การศึกษาผลการให้น้ำระบบน้ำหยด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของคะน้ายอด

25/2/54
การศึกษาระบบน้ำหยด เปรียบเทียบอัตราการไหลของหัวหยด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ของคะน้ายอด โดยวิธีการให้น้ำ ในอัตราต่างกัน 4 วิธีกาาร คือ

วิธีการที่ 1 (tr1) รดน้ำด้วยบัว 2 บัวต่อแปลงต่อวัน


วิธีการที่ 2 (tr2) อัตราการไหลของหัวหยด 2 ลิตรต่อวันต่อต้น


วิธีการที่ 3 (tr3) อัตราการไหลของหัวหยด 3 ลิตรต่อวันต่อต้น


วิธีการที่ 4 (tr4) อัตราการไหลของหัวหยด 4 ลิตรต่อวันต่อต้น

โดยทำการทดลองแบบ RCB (Randomized complete Block Design) เริ่มจากการเพาะเมล็ด ในแปลงทดลอง พร้อมๆกับการติดตั้ง ระบบน้ำหยด เพื่อให้น้ำ โดยระบบน้ำหยดในอัตราต่างๆกัน แล้วทำการวัดผลทุก 7 วัน จนครบ 7 ครั้ง รวมเวลาในการทดลอง 49 วัน

ที่แปลงทดลอง ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการทดลองพบว่า อัตรากาารไหลของหัวหยด ในระบบน้ำหยด ที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตของคะน้า ที่ดีที่สุด คือ หัวหยดที่มีอัตราการไหล ของน้ำ 4 ลิตรต่อวันต่อต้น โดยให้ผลตอบสนอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย ในด้านความสูงของต้นเท่ากับ 14.20 เซนติเมตร จำนวนใบเท่ากับ 7.23 ใบ น้ำหนักสดเท่ากับ 154.95 กรัม และน้ำหนักแห้งเท่ากับ 13.65 กรัม

ส่วนทางด้านขนาดใบที่ 1 และขนาดใบที่ 3 ได้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 55.21 และ 119.61 ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 60.51 (tr3) และ 128.87 (tr1) ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ

สำหรับทางด้านขนาดใบที่ 2 ได้ค่าเฉลี่ยจัดอยู่ใน อันดับที่ 3 คือเท่ากับ 97.56 ตารางเซนติเมตร

เมื่อเปรียบเทียบ กับค่าเฉลี่ยสูงสุด 105.02 ตารางเซนติเมตร (tr2) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด 94.38 ตารางเซนติเมตร (tr3) และสำหรับปริมาณไนโตรเจน วิธีการนี้ให้ค่าเฉลี่ย อยู่ในอันดับที่ 2 รองจากวิธีการที่ 3 คือ ให้ค่าเฉลี่ย 0.31 เปอร์เซนต์

ขณะที่วิธีการที่ 3 ให้ค่าเฉลี่ย 0.32 เปอร์เซนต์ แต่ไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ไม่ว่าจะเป็นขนาดใบ ที่ 1, 2 และ 3 หรือปริมาณไนโตรเจน ในคะน้า

ดังนั้นอัตราการไหลของหัวหยด ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของคะน้า คือ 4 ลิตร ต่อวันต่อต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น