าขนส่งที่อาจมีต้นทุนสูง
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่คนไทยเริ่มมีคนพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ข่าวสารที่ออกมาว่าสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนต่างๆ นั้นทำให้ประชาชนมีความ รู้ความเข้าใจมากขึ้น ทั้งๆที่ 30 กว่าปีที่ผ่านมานี้เรารู้เพียงแต่ว่าปลูกปาล์มน้ำมันแล้วสามารถนำมาทำเป็น น้ำมันพืช และสบู่เท่านั้น แต่ความจริงภายใต้ผลผลิตของน้ำมันปาล์มก็คือในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามี ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มหลายอย่าง ปาล์มน้ำมันจึงเปรียบเสมือนพืชมหัศจรรย์ที่อาจเรียกเป็นศัพท์เท่ห์ๆว่า
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่คนไทยเริ่มมีคนพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ข่าวสารที่ออกมาว่าสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนต่างๆ นั้นทำให้ประชาชนมีความ รู้ความเข้าใจมากขึ้น ทั้งๆที่ 30 กว่าปีที่ผ่านมานี้เรารู้เพียงแต่ว่าปลูกปาล์มน้ำมันแล้วสามารถนำมาทำเป็น น้ำมันพืช และสบู่เท่านั้น แต่ความจริงภายใต้ผลผลิตของน้ำมันปาล์มก็คือในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามี ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มหลายอย่าง ปาล์มน้ำมันจึงเปรียบเสมือนพืชมหัศจรรย์ที่อาจเรียกเป็นศัพท์เท่ห์ๆว่า
Amazing Plant
โดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า น้ำมันปาล์มที่หีบได้ออกมาจากผลปาล์มนี้อาจใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภคและ บริโภคมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ก็คือ การนำมาทำเป็นไบโอดีเซล ซึ่งมีปริมาณความต้องการมากแบบไร้ขีดจำกัด เพราะทุกนาทีมีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อทำไบโอดีเซลอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้
ในรอบปีที่ผ่านมานี้ ปริมาณการขายน้ำมัน B5 อยู่ที่ประมาณ 200,000 ลิตร/วัน แต่สำหรับในปี 2550 นี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีปริมาณการใช้ B5 เพิ่มขึ้นตามลำดับล่าสุดมีการใช้อยู่ที่ 2,000,000 ลิตรต่อวัน การใช้ในปริมาณมากขึ้นนี้จะมีผลทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้น ระยะยาว ดังนั้น เรื่องของการกำหนดเวลาการปลูกปาล์มน้ำมัน จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดต้องมาคำนวณ เพราะการที่จะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่เรียกว่า ค่าเฉลี่ย 3-5 ตัน/ไร่ เป็นผลผลิตในช่วงปีที่ 7-8 ไปแล้ว
ในรอบปีที่ผ่านมานี้ ปริมาณการขายน้ำมัน B5 อยู่ที่ประมาณ 200,000 ลิตร/วัน แต่สำหรับในปี 2550 นี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีปริมาณการใช้ B5 เพิ่มขึ้นตามลำดับล่าสุดมีการใช้อยู่ที่ 2,000,000 ลิตรต่อวัน การใช้ในปริมาณมากขึ้นนี้จะมีผลทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้น ระยะยาว ดังนั้น เรื่องของการกำหนดเวลาการปลูกปาล์มน้ำมัน จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดต้องมาคำนวณ เพราะการที่จะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่เรียกว่า ค่าเฉลี่ย 3-5 ตัน/ไร่ เป็นผลผลิตในช่วงปีที่ 7-8 ไปแล้ว
แต่อย่าลืมว่าหากจะนำต้นปาล์มลงปลูกในแปลง และให้ผลผลิตตามสถิติจะต้องตั้งเวลาตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ด การเพาะเลี้ยงในถุงและการปลูกในแปลง รวมๆแล้วนานกว่า 9 ปีแน่นอน ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเป็นเรื่องเป็นราวจึงต้องใช้เวลาหลายปี
ดังนั้นทั้งภาครัฐและเกษตรกรควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและเวลา มิใช่คิดว่าจะปลูกปีหน้าก็ขุดหลุมปลูกและเก็บผลผลิตได้เลย เรื่องสำคัญก็คือ การที่จะประกาศว่าใช้น้ำมันปาล์มเท่าไรนั้นจะต้องคิดถึงช่วงเวลาที่ต้องรอ คอยด้วย
การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ก็มีการพูดกันอยู่ประปราย แต่เอาเข้าจริงๆก็ยังกำหนดไม่ได้ทั้งที่เกษตรกรกลัวและสิ่งที่นักวิชากร หรือภาครัฐไม่กล้าตอบก็คือ ถ้าปลูกในพื้นที่นอกเขตภาคใต้แล้วจะได้ผลหรือไม่ เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ไม่เหมือนกับพืชที่เก็บผลผลิตอย่างอื่น ต้นปาล์มจะให้เงินให้ทองแก่เจ้าของสวนก็คือเมื่อมีการออกดอกออกผล เรื่องของการรวมตัวกันปลูกเป็นกลุ่มก็มีความสำคัญไม่น้อย ถึงแม้ว่าจะมีการปลูกปาล์มน้ำมันได้ในพื้นที่ปลูกใหม่ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ
การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ก็มีการพูดกันอยู่ประปราย แต่เอาเข้าจริงๆก็ยังกำหนดไม่ได้ทั้งที่เกษตรกรกลัวและสิ่งที่นักวิชากร หรือภาครัฐไม่กล้าตอบก็คือ ถ้าปลูกในพื้นที่นอกเขตภาคใต้แล้วจะได้ผลหรือไม่ เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ไม่เหมือนกับพืชที่เก็บผลผลิตอย่างอื่น ต้นปาล์มจะให้เงินให้ทองแก่เจ้าของสวนก็คือเมื่อมีการออกดอกออกผล เรื่องของการรวมตัวกันปลูกเป็นกลุ่มก็มีความสำคัญไม่น้อย ถึงแม้ว่าจะมีการปลูกปาล์มน้ำมันได้ในพื้นที่ปลูกใหม่ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ
โรงหีบ
ดังนั้นการจะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องรวมเป็นกลุ่มแล้วทำการหีบรวมกันในชุมชน ความฝันที่ว่าจะมีโรงงานหีบปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ที่มีกำลังการผลิต 40-50 ตัน/ชั่วโมง คงเป็นไปได้ยาก เพราะพื้นที่ที่จะปลูกเพื่อส่งโรงงานขนาดใหญ่จะต้องมีการปลูก 60,000-70,000 ไร่ขึ้นไป
การขยายตัวการปลูกปาล์มน้ำมันทั้งในพื้นที่ดั้งเดิมภาคใต้ และการปลูกใหม่นี้จะเป็นไปได้ตามความฝันหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
การขยายตัวการปลูกปาล์มน้ำมันทั้งในพื้นที่ดั้งเดิมภาคใต้ และการปลูกใหม่นี้จะเป็นไปได้ตามความฝันหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
ภาครัฐเป็นตัวการ สำคัญ
รองลงมาก็คือ สถาบันการเงิน และ
สุดท้ายก็คือ ตัวเกษตรกรเอง
ส่วนองค์ประกอบอื่นๆก็คือ สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ และอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยหลักทั้งสิ้น การขยายพื้นที่ปลูกถ้าจะพูดให้เจาะลึกลงไปก็คือ จะต้องมีการพูดถึงราคาของฟาร์มของครอบครัวหรือเกษตรกรแต่ละราย ซึ่งความเป็นไปได้ในพื้นที่ปลูกใหม่นี้ อย่างน้อยๆคงจะต้องเป็นระดับรายละ 20-30 ไร่ขึ้นไป แต่ก็คงมีบางรายที่มีพื้นที่ปลูกเป็นร้อยไร่ซึ่งก็คงมีไม่มากนัก นโยบายการขยายพื้นที่ปลูกนี้คงจะเร่งทำเร่งปฏิบัติ เพราะมีผู้รอคำตอบอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรที่สิ้นหวังจากการเกษตรอื่นๆมาแล้ว การตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะปลูกแล้วปาล์มน้ำมันจะอยู่กับเกษตรกรอย่างน้อย 25 ปีขึ้นไป การที่จะปลูกไปแล้วนึกจะเลิกปลูกเสียก็คงไม่น่าทำกัน เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ เสียเวลาและเสียโอกาส ภาครัฐควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้ในเชิงวิเคราะห์แก่เกษตรกรที่สนใจปลูก ในพื้นที่ปลูกใหม่ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ การจัดระบบ การจัดการในลักษณะของกลุ่มผู้ปลูก และผลิตไบโอดีเซลชุมชน โดยจะต้องมีการจัดการแบบครบวงจรถึงจะไปสู่จุดเป้าหมายได้อย่างเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรคและปัญหาตามมาเหมือนพืชชนิดอื่นที่ล้มเหลวมาตลอด
ปลูกปาล์มน้ำมันให้คุ้มค่าต้องมีการจัดการแบบครบวงจร
จะว่ากันไปแล้วปาล์มน้ำมันถึงแม้จะเป็นพืชยืนต้นที่มีระยะปลูกห่าง จะให้ผลผลิตต้องใช้เวลา 2-3 ปีขึ้นไป แต่ก็มีข้อดีอีกหลายอย่างที่ต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้การปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละไร่ได้ผลคุ้มค่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีระยะปลูกกว้าง ซึ่งตามหลักวิชาการที่ปลูกกันมาช้านาน คือ ใช้ระยะปลูกแบบ
ปลูกปาล์มน้ำมันให้คุ้มค่าต้องมีการจัดการแบบครบวงจร
จะว่ากันไปแล้วปาล์มน้ำมันถึงแม้จะเป็นพืชยืนต้นที่มีระยะปลูกห่าง จะให้ผลผลิตต้องใช้เวลา 2-3 ปีขึ้นไป แต่ก็มีข้อดีอีกหลายอย่างที่ต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้การปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละไร่ได้ผลคุ้มค่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีระยะปลูกกว้าง ซึ่งตามหลักวิชาการที่ปลูกกันมาช้านาน คือ ใช้ระยะปลูกแบบ
9 x 9 x 9 เมตร แบบสามเหลี่ยม
ซึ่งจะมีพื้นที่เหลืออยู่ใน 3 ปีแรกอย่างน้อย 70% หากจะทำให้เกิดประโยชน์โดยเกษตรกรอาจจะปลูกโดยคิดเสียว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืช แซมในระยะแรกไปก่อน การปลูกพืชแซมนี้เมื่อมีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ก็จะเท่ากับเป็นการเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีการเจริญเติบโตดีควบคู่กันไป ซึ่งจัดว่าเป็นผลพลอยได้ นอกจากเกษตรกรจะมีรายได้จากพืชแซมโดยตรง
การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่นอกเขตภาคใต้ อาจใช้วิธีการปลูกที่มีระยะห่างมากกว่าระบบเดิม โดยจะปลูกแบบสี่เหลี่ยม ระยะปลูก 9 x 12 เมตร ก็อาจจะเป็นไปได้โดยที่เกษตรกรจะสามารถหารายได้จากพืชแซมระหว่างปาล์มน้ำมัน ได้มาก และยาวนานขึ้นอีก ทั้งนี้อาจเป็นลดความเสี่ยงในเรื่องของการปลูกแบบระบบพืชเดี่ยว
วิธีการดังกล่าวที่พูดมานี้ ก็ได้มีการทดสอบและวิจัยกันอย่างจริงจังใน“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน และพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร ในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ” ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินงานโดย
การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่นอกเขตภาคใต้ อาจใช้วิธีการปลูกที่มีระยะห่างมากกว่าระบบเดิม โดยจะปลูกแบบสี่เหลี่ยม ระยะปลูก 9 x 12 เมตร ก็อาจจะเป็นไปได้โดยที่เกษตรกรจะสามารถหารายได้จากพืชแซมระหว่างปาล์มน้ำมัน ได้มาก และยาวนานขึ้นอีก ทั้งนี้อาจเป็นลดความเสี่ยงในเรื่องของการปลูกแบบระบบพืชเดี่ยว
วิธีการดังกล่าวที่พูดมานี้ ก็ได้มีการทดสอบและวิจัยกันอย่างจริงจังใน“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน และพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร ในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ” ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินงานโดย
ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ซึ่งได้ทดลองวิจัยเกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเจ้าของความคิดเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคเหนือ คือ
ดร.พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน
คนปัจจุบัน เนื่องจากต้องการให้นักวิชาการได้ศึกษาค้นหาคำตอบของการปลูกปาล์มน้ำมันใน พื้นที่ภาคเหนือกันอย่างจริงจัง ซึ่งผลงานวิจัยได้ทยอยออกสู่สายตาประชาชนแล้วเป็นระยะๆ
เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุให้ผลผลิต รายได้จากสวนปาล์มเมื่อคำนวณจากสวนซึ่งเป็นน้ำมันที่อยู่ในผลและเนื้อใน การทำน้ำมันปาล์มทั้ง 2 ส่วนมาทำเป็นพลังงานทดแทนจะมีโอกาสมากที่สุด เพราะปัญหาเรื่องตลาดจะหมดไป เพียงแต่ว่าจะทำให้มีคุณภาพเพื่อผลิต การจัดการเศษเหลือของโรงงาน เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะเรื่องทะลายเปล่าหรือการส่งเข้าโรงหีบจะเป็นมูลค่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทะลายเปล่า จะมีอยู่ประมาณ 25% จากน้ำมันรวมทะลาย ซึ่งเศษเหลือ 25% นี้โอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างมาก คือ
เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุให้ผลผลิต รายได้จากสวนปาล์มเมื่อคำนวณจากสวนซึ่งเป็นน้ำมันที่อยู่ในผลและเนื้อใน การทำน้ำมันปาล์มทั้ง 2 ส่วนมาทำเป็นพลังงานทดแทนจะมีโอกาสมากที่สุด เพราะปัญหาเรื่องตลาดจะหมดไป เพียงแต่ว่าจะทำให้มีคุณภาพเพื่อผลิต การจัดการเศษเหลือของโรงงาน เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะเรื่องทะลายเปล่าหรือการส่งเข้าโรงหีบจะเป็นมูลค่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทะลายเปล่า จะมีอยู่ประมาณ 25% จากน้ำมันรวมทะลาย ซึ่งเศษเหลือ 25% นี้โอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างมาก คือ
การทำปุ๋ย และเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ
การทำเชื้อเพลิงชีวภาพอาจทำในรูปของเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นแบบ Gasifier ระบบเก่า ก็ล้วนแต่มีประโยชน์อย่างมากเหมือนกัน ในส่วนของกากใยหลังการหีบที่มีอยู่ประมาณ 7% ก็สามารถนำไปใช้รูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ย สำหรับเศษเหลือในส่วนของของกะลามีอยู่ประมาณ 15% ก็มีประโยชน์อย่างมหาศาล นอกจากสามารถจะใช้เป็นเชื้อเพลิงธรรมดายังสามารถนำมาใช้เป็นActivated charcoal ซึ่งถือว่าเป็นเศษเหลือที่มีราคาสูง
น้ำเสียจากโรงงานในการหีบแบบดั้งเดิมที่ปรากฏว่า ใน 1 ตันน้ำมันที่หีบได้ จะมีน้ำเสียที่เกิดขึ้นถึง 3-4 คิว น้ำเสียเหล่านี้อาจไม่เป็นของเสียอีกต่อไป โดยการจัดการให้เป็น Biogas ที่มีคุณภาพกว่า
เศษเหลือในสวนปาล์มอันได้แก่
น้ำเสียจากโรงงานในการหีบแบบดั้งเดิมที่ปรากฏว่า ใน 1 ตันน้ำมันที่หีบได้ จะมีน้ำเสียที่เกิดขึ้นถึง 3-4 คิว น้ำเสียเหล่านี้อาจไม่เป็นของเสียอีกต่อไป โดยการจัดการให้เป็น Biogas ที่มีคุณภาพกว่า
เศษเหลือในสวนปาล์มอันได้แก่
ทางใบที่ต้นปาล์มผลิตขึ้นประมาณ 2 ทางใบต่อเดือน
แต่เดิมมีการรวบรวมไว้ในสวนอย่างไร้คุณค่า แต่ในการทำสวนปาล์มมิติใหม่ ทางใบเหล่านี้สามารถนำมาย่อยแล้วใช้เป็น
อาหารสัตว์ หรือแม้แต่นำมาใช้เป็นปุ๋ยในสวนปาล์ม
และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ใช้เป็นพลังงานชีวมวลเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป การจัดการแบบครบวงจรดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการที่ไม่มีของเหลือ ของเสียหรือขยะจากสวนปาล์ม และโรงงานปาล์มอีกต่อไป ส่วนต่างๆเหล่านี้นับว่ามีประโยชน์อย่างมากที่เราไม่ควรมองข้าม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็ไม่ควรเรียกชื่อส่วนต่างๆเหล่านี้ว่า ของเสียอีกต่อไป ถ้าจะนำมาคำนวณแล้ว จะพบว่า มูลค่าและการใช้ประโยชน์จากส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันจะมีไม่น้อยกว่าน้ำมันปาล์มอย่างแน่นอน
เรื่องของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเก่าภาคใต้และพื้นที่ปลูกใหม่นั้นควรมี การมีการจัดการทั้งระบบแบบใหม่ที่คิดแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ซึ่งจะได้ทั้ง
พลังงานทดแทน ที่เรียกว่า Biodiesel และ
พลังงานทดแทนจากชีวมวลของสวนปาล์ม และ
โรงงานปาล์มเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในชุมชน
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน
การเลี้ยงสัตว์
การปลูกพืชแซมเสริมรายได้
ทำเพียงแค่นี้เกษตรกรไทยก็จะอยู่รอด ประเทศไทยก้าวไกลในเรื่องของพลังงาน และเศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะการต่อสู้วิกฤติภาวะโลกร้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น