1 การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง
2 การจัดการดินและปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน
3 การให้น้ำปาล์มน้ำมัน
4 การรวมกลุ่มและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
เนื้อหา
1 การปลูกสร้างปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง
1.1 การเลือกสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำสวนปาล์มน้ำมัน
สภาพดินที่เหมาะสมคือ ดินร่วนเหนียว มีความลึกของชั้นหน้าดินมากกว่า 75 เซนติเมตร อุ้มน้ำได้ดี ระดับน้ำใต้ดินลึก 75-100 เซนติเมตร มีธาตุอาหารสูง มีค่าความเป็นกรดอ่อน pH 4.0-6 สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร มีความลาดชันไม่เกิน 12% พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง
1.2 การเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี
- เป็นปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า (DxP)
- ซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือมีหนังสือรับรองจากทางราชการ
- เลือกต้นที่สมบูรณ์ ลักษณะดี ไม่มีอาการผิดปกติ
- มีข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตที่ดี และสม่ำเสมอ
- มีประวัติพันธุ์ (Breeding Program) ชัดเจน
- มีแหล่งที่ผลิต (ที่มา) ของเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้
- ต้นกล้าปาล์มน้ำมันควรมีอายุหรือขนาดเหมาะสมตามความต้องการของเกษตรกร เช่น ถ้าปลูก
ทันทีควรมีอายุ 8-12 เดือน ถ้าซื้อต้นกล้าเล็กเพื่อนำไปปลูกดูแลก่อน ควรซื้อถุงขนาดเล็กที่มีอายุ 2-4 เดือน
1.3. การเตรียมพื้นที่และการปลูกปาล์มน้ำมัน
หลังการเตรียมพื้นที่ ตัดถนนและทางระบายน้ำแล้ว จึงวางแนวทางการปลูก โดยพิจารณาจาก
ความสอดคล้องกับการทำงาน การระบายน้ำ ความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดมากที่สุด เพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม
ด้านเท่าและการจัดระยะการปลูก 9x9 เมตรเป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากทำให้ปาล์มทุกต้นได้รับแสงมากสุด
แสดงการวางแนวการปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 9x9x9 เมตร
1.4 ดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน
การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน แต่มีหลักสำคัญคือ
1. ใส่ช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
2. ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด
ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนักใน
ปีแรกหลังจาก
ปลูกควรใสปุ๋ย 4-5 ครั้ง
ปลูกควรใสปุ๋ย 4-5 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 2 เ ป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี
ช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25 % สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝนและปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40 % ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝนตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
การให้น้ำ
ถ้าปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝน ในปริมาณ 150-200 ลิตร /ต้น/ปี ถ้ามีแหล่งน้ำจำกัดควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด ( Drip irriqation ) ส่วนพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากควรติดตั้งระบบน้ำแบบ Minisprinkler
การปลูกพืชคลุม
เพื่อป้องกันและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชรวมถึงการพังทะลายของหน้าดิน ควรปลูกพืชคลุมดินหรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุคลุมดิน โดยนำทะลายเปล่ากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วนำไปวางกระจายรอบโคนต้น
2 การจัดการดินและปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน
2.1 วิธีการเก็บดินที่ถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์
ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บตัวอย่างดินคือควรเก็บดินยังมีความชื้นอยู่พอสมควร ดินไม่แห้งหรือแฉะเกินไป ถ้าที่ดินเป็นแปลงขนาดใหญ่ ควรจะแบ่งดินออกเป็นแปลงย่อย แต่ละแปลงย่อยไม่ควรมีขนาดมากกว่า 30 ไร่ แต่ละแปลงย่อยจะเก็บดินได้ 1 ตัวอย่าง
จุดที่จะเก็บดินเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยในพื้นที่แปลงย่อยจะเก็บตัวอย่างดินหลายจุด ดินที่เก็บได้จาก แต่ละจุดจะนำรวมกันเป็น 1 ตัวอย่าง ระดับการเก็บตัวอย่างดินออกเป็น 2 จุด คือระดับชั้นบนเก็บลึก 0-15 เซนติเมตร ระดับดินชั้นล่าง เก็บลึก 15-30 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นตัวอย่างของที่ดินในแปลงย่อยนั้น ถ้าแปลงย่อยมีขนาด 10 –20 ไร่ ก็ควรจะเก็บดิน 10 –20 จุด ถ้าเป็นที่สูงๆต่ำ ควรจะเก็บให้มากจุดขึ้น
การเตรียมตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ มีวิธีการดังนี้
ย่อยหรือทุบดิน แต่ละตัวอย่างให้เป็นก้อนเล็กคลุกเคล้าดิน แต่ละตัวอย่างให้เข้ากันดี ผึ่งลมไว้ประมาณ 2 – 3 วัน โดยมีข้อควรระวังคือ ไม่ผึ่งแดด เครื่องมือเครื่องใช้ต้องสะอาด และระวังอย่าให้มีสิ่งอื่นลงไปเจือปน แบ่งดินแต่ละตัวอย่างออกเป็นส่วนๆแต่ละส่วนหนักประมาณ 1 กิโลกรัม เอาดินเพียงหนึ่งส่วนใส่ถุงพลาสติก เขียนรายละเอียดประกอบตัวอย่างใส่ลงไปในถุงแล้วรัดปากถุงส่งห้องปฏิบัติการ
2.2 วิธีการเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์
ต้องเก็บตัวอย่างทางใบที่ 17 โดยนับจากใบย่อยบริเวณโคนทางใบคลี่เต็มที่และตั้งลากแล้ว ทางใบที่ 17 จะอยู่ซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับการเวียนของทางใบ โดยใช้จุดกึ่งกลางทางใบที่เริ่มจากแบนเป็นสันเหลี่ยม เก็บใบย่อยทั้ง 2 ด้านข้างละ 6-10 ใบ ตัดส่วนโคนและปลายใบ เก็บเฉพาะส่วนกลางใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ลอกเส้นกลางใบทิ้งเหลือเฉพาะแผ่นใบ ทำความสะอาดแผ่นใบ อบแห้งและส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
2.3 เทคนิคการแปรความหมาย
เมื่อส่งตัวอย่างดิน-ใบปาล์มน้ำมันไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ระยะหนึ่ง เกษตรกรจะได้รับผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ จึงต้องมีการแปลค่าวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าเป็นตัวเลข เราจะต้องทำการแปลค่าหรือให้ความหมายค่าแต่ละค่าว่ามีความหมายอย่างไร การแปลค่าจะทำให้ทราบถึงสภาพของดิน-ใบปาล์มน้ำมันว่ามีสภาพและคุณสมบัติเช่นใด
2.4 การจัดการปุ๋ย สำหรับปาล์มน้ำมัน เมื่อห้องปฏิบัติการได้ผลการวิเคราะห์แล้วก็จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยตามอาการขาดธาตุอาหาร
3 การให้น้ำปาล์มน้ำมัน
3.1 ความจำเป็นและหลักการให้น้ำ
3.2 การคำนวณและการติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง
3.3 วิธีการให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม
- พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
- พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบระบบโปรยน้ำ (Mini Sprinker)
4 การรวมกลุ่มและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
4.1 ความจำเป็นและหลักการรวมกลุ่มของเกษตรกร
4.2 การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องและเหมาะสม
การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย
การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในการเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์มต่อไร่ เจ้าของสวนปาล์มต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพอส่งเข้าโรงงานเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงสุดต่อไร่ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้
1. เก็บเกี่ยวทะลายผลปาล์มสดในระยะที่สุกพอดี คือ ระยะที่ผลปาล์มมีสีผิวเปลือกนอกเป็นสีส้มสดและเริ่มมีผลร่วงหล่นทะลายปาล์มร่วมที่โคนต้นไม่น้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย
2. รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3. รอบการเก็บเกี่ยวในช่วงมีผลผลิตน้อย ควรเก็บเกี่ยว 14-21 วันต่อรอบ
4. รวบรวมผลปาล์มน้ำมันที่เป็นทะลายและลูกร่วมให้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น ควรเก็บผลปาล์มร่วงใส่ภาชนะ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือกระสอบ
5. การเก็บรวบรวมผลปาล์ม ควรลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย เพื่อลดการชอกช้ำและบาดแผลของผลปาล์ม
6. ทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน หรือเศษหิน ดิน ทราย และไม้กาบหุ้มทะลายออกก่อน
7. ต้องรีบส่งผลปาล์ม ไปยังโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
การให้น้ำ
ถ้าปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝน ในปริมาณ 150-200 ลิตร /ต้น/ปี ถ้ามีแหล่งน้ำจำกัดควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด ( Drip irriqation ) ส่วนพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากควรติดตั้งระบบน้ำแบบ Minisprinkler
การปลูกพืชคลุม
เพื่อป้องกันและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชรวมถึงการพังทะลายของหน้าดิน ควรปลูกพืชคลุมดินหรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุคลุมดิน โดยนำทะลายเปล่ากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วนำไปวางกระจายรอบโคนต้น
2 การจัดการดินและปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน
2.1 วิธีการเก็บดินที่ถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์
ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บตัวอย่างดินคือควรเก็บดินยังมีความชื้นอยู่พอสมควร ดินไม่แห้งหรือแฉะเกินไป ถ้าที่ดินเป็นแปลงขนาดใหญ่ ควรจะแบ่งดินออกเป็นแปลงย่อย แต่ละแปลงย่อยไม่ควรมีขนาดมากกว่า 30 ไร่ แต่ละแปลงย่อยจะเก็บดินได้ 1 ตัวอย่าง
จุดที่จะเก็บดินเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยในพื้นที่แปลงย่อยจะเก็บตัวอย่างดินหลายจุด ดินที่เก็บได้จาก แต่ละจุดจะนำรวมกันเป็น 1 ตัวอย่าง ระดับการเก็บตัวอย่างดินออกเป็น 2 จุด คือระดับชั้นบนเก็บลึก 0-15 เซนติเมตร ระดับดินชั้นล่าง เก็บลึก 15-30 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นตัวอย่างของที่ดินในแปลงย่อยนั้น ถ้าแปลงย่อยมีขนาด 10 –20 ไร่ ก็ควรจะเก็บดิน 10 –20 จุด ถ้าเป็นที่สูงๆต่ำ ควรจะเก็บให้มากจุดขึ้น
การเตรียมตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ มีวิธีการดังนี้
ย่อยหรือทุบดิน แต่ละตัวอย่างให้เป็นก้อนเล็กคลุกเคล้าดิน แต่ละตัวอย่างให้เข้ากันดี ผึ่งลมไว้ประมาณ 2 – 3 วัน โดยมีข้อควรระวังคือ ไม่ผึ่งแดด เครื่องมือเครื่องใช้ต้องสะอาด และระวังอย่าให้มีสิ่งอื่นลงไปเจือปน แบ่งดินแต่ละตัวอย่างออกเป็นส่วนๆแต่ละส่วนหนักประมาณ 1 กิโลกรัม เอาดินเพียงหนึ่งส่วนใส่ถุงพลาสติก เขียนรายละเอียดประกอบตัวอย่างใส่ลงไปในถุงแล้วรัดปากถุงส่งห้องปฏิบัติการ
2.2 วิธีการเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์
ต้องเก็บตัวอย่างทางใบที่ 17 โดยนับจากใบย่อยบริเวณโคนทางใบคลี่เต็มที่และตั้งลากแล้ว ทางใบที่ 17 จะอยู่ซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับการเวียนของทางใบ โดยใช้จุดกึ่งกลางทางใบที่เริ่มจากแบนเป็นสันเหลี่ยม เก็บใบย่อยทั้ง 2 ด้านข้างละ 6-10 ใบ ตัดส่วนโคนและปลายใบ เก็บเฉพาะส่วนกลางใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ลอกเส้นกลางใบทิ้งเหลือเฉพาะแผ่นใบ ทำความสะอาดแผ่นใบ อบแห้งและส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
2.3 เทคนิคการแปรความหมาย
เมื่อส่งตัวอย่างดิน-ใบปาล์มน้ำมันไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ระยะหนึ่ง เกษตรกรจะได้รับผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ จึงต้องมีการแปลค่าวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าเป็นตัวเลข เราจะต้องทำการแปลค่าหรือให้ความหมายค่าแต่ละค่าว่ามีความหมายอย่างไร การแปลค่าจะทำให้ทราบถึงสภาพของดิน-ใบปาล์มน้ำมันว่ามีสภาพและคุณสมบัติเช่นใด
2.4 การจัดการปุ๋ย สำหรับปาล์มน้ำมัน เมื่อห้องปฏิบัติการได้ผลการวิเคราะห์แล้วก็จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยตามอาการขาดธาตุอาหาร
3 การให้น้ำปาล์มน้ำมัน
3.1 ความจำเป็นและหลักการให้น้ำ
3.2 การคำนวณและการติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง
3.3 วิธีการให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม
- พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)
- พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบระบบโปรยน้ำ (Mini Sprinker)
4 การรวมกลุ่มและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
4.1 ความจำเป็นและหลักการรวมกลุ่มของเกษตรกร
4.2 การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องและเหมาะสม
การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย
การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในการเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์มต่อไร่ เจ้าของสวนปาล์มต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพอส่งเข้าโรงงานเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงสุดต่อไร่ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้
1. เก็บเกี่ยวทะลายผลปาล์มสดในระยะที่สุกพอดี คือ ระยะที่ผลปาล์มมีสีผิวเปลือกนอกเป็นสีส้มสดและเริ่มมีผลร่วงหล่นทะลายปาล์มร่วมที่โคนต้นไม่น้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย
2. รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3. รอบการเก็บเกี่ยวในช่วงมีผลผลิตน้อย ควรเก็บเกี่ยว 14-21 วันต่อรอบ
4. รวบรวมผลปาล์มน้ำมันที่เป็นทะลายและลูกร่วมให้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น ควรเก็บผลปาล์มร่วงใส่ภาชนะ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือกระสอบ
5. การเก็บรวบรวมผลปาล์ม ควรลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย เพื่อลดการชอกช้ำและบาดแผลของผลปาล์ม
6. ทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน หรือเศษหิน ดิน ทราย และไม้กาบหุ้มทะลายออกก่อน
7. ต้องรีบส่งผลปาล์ม ไปยังโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น