ปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย (2) : คอลัมน์ เกษตรยุคใหม่ : โดย ... รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ
คราวที่แล้วได้เล่าเกริ่นนำไปแล้วว่ามาเลเซียมีความก้าวหน้าด้านปาล์มน้ำมันมากกว่าไทยค่อนข้างมาก และได้ใส่ใจเรื่องของการพัฒนาพันธุ์และมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐ ทำให้ทุกวันนี้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียเป็นอย่างที่เห็น ประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลกก็คือ
อินโดนีเซีย ซึ่งมีประมาณ 50 ล้านไร่ รองลงมาคือ
มาเลเซียคือ 35 ล้านไร่ ตามด้วย
ไนจีเรีย สำหรับ
ไทยเป็นอันดับสี่ คือประมาณ 5.5 ล้านไร่ เรียกได้ว่าห่างกันค่อนข้างมาก
จากการที่ได้ไปดูงาน
จากการที่ได้ไปดูงาน
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมัน
ที่เมืองอิโปห์ของมเลเซีย โดยมี
ดร. อึ๊ง ซิวกี่
ผู้เชี่ยวชาญปาล์มน้ำมันซึ่งได้ค้นคว้าพัฒนาปาล์มน้ำมันมาตลอดชีวิต เป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากและมีส่วนในการทำให้ปาล์มน้ำมันของมาเลเซียมีความก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้
ระหว่างทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองอิโปห์ ประมาณเกือบ 200 กิโลเมตร ทั้งสองข้างทางเป็นสวนปาล์มเกือบทั้งหมด แทบไม่พบสวนยางอย่างในอดีต เพราะรัฐบาลมาเลเซียมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่ายางพาราไม่น่าจะเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับมาเลเซีย เพราะขาดแรงงานในการกรีดยางและเห็นว่าน้ำมันปาล์มในอนาคตน่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในหลายๆ ด้าน จึงกำหนดนโยบายเปลี่ยนยางพารามาเป็นปาล์มน้ำมัน และครองความเป็นเลิศด้านปาล์มน้ำมันอยู่ ในขณะที่ปล่อยให้ไทยเราเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเราก็ส่งออกเพียงในรูปของผลิตภัณฑ์ยางเบื้องต้นซึ่งมีราคาต่ำ นั่นคือยางข้น ยางแผ่น เหมือนในอดีต
ปาล์มน้ำมันความจริงแล้วก็ไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาเลเซียหรือว่าอินโดนีเซีย แต่เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วคือปี พ.ศ.2391 ชาวดัตช์เป็นคนนำปาล์มน้ำมันเข้ามาปลูกที่อินโดนีเซียในลักษณะของไม้ประดับ ซึ่งต่อมาก็มีการขยายเข้ามาในมาเลเซียอีก 62 ปีต่อมา จึงเริ่มเห็นประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน นอกเหนือจากการเป็นไม้ประดับ คือการนำมาสกัดน้ำมันเพื่อเป็นอาหารใช้แทนน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงได้
ในช่วงแรกที่นำเข้ามาในมาเลเซีย เป็นการดำเนินงานของเอกชนชาวอังกฤษ แต่ต่อมาอีกประมาณ 50-60 ปี รัฐบาลมาเลเซียเห็นความสำคัญและเห็นอนาคตที่สดใสของปาล์มน้ำมัน จึงเข้ามาให้ความสนใจและผลักดันเป็นพิชเศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาทดแทนยางพารา อย่างน้อยก็เพื่อเป็นหลักประกันความล้มเหลวโดยไม่ยอมเสี่ยงกับการสร้างรายได้จากพืชชนิดเดียวเช่นยางพาราที่เดิมสร้างรายได้หลักให้มาเลเซียอีกต่อไป ปัจจุบันมาเลเซียใช้น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคในประเทศประมาณ 60% ที่เหลือมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งส่งออกบางส่วน แต่มีการนำมาใช้ทำเชื้อเพลิงน้อยมาก
มาเลเซียปลูกปาล์มน้ำมันมาก เป็นพืชหลักของประเทศ แต่ไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม รัฐบาลให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีองค์กรต่างๆ ที่ดูแล และมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและเพิ่มมูลค่าของน้ำมันปาล์ม ที่สร้างผลงานหลายอย่างออกมา ทำให้มาเลเซียสามารถสร้างความเป็นเลิศด้านนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยภาพรวมแล้วไม่ว่าเราจะครองความเป็นหนึ่งด้านใดก็ตาม เช่น ข้าว กุ้ง ยางพารา สิ่งเหล่านี้ทำได้อย่างมากคือการขายผลผลิตในรูปวัตถุดิบในปริมาณมากเท่านั้น เราแทบไม่ได้ใส่ความรู้จากการวิจัยเพื่อความยั่งยืนเข้าไปเลย เหตุผลก็คงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าหาคนที่มีวิสัยทัศน์เรื่องนี้ได้น้อยมากในเมืองไทยครับ!
ระหว่างทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังเมืองอิโปห์ ประมาณเกือบ 200 กิโลเมตร ทั้งสองข้างทางเป็นสวนปาล์มเกือบทั้งหมด แทบไม่พบสวนยางอย่างในอดีต เพราะรัฐบาลมาเลเซียมีวิสัยทัศน์ชัดเจนว่ายางพาราไม่น่าจะเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับมาเลเซีย เพราะขาดแรงงานในการกรีดยางและเห็นว่าน้ำมันปาล์มในอนาคตน่าจะมีความสำคัญมากขึ้นในหลายๆ ด้าน จึงกำหนดนโยบายเปลี่ยนยางพารามาเป็นปาล์มน้ำมัน และครองความเป็นเลิศด้านปาล์มน้ำมันอยู่ ในขณะที่ปล่อยให้ไทยเราเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเราก็ส่งออกเพียงในรูปของผลิตภัณฑ์ยางเบื้องต้นซึ่งมีราคาต่ำ นั่นคือยางข้น ยางแผ่น เหมือนในอดีต
ปาล์มน้ำมันความจริงแล้วก็ไม่ใช่พืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมาเลเซียหรือว่าอินโดนีเซีย แต่เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วคือปี พ.ศ.2391 ชาวดัตช์เป็นคนนำปาล์มน้ำมันเข้ามาปลูกที่อินโดนีเซียในลักษณะของไม้ประดับ ซึ่งต่อมาก็มีการขยายเข้ามาในมาเลเซียอีก 62 ปีต่อมา จึงเริ่มเห็นประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน นอกเหนือจากการเป็นไม้ประดับ คือการนำมาสกัดน้ำมันเพื่อเป็นอาหารใช้แทนน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงได้
ในช่วงแรกที่นำเข้ามาในมาเลเซีย เป็นการดำเนินงานของเอกชนชาวอังกฤษ แต่ต่อมาอีกประมาณ 50-60 ปี รัฐบาลมาเลเซียเห็นความสำคัญและเห็นอนาคตที่สดใสของปาล์มน้ำมัน จึงเข้ามาให้ความสนใจและผลักดันเป็นพิชเศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาทดแทนยางพารา อย่างน้อยก็เพื่อเป็นหลักประกันความล้มเหลวโดยไม่ยอมเสี่ยงกับการสร้างรายได้จากพืชชนิดเดียวเช่นยางพาราที่เดิมสร้างรายได้หลักให้มาเลเซียอีกต่อไป ปัจจุบันมาเลเซียใช้น้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคในประเทศประมาณ 60% ที่เหลือมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งส่งออกบางส่วน แต่มีการนำมาใช้ทำเชื้อเพลิงน้อยมาก
มาเลเซียปลูกปาล์มน้ำมันมาก เป็นพืชหลักของประเทศ แต่ไม่ได้ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม รัฐบาลให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีองค์กรต่างๆ ที่ดูแล และมีสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและเพิ่มมูลค่าของน้ำมันปาล์ม ที่สร้างผลงานหลายอย่างออกมา ทำให้มาเลเซียสามารถสร้างความเป็นเลิศด้านนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยภาพรวมแล้วไม่ว่าเราจะครองความเป็นหนึ่งด้านใดก็ตาม เช่น ข้าว กุ้ง ยางพารา สิ่งเหล่านี้ทำได้อย่างมากคือการขายผลผลิตในรูปวัตถุดิบในปริมาณมากเท่านั้น เราแทบไม่ได้ใส่ความรู้จากการวิจัยเพื่อความยั่งยืนเข้าไปเลย เหตุผลก็คงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าหาคนที่มีวิสัยทัศน์เรื่องนี้ได้น้อยมากในเมืองไทยครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น