รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล
ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล
การริเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันนประเทศไทยเมื่อประมาณ 40 ปีมานี้ ถ้าจะถามว่าได้มีการพัฒนากันไปถึงไหนแล้ว ก็คงตอบได้ว่า มีไม่มาก โดยเฉพาะช่วงกลางๆ ระหว่างปี 2530-2545 เกือบพูดได้ว่า ปาล์มน้ำมันในประเทศไทยช่วงนั้น หลับสนิท ในขณะที่มาเลเซีย มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เขามีการให้ความสนใจเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าเขาสนใจให้การสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศเขามากกว่ายางพาราเสียด้วยซ้ำไป มาเลเซียมีปัญหาที่เขาคาดเหตุการณ์ว่า
ในอนาคตจะเป็นเรื่องของแรงงานในการกรีดยางอย่างแน่นอน เลยมีการปลูกปาล์มน้ำมันกันยกใหญ่ ลดพื้นที่การปลูกยางตามลำดับ นั่นก็คือเมื่อโค่นยางพาราที่อายุครบ ก็ปลูกปาล์มน้ำมัน แทนที่จะปลูกยางพาราอย่างที่เคยทำมา ในอดีต มาเลเซีย เคยเป็นประเทศที่ปลูก และส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศไทย ส่วนมาเลเซียก็เป็นประเทศที่ปลูก และผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลก
การวิจัยปาล์มน้ำมันแห่งล้านนา
การทดสอบวิจัยการปลูกปาล์มน้ำมันของโครงการวิจัยนี้ ได้ปลูกในพื้นที่จังหวัด ลำพูน และเชียงใหม่ ได้มีการทดสอบในเรื่องของการเปรียบเทียบสายพันธุ์ การให้น้ำ การจัดการปุ๋ย และการจัดการต่างๆ ในสวนปาล์มน้ำมันทั้งในที่สูงและที่ลุ่ม ผลการวิจัยเป็นที่น่าพอใจ โดยได้มีการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะเป็นระยะๆตลอดมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาธิตควบคู่กันไป ซึ่งเป็นการหาคำตอบว่าจะปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือได้หรือไม่ ถ้าได้ จะต้องมีเงื่อนไข หรือตัวแปรปัจจัยอะไร เช่น
- เนื้อดิน
- คุณสมบัติดิน
- ความชื้นดิน
- การชลประทาน
- ทุนของเกษตรกร
- ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกร และ
- การจัดตั้งโรงงานหีบน้ำมันปาล์มในพื้นที่
การปลูกปาล์มน้ำมันในล้านนานั้น ได้มีเกษตรกรหน่วยกล้าตายในจังหวัดเชียงราย ตัดสินใจปลูกกันมาบ้างแล้ว โดยยังไม่มีการนำผลการวิจัยมาสนับสนุนแต่อย่างไร เกษตรกรในจังหวัดเชียงรายยังได้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันล้านนาขึ้น ปัจจุบันเชื่อว่ามีการปลูกในจังหวัดเชียงรายประมาณ หมื่นไร่
ผลผลิตที่ได้ในการปลูกที่เชียงรายก็ได้ส่งไปยังโรงงานที่จังหวัดชลบุรี และเมื่อเร็วๆนี้ก็ได้มีการสร้างโรงหีบน้ำมันปาล์มขึ้นที่เชียงแสน เพื่อรับผลปาล์มน้ำมันเข้าหีบในพื้นที่ ลดค่าขนส่งได้อย่างมาก
การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือ ล้านนา เท่าที่เกรงกันก็คือ ปริมาณน้ำฝน อากาศหนาว และความชื้นอากาศ เรื่องต่างๆเหล่านี้ได้มีการวิจัยจากโครงการอย่างละเอียด โดยได้มีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การออกดอก การผลิตทางใบ การตอบสนองของปาล์มน้ำมันต่อสภาพแสดล้อม จึงน่าจะเป็นการวิจัยปาล์มน้ำมันที่ละเอียดที่สุด ผลการวิจัยมีคุณค่าอย่างมาก เพราะจะเป็นคำตอบเพื่อใช้ในการตัดสินใจของเกษตรกรที่คิดจะปลูกใหม่ในล้านนา
เรื่องของพืชกรรมทางพืชของปาล์มน้ำมันนี้ ก็กำลังทำการวิจัยต่อไป เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุยาวนานกว่า 25 ปี การวิจัยจำเป็นต้องทำต่อไปอย่างงต่อเนื่อง การให้ผลผลิตที่ดี หรือไม่ดีในช่วง 5-6 ปีแรก ก็ยังไม่แน่ ในช่วงต่อไปอาจเปลี่ยนแปลงได้ ต้องรอดูผลต่อไปอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยทางการเกษตรนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก เพราะมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องมากมาย การสรุปผลออกมานั้นต้องใช้เวลา และการวิจัยมากมาย จึงจะสามารถสรุปให้คำตอบอย่างถูกต้อง เรื่องของการวิจัยปาล์มน้ำมันในสวนผลออกมาย่างไร ก็ว่ากัน แต่การวิจัยพัฒนาต่อจากการวิจัยทางการเกษตรก็ยังมีอีกมากมาย ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินการต่อไป
การพัฒนาโรงงานหีบน้ำมันปาล์ม
เมื่อได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันแล้ว สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดก็คือกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม หรื่อที่เรียกว่า การหีบน้ำมันปาล์ม เพราะลูกปาล์มจะต้องผ่านกระบวนการหีบเพื่อให้ได้น้ำมันออกมา ขั้นตอนการหีบมีรายละเอียดมากมาย ไม่ใช่เพียงนำลูกปาล์ม มาใส่เครื่องหีบเฉยๆ โรงหีบน้ำมันปาล์มก็จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ ไม่ไกลจากสวนมากนัก เพราะจะเสียค่าขนส่ง การหีบปาล์มน้ำมันในประเทศไทยนั้น ทั้งหมดจะเป็นระบบหีบแบบนึ่ง ไอน้ำความดัน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ การขนส่งปาล์มน้ำมันจากภาคอื่นส่งที่ภาคใต้เป็นไปไม่ได้ เพราะไกลมาก
ทางโครงการวิจัยนี้ จึงได้มีการค้นคิดระบบการสกัดน้ำมันปาล์ม แบบ สวนทฤษฎี หรือที่เรียกว่า แวกแนว คิดนอกกรอบ โดยจะเป็นการหีบระบบแห้ง ซึ่งต้นทุน ราคาโรงงานจะต่ำกว่าโรงงานระบบเดิม และยังมีความเป็นไปได้ในพื้นที่ปลูกใหม่ที่มีสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มากเท่าสวนปาล์มในภาคใต้ และที่สำคัญที่สุด ก็คือการหีบระบบแห้งนี้ไม่มีน้ำเสีย ไม่เกิดมลภาวะ ไม่เสียค่าบำบัด
กระบวนการหีบปาล์มน้ำมันนี้ เป็นการอบผลปาล์มน้ำมันด้วยพลังงานความร้อนจากชีวมวลในท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิ และระยะเวลาอย่างแม่นยำ ไม่ ร้อน หรือใช้เวลานานหรือน้อยไป ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพน้ำมัน และปริมาณน้ำมัน
ขั้นตอนการหีบน้ำมันปาล์มระบบแห้งนี้มีมากมาย โดยเฉพาะการฉีก และแยกลูกปาล์มออกจากทลาย การใช้แรงงานคนนั้นทำได้แต่ต้นทุนสูง โครงการวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องดังกล่าวที่สามารถใช้ได้ดี
กระบวนการมีของใช้ไร้ของเสีย
ของเหลือจากโรงงานสะกัดน้ำมันปาล์มอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทลายเปล่า หลังการแยกลูกปาล์มออกมา แล้ว จะมีทลายเปล่าแยกออกมา โดยทั่วไป ถือว่าส่วนของทลายเปล่าเป็นเศษเหลือ หรือของเสีย ทลายเปล่าเหล่านี้แต่ละโรงงานแต่ละวันมีมากมายมหาศาล ถ้าถูกกองทิ้งไว้ก็เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ในเรื่องนี้ มีแนวทางก็คือการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ด แต่ปริมาณการผลิตแต่ละวัน กับปริมาณการใช้ต่างกันมาก พูดง่ายๆก็คือ เหลือเยอะ นั้นแหละ จึงได้มีการนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล แบบใช้เผาเพื่อผลิตไฟฟ้า หรืออบลูกปาล์มโดยตรงก็ได้ มีประโยชน์ และไม่ต้องเสียค่าทำลาย
การนำทลายเปล่ามาเพิ่มค่าความร้อนนั้นทำได้ โดยได้มีการพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ ตามมาตรฐาน ก็จะยิ่งมีมูลค่ามากขึ้น การใช้เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบนี้จำเป็นต้องใช้ในหัวเผา ที่ได้พัฒนาเป็นหัวเผาอัจฉริยะ ที่ควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ หัวเผาอัจฉริยะ เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบนี้ สามารถนำไปใช้ทดแทนแก๊ส หรือน้ำมันเตา ในการผลิตไฟฟ้า หรือใน Boiler ที่ใช้ในโรงงานต่างๆ
ในอนาคตจะเป็นเรื่องของแรงงานในการกรีดยางอย่างแน่นอน เลยมีการปลูกปาล์มน้ำมันกันยกใหญ่ ลดพื้นที่การปลูกยางตามลำดับ นั่นก็คือเมื่อโค่นยางพาราที่อายุครบ ก็ปลูกปาล์มน้ำมัน แทนที่จะปลูกยางพาราอย่างที่เคยทำมา ในอดีต มาเลเซีย เคยเป็นประเทศที่ปลูก และส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศไทย ส่วนมาเลเซียก็เป็นประเทศที่ปลูก และผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลก
ประเทศไทยเรามีการปลูกปาล์มน้ำมันกันทั้งประเทศประมาณ 3 ล้านกว่าไร่ เทียบไม่ได้เลยกับประเทศมาเลเซีย แต่ก็ยังดีที่มีผู้สนใจปลูกกันมาก โดยเฉพาะในภาคใต้ การปลูกปาล์มน้ำมันนั้นในอดีตเคยมีปัญหารเรื่องราคาผลปาล์ม ซึ่งตกต่ำเหลือ กิโลกรัมทะลายสด บาทกว่าๆ เมื่อเป็นอย่างนี้เลยทำให้การขยายพื้นที่ปลูก ลดน้อยลง แต่แล้วเมื่อประเทศ และชาวโลกมีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่สูงทำลายสถิติ คนทั่วโลกและคนไทยที่ใช้น้ำมันเป็นกิจวัตรประจำวันก็ตกใจ หันมาหาพลังงานทดแทนกันยกใหญ่
พลังงานทดแทนที่ว่ากันนั้นก็เป็นเรื่องของน้ำมันไบโอดีเซล และแก๊สโซฮออล์ ซึ่งทำมาจากผลผลิตเกษตร เรื่องของไบโอดีเซลนั้นก็คงเป็นเรื่องของปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำ ในช่วงนั้นไปไหนมาไหนมีแต่คนพูดถึงปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำกันทุกหย่อมหญ้า ความต้องการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเพียง 2 เปอร์เซนต์ ที่เรียกว่า B2 นั้นก็ไม่รู้ว่าจะเอาไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชอะไร
พลังงานทดแทนที่ว่ากันนั้นก็เป็นเรื่องของน้ำมันไบโอดีเซล และแก๊สโซฮออล์ ซึ่งทำมาจากผลผลิตเกษตร เรื่องของไบโอดีเซลนั้นก็คงเป็นเรื่องของปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำ ในช่วงนั้นไปไหนมาไหนมีแต่คนพูดถึงปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำกันทุกหย่อมหญ้า ความต้องการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเพียง 2 เปอร์เซนต์ ที่เรียกว่า B2 นั้นก็ไม่รู้ว่าจะเอาไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชอะไร
ในช่วงนั้นยอดการใช้น้ำมัน ดีเซลทั้งประเทศ วันละ 40 กว่าล้านลิตร ส่วนผสมเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ก็มีปริมาณมากมายมหาศาล และต้องมีการปลูกปาล์มน้ำมัน หรือสบู่ดำหลายแสนไร่จึงจะพอผสมในน้ำมันดีเซล พื้นที่ปลูกในภาคใต้ก็แทบไม่เหลือ เพราะได้มีการปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันดั้งเดิมอยู่แล้ว เรื่องการหาพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันในที่ใหม่ ก็ไม่มีข้อมูล หรือได้ทดสอบมาก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ในอดีตไม่มีใครคิดว่าจะขยายเนื้อที่การปลูกปาล์มน้ำมันกันอีกแล้ว เพราะตอนนั้นไบโอดีเซลก็ยังไม่เกิด ไม่มีรัฐบาลไหนพูดถึง แล้วก็ยังคิดว่าปาล์มน้ำมนที่ปลูกกันขณะนั้นก็เกินความต้องการของตลาด
ในสมัยนั้น้ำมันปาล์มก็ส่งเข้าโรงกลั่นอย่างเดียว เมื่อมีปัญหาน้ำมันแพง ไบโอดีเซลก็เป็นพระเอก ปาล์มน้ำมันก็ได้รับความสนใจ โดยมีแนวคิดจะปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ ในภาคอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคอีสาน จากความคิดและนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ประเทศชาติมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้กัน ก็เลยมีการที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ดังกล่าว ทางศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการทดสอบวิจัยการปลูกในภาคเหนือ ดินแดนล้านนาที่ไม่เคยมีใครปลูกมาก่อนเลย
โครงการวิจัยนี้ เป็นโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา
ในสมัยนั้น้ำมันปาล์มก็ส่งเข้าโรงกลั่นอย่างเดียว เมื่อมีปัญหาน้ำมันแพง ไบโอดีเซลก็เป็นพระเอก ปาล์มน้ำมันก็ได้รับความสนใจ โดยมีแนวคิดจะปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ ในภาคอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคอีสาน จากความคิดและนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ประเทศชาติมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้กัน ก็เลยมีการที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ดังกล่าว ทางศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการทดสอบวิจัยการปลูกในภาคเหนือ ดินแดนล้านนาที่ไม่เคยมีใครปลูกมาก่อนเลย
โครงการวิจัยนี้ เป็นโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา
การวิจัยปาล์มน้ำมันแห่งล้านนา
การทดสอบวิจัยการปลูกปาล์มน้ำมันของโครงการวิจัยนี้ ได้ปลูกในพื้นที่จังหวัด ลำพูน และเชียงใหม่ ได้มีการทดสอบในเรื่องของการเปรียบเทียบสายพันธุ์ การให้น้ำ การจัดการปุ๋ย และการจัดการต่างๆ ในสวนปาล์มน้ำมันทั้งในที่สูงและที่ลุ่ม ผลการวิจัยเป็นที่น่าพอใจ โดยได้มีการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะเป็นระยะๆตลอดมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาธิตควบคู่กันไป ซึ่งเป็นการหาคำตอบว่าจะปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือได้หรือไม่ ถ้าได้ จะต้องมีเงื่อนไข หรือตัวแปรปัจจัยอะไร เช่น
- เนื้อดิน
- คุณสมบัติดิน
- ความชื้นดิน
- การชลประทาน
- ทุนของเกษตรกร
- ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกร และ
- การจัดตั้งโรงงานหีบน้ำมันปาล์มในพื้นที่
การปลูกปาล์มน้ำมันในล้านนานั้น ได้มีเกษตรกรหน่วยกล้าตายในจังหวัดเชียงราย ตัดสินใจปลูกกันมาบ้างแล้ว โดยยังไม่มีการนำผลการวิจัยมาสนับสนุนแต่อย่างไร เกษตรกรในจังหวัดเชียงรายยังได้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันล้านนาขึ้น ปัจจุบันเชื่อว่ามีการปลูกในจังหวัดเชียงรายประมาณ หมื่นไร่
ผลผลิตที่ได้ในการปลูกที่เชียงรายก็ได้ส่งไปยังโรงงานที่จังหวัดชลบุรี และเมื่อเร็วๆนี้ก็ได้มีการสร้างโรงหีบน้ำมันปาล์มขึ้นที่เชียงแสน เพื่อรับผลปาล์มน้ำมันเข้าหีบในพื้นที่ ลดค่าขนส่งได้อย่างมาก
การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือ ล้านนา เท่าที่เกรงกันก็คือ ปริมาณน้ำฝน อากาศหนาว และความชื้นอากาศ เรื่องต่างๆเหล่านี้ได้มีการวิจัยจากโครงการอย่างละเอียด โดยได้มีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การออกดอก การผลิตทางใบ การตอบสนองของปาล์มน้ำมันต่อสภาพแสดล้อม จึงน่าจะเป็นการวิจัยปาล์มน้ำมันที่ละเอียดที่สุด ผลการวิจัยมีคุณค่าอย่างมาก เพราะจะเป็นคำตอบเพื่อใช้ในการตัดสินใจของเกษตรกรที่คิดจะปลูกใหม่ในล้านนา
เรื่องของพืชกรรมทางพืชของปาล์มน้ำมันนี้ ก็กำลังทำการวิจัยต่อไป เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุยาวนานกว่า 25 ปี การวิจัยจำเป็นต้องทำต่อไปอย่างงต่อเนื่อง การให้ผลผลิตที่ดี หรือไม่ดีในช่วง 5-6 ปีแรก ก็ยังไม่แน่ ในช่วงต่อไปอาจเปลี่ยนแปลงได้ ต้องรอดูผลต่อไปอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยทางการเกษตรนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก เพราะมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องมากมาย การสรุปผลออกมานั้นต้องใช้เวลา และการวิจัยมากมาย จึงจะสามารถสรุปให้คำตอบอย่างถูกต้อง เรื่องของการวิจัยปาล์มน้ำมันในสวนผลออกมาย่างไร ก็ว่ากัน แต่การวิจัยพัฒนาต่อจากการวิจัยทางการเกษตรก็ยังมีอีกมากมาย ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินการต่อไป
การพัฒนาโรงงานหีบน้ำมันปาล์ม
เมื่อได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันแล้ว สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดก็คือกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม หรื่อที่เรียกว่า การหีบน้ำมันปาล์ม เพราะลูกปาล์มจะต้องผ่านกระบวนการหีบเพื่อให้ได้น้ำมันออกมา ขั้นตอนการหีบมีรายละเอียดมากมาย ไม่ใช่เพียงนำลูกปาล์ม มาใส่เครื่องหีบเฉยๆ โรงหีบน้ำมันปาล์มก็จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ ไม่ไกลจากสวนมากนัก เพราะจะเสียค่าขนส่ง การหีบปาล์มน้ำมันในประเทศไทยนั้น ทั้งหมดจะเป็นระบบหีบแบบนึ่ง ไอน้ำความดัน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ การขนส่งปาล์มน้ำมันจากภาคอื่นส่งที่ภาคใต้เป็นไปไม่ได้ เพราะไกลมาก
ทางโครงการวิจัยนี้ จึงได้มีการค้นคิดระบบการสกัดน้ำมันปาล์ม แบบ สวนทฤษฎี หรือที่เรียกว่า แวกแนว คิดนอกกรอบ โดยจะเป็นการหีบระบบแห้ง ซึ่งต้นทุน ราคาโรงงานจะต่ำกว่าโรงงานระบบเดิม และยังมีความเป็นไปได้ในพื้นที่ปลูกใหม่ที่มีสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มากเท่าสวนปาล์มในภาคใต้ และที่สำคัญที่สุด ก็คือการหีบระบบแห้งนี้ไม่มีน้ำเสีย ไม่เกิดมลภาวะ ไม่เสียค่าบำบัด
กระบวนการหีบปาล์มน้ำมันนี้ เป็นการอบผลปาล์มน้ำมันด้วยพลังงานความร้อนจากชีวมวลในท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิ และระยะเวลาอย่างแม่นยำ ไม่ ร้อน หรือใช้เวลานานหรือน้อยไป ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพน้ำมัน และปริมาณน้ำมัน
ขั้นตอนการหีบน้ำมันปาล์มระบบแห้งนี้มีมากมาย โดยเฉพาะการฉีก และแยกลูกปาล์มออกจากทลาย การใช้แรงงานคนนั้นทำได้แต่ต้นทุนสูง โครงการวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องดังกล่าวที่สามารถใช้ได้ดี
กระบวนการมีของใช้ไร้ของเสีย
เรื่องของกระบวนการที่เรียกว่า ของเสียเป็นศูนย์ หรือ ไร้ของเสีย ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Zero Waste นั้น น่าสนใจ และถูกพูดถึงทุกวงการ การปลูกปาล์มน้ำมัน การสกัดน้ำมันปาล์ม การแปรรูปน้ำมันปาล์ม ก็มความจำเป็นต้องพูดถึงกระบวนการไร้ของเสีย เช่นกัน ของเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม พวกน้ำเสีย ในกระบวนการหีบปาล์มแบบเก่า เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม กลิ่น ซึ่งชุมชนจะต่อต้าน
การแก้ปัญหานี้ก็คือ การแก้ที่ต้นเหตุ โดยการหีบน้ำมันระบบแห้ง ซึ่งจะไม่มีน้ำเสียออกมาเลย แต่ถ้าเป็นการหีบแบบเก่า ก็มีทางออกโดยการนำเอาน้ำเสียเหล่านั้นไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ ปั่นไฟขายได้ เป็นการทำลายได้ แล้วก็มีไฟฟ้าใช้ อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าบำบัด และที่สำคัญก็คือการได้ผลตอบแทนเรื่องของคาร์บอนเครดิตอีกด้วย
การแก้ปัญหานี้ก็คือ การแก้ที่ต้นเหตุ โดยการหีบน้ำมันระบบแห้ง ซึ่งจะไม่มีน้ำเสียออกมาเลย แต่ถ้าเป็นการหีบแบบเก่า ก็มีทางออกโดยการนำเอาน้ำเสียเหล่านั้นไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ ปั่นไฟขายได้ เป็นการทำลายได้ แล้วก็มีไฟฟ้าใช้ อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าบำบัด และที่สำคัญก็คือการได้ผลตอบแทนเรื่องของคาร์บอนเครดิตอีกด้วย
ของเหลือจากโรงงานสะกัดน้ำมันปาล์มอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทลายเปล่า หลังการแยกลูกปาล์มออกมา แล้ว จะมีทลายเปล่าแยกออกมา โดยทั่วไป ถือว่าส่วนของทลายเปล่าเป็นเศษเหลือ หรือของเสีย ทลายเปล่าเหล่านี้แต่ละโรงงานแต่ละวันมีมากมายมหาศาล ถ้าถูกกองทิ้งไว้ก็เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ในเรื่องนี้ มีแนวทางก็คือการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ด แต่ปริมาณการผลิตแต่ละวัน กับปริมาณการใช้ต่างกันมาก พูดง่ายๆก็คือ เหลือเยอะ นั้นแหละ จึงได้มีการนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล แบบใช้เผาเพื่อผลิตไฟฟ้า หรืออบลูกปาล์มโดยตรงก็ได้ มีประโยชน์ และไม่ต้องเสียค่าทำลาย
การนำทลายเปล่ามาเพิ่มค่าความร้อนนั้นทำได้ โดยได้มีการพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ ตามมาตรฐาน ก็จะยิ่งมีมูลค่ามากขึ้น การใช้เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบนี้จำเป็นต้องใช้ในหัวเผา ที่ได้พัฒนาเป็นหัวเผาอัจฉริยะ ที่ควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ หัวเผาอัจฉริยะ เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบนี้ สามารถนำไปใช้ทดแทนแก๊ส หรือน้ำมันเตา ในการผลิตไฟฟ้า หรือใน Boiler ที่ใช้ในโรงงานต่างๆ
การปาล์มน้ำมัน การสกัดน้ำมันปาล์ม ในพื้นที่ปลูกใหม่ เช่นภาคเหนือนั้น หากได้ผลผลิตออกมามีประโยชน์มาก แต่ถ้าจะให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องวิจัยเติมเต็มต่อยอดให้ครบวงจร จึงจะนำไปสู่การปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานทดแทนแห่งล้านนาต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น