กองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปลื้ม ผลการวิจัยปลูกปาล์มน้ำมันภาคเหนือประสบผลสำเร็จ ได้ผลผลิตสูงเทียบเท่าปาล์มน้ำมันภาคใต้ อนุมัติงบ 7.8 ล้านบาท ดำเนินการต่อเนื่องปีที่ 5
เมื่อวันที่ 6 ก.พ.
เมื่อวันที่ 6 ก.พ.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้มอบให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ โดย มช. ได้ดำเนินการคัดเลือก
สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน 3,200 ต้น
นำไปปลูกในแปลงพื้นที่ของ มช. 2 แห่ง รวม 386 ไร่ คือ
แปลงวิจัยศรีบัวบาน จ.ลำพูน 350 ไร่ และ
แปลงวิจัยแม่เหียะ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 36 ไร่
ตั้งแต่ปี 2548 จากการติดตามผลการวิจัย พบว่า การเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน เติบโตได้ค่อนข้างดี มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกเพศเมียสูงมากกว่า 90% เทียบได้กับปาล์มน้ำมันที่ปลูกในภาคใต้ของไทย โดยมีผลผลิตสูงสุด 1,842 กิโลกรัมต่อไร่/ปี
ขณะเดียวกันในแง่ความคุ้มค่าการลงทุน พบว่า การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ 3 ชนิด ได้แก่
ขณะเดียวกันในแง่ความคุ้มค่าการลงทุน พบว่า การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ 3 ชนิด ได้แก่
สัปปะรด
ลำไย
ลิ้นจี่
พบว่า
สัปปะรดมีกำไรเฉลี่ยสูงสุดคือ 6,678 บาทต่อไร่
รองลงมาคือ
ปาล์มน้ำมัน 5,359 บาทต่อไร่
ในขณะที่พืชเศรษฐกิจอื่นได้แก่
ลำไยและลิ้นจี่ อยู่ในภาวะขาดทุน และการปลูกสัปปะรดนั้นต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าปาล์มน้ำมันมากกว่า 2 เท่า จึงสรุปได้ว่า
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชทางเลือก ที่สามารถสร้างรายได้
โดยมีผลตอบแทนที่จูงใจแก่เกษตรกรในภาคเหนือได้ เพื่อให้การวิจัยและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจึงได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 7.8 ล้านบาท เพื่อให้ มช. ดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น