โดยไทยรัฐ เมื่อ 30 มิ.ย.2553
ปาล์มน้ำมัน...พืชพลังงานทดแทน อันเป็น ความหวังหนึ่งของไทยในอนาคต
ซึ่ง...ภาครัฐได้ตระหนัก ถึงความสำคัญต่อพืชเศรษฐกิจตัวนี้ จึงได้ตั้ง คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ และ มีประสิทธิภาพ
โดย...มีการ จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มาอย่างต่อเนื่อง นโยบายเชิงรุก ได้กำหนดระยะเวลาช่วงปี 2551 ถึง 2555 ให้ดำเนินการปลูกปาล์มน้ำมันในสวนใหม่ 4 ล้านไร่ และทดแทนสวนปาล์มเดิม 1 ล้านไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ข้อมูลจากความเป็นจริงของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในบ้านเรา ปี 2550 กิโลกรัมละ 2.14 บาท แต่พอถึงปี 2552 ถีบตัวขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 2.58 บาท
...ยิ่งในปัจจุบันมีการเปิดเสรีทางการค้า หรือ AFTA สินค้าปาล์มน้ำมันจึงโดนทุบ และได้รับผลกระทบ เนื่องจากประเทศคู่แข่ง อาทิ อินโดนีเซียกับมาเลเซียมีต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศไทย ความบอบช้ำจึงตกหนักแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
จากวันนั้นถึงวันนี้...การพัฒนาในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในบ้านเรา ยังมีศักยภาพไม่แพ้ขาดประเทศใดๆโดยสิ้นเชิง พอมีโอกาสที่จะ เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ผลิต หรือ ปลูกปาล์มได้บ้าง หากรัฐมีวิธีการตลาด วางรูปแบบในการตลาดที่ถูกทาง
คุณมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะบริหารกลุ่มพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยพูดในการสัมมนาของ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์...ว่า
...ทิศทางการพัฒนาปาล์มน้ำมันในบ้านเรา ควรมีการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรรายย่อยอย่างทั่วถึง โดยส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มรายย่อยรวมกลุ่มกันแล้วนำผลผลิตมาส่งที่จุดรวมที่เรียกว่าลานเทรับซื้อปาล์ม และส่งเข้าโรงหีบที่เป็นของชุมชนเอง จากนั้นจึงส่งเข้าโรงงานไบโอดีเซล เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมด้วย...นั่นก็ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการช่วยเกษตรกรชาวปาล์มน้ำมัน
แต่ที่น่าสนใจยิ่ง...คือการปรับรูปแบบ ตลาดในการรองรับผลผลิต ควรมีการพัฒนาระบบให้ท่วงทันต่อการพัฒนาสายพันธุ์ ด้วยการคิดระดับราคาตามค่าเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ดังเช่น อ้อยที่คิดค่าเปอร์เซ็นต์ความหวาน
เพราะปัจจุบัน... เกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาโดยเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพในการให้น้ำมันที่สูง กันแล้ว แต่ การรับซื้อยังล้าหลังกับการเอาน้ำหนักเป็นเกณฑ์ ปาล์มพันธุ์ดียังคงมีคุณค่าเทียมเท่ากับพันธุ์เก่าๆเอามาจากป่า ที่ เปลือกหนา กะลาตัน
ถึงตรงนี้...คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ คงพอจะคิดได้ว่า เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของไทยมีโอกาสอยู่รอด และสามารถ แข่งขันกับต่างประเทศได้...ถ้าไม่แกล้ง ซื่อบื้อ...!!
ดอกสะแบง
ปาล์มน้ำมัน...พืชพลังงานทดแทน อันเป็น ความหวังหนึ่งของไทยในอนาคต
ซึ่ง...ภาครัฐได้ตระหนัก ถึงความสำคัญต่อพืชเศรษฐกิจตัวนี้ จึงได้ตั้ง คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอย่างเป็นระบบ และ มีประสิทธิภาพ
โดย...มีการ จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มาอย่างต่อเนื่อง นโยบายเชิงรุก ได้กำหนดระยะเวลาช่วงปี 2551 ถึง 2555 ให้ดำเนินการปลูกปาล์มน้ำมันในสวนใหม่ 4 ล้านไร่ และทดแทนสวนปาล์มเดิม 1 ล้านไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ข้อมูลจากความเป็นจริงของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในบ้านเรา ปี 2550 กิโลกรัมละ 2.14 บาท แต่พอถึงปี 2552 ถีบตัวขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 2.58 บาท
...ยิ่งในปัจจุบันมีการเปิดเสรีทางการค้า หรือ AFTA สินค้าปาล์มน้ำมันจึงโดนทุบ และได้รับผลกระทบ เนื่องจากประเทศคู่แข่ง อาทิ อินโดนีเซียกับมาเลเซียมีต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศไทย ความบอบช้ำจึงตกหนักแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน
จากวันนั้นถึงวันนี้...การพัฒนาในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในบ้านเรา ยังมีศักยภาพไม่แพ้ขาดประเทศใดๆโดยสิ้นเชิง พอมีโอกาสที่จะ เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ผลิต หรือ ปลูกปาล์มได้บ้าง หากรัฐมีวิธีการตลาด วางรูปแบบในการตลาดที่ถูกทาง
คุณมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะบริหารกลุ่มพืชครบวงจรเครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยพูดในการสัมมนาของ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์...ว่า
...ทิศทางการพัฒนาปาล์มน้ำมันในบ้านเรา ควรมีการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และกระจายรายได้ไปสู่เกษตรกรรายย่อยอย่างทั่วถึง โดยส่งเสริมให้ชาวสวนปาล์มรายย่อยรวมกลุ่มกันแล้วนำผลผลิตมาส่งที่จุดรวมที่เรียกว่าลานเทรับซื้อปาล์ม และส่งเข้าโรงหีบที่เป็นของชุมชนเอง จากนั้นจึงส่งเข้าโรงงานไบโอดีเซล เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมด้วย...นั่นก็ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการช่วยเกษตรกรชาวปาล์มน้ำมัน
แต่ที่น่าสนใจยิ่ง...คือการปรับรูปแบบ ตลาดในการรองรับผลผลิต ควรมีการพัฒนาระบบให้ท่วงทันต่อการพัฒนาสายพันธุ์ ด้วยการคิดระดับราคาตามค่าเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ดังเช่น อ้อยที่คิดค่าเปอร์เซ็นต์ความหวาน
เพราะปัจจุบัน... เกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาโดยเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพในการให้น้ำมันที่สูง กันแล้ว แต่ การรับซื้อยังล้าหลังกับการเอาน้ำหนักเป็นเกณฑ์ ปาล์มพันธุ์ดียังคงมีคุณค่าเทียมเท่ากับพันธุ์เก่าๆเอามาจากป่า ที่ เปลือกหนา กะลาตัน
ถึงตรงนี้...คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ คงพอจะคิดได้ว่า เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของไทยมีโอกาสอยู่รอด และสามารถ แข่งขันกับต่างประเทศได้...ถ้าไม่แกล้ง ซื่อบื้อ...!!
ดอกสะแบง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น