ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เพาะกล้ายางเสริมรายได้

15/2/54
โดยช่อง 7 เมื่อ 10 กรกฎาคม 2553

เกษตรกรจังหวัด อุทัยธานีนำโอกาสจากที่รัฐบาลประกาศนโยบายขยายพื้นที่ปลูกยางพารา และราคายางพาราที่สูงขึ้น มาปรับใช้สร้างรายได้ให้ตนเอง

ราคายางพาราที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มทางด้านตลาดค่อนข้างสดใสเป็นแรงจูงใจให้ เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำการเกษตรเดิมมาปลูกยางพาราประกอบนโยบายของ รัฐบาลที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพาราขึ้นอีก 1 ล้านไร่ จึงมีผู้นำจุดนี้มาใช้สร้างรายได้ให้ตนเอง

นางสาววันดี ศรีดอกคำ เกษตรกรและครอบครัว 

ที่หมู่ 12 ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 

ได้ปรับพื้นที่ที่เคยปลูกสับปะรด และไม้ผล มาปลูกยางพารา เพื่อหวังผลกำไรในอนาคต โดยนำประสบการณ์จากที่เคยทำสวนยางพาราในภาคใต้มาปรับใช้ในการดูแล ขณะนี้ต้นยางพาราดังกล่าวอายุได้ 4 ปีแล้ว ยังเปิดกรีดน้ำยางไม่ได้ ในระหว่างที่รอผลผลิตจากยางพาราอยู่นี้เกษตรกรได้เพาะขยายกิ่งพันธุ์ ยางพาราด้วยการตอนกิ่งจำหน่ายเสริมรายได้ เพื่อสร้างรายได้ให้-ครอบครัว เนื่องจากเล็งเห็นว่าตลาดกำลังต้องการมาก ในขณะที่กิ่งพันธุ์หาได้ยาก

การขยายพันธุ์กล้ายางพารา เริ่มจากคัดเลือกกิ่ง ที่ตัดแต่งต้นยางพาราอายุน้อยๆ ซึ่งเกษตรกรทั่วไปมักนำไปทิ้งและเผาทำลายโดยเปล่าประโยชน์เน้นเลือก กิ่งที่มีตาสมบูรณ์ติดอยู่

สังเกตง่ายๆ ด้วยการลอกเปลือกด้านนอกออก จะเห็นไข่ตา ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มติดอยู่ด้านใน จากนั้นนำกิ่งดังกล่าวไปติดตาต้นตอ หรือต้นสต๊อคยางพาราอายุประมาณ 1 ปี ที่เตรียมไว้ คล้ายกับการติดตาไม้ผลทั่วไป ถ้าได้ผลดี จากนี้ 20 วัน บริเวณแผลที่ติดจะมีสีเขียวสด หลังจากนี้ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถตัดต้นตอที่ติดตาแล้ว ไปเพาะชำต่อได้

เกษตรกรมีเทคนิคเพาะชำกล้ายางพาราให้สมบูรณ์ ไม่ให้กล้ายางช้ำเสียหาย ด้วยการนำถุงดำที่จะชำบรรจุดินจากชายเขาไว้แล้วจุ่มลงในน้ำเปล่าจนท่วม ถุงชำ นำต้นกล้ายางพาราลงปลูกในถุงชำ จากนั้นจึงค่อยยกถุงชำขึ้นจากน้ำ นำไปเลี้ยงต่อในแปลงเพาะใต้ร่มไม้ผล

การดูแลต้นกล้าชำ เกษตรกรนำกระสอบป่านมาคลุมต้นกล้าไว้ไม่ให้ถูกแสงแดด รดน้ำวันเว้นวัน จากนี้ประมาณ 20 วัน บริเวณแผลที่ติดตาไว้จะเริ่มมีใบอ่อนเกิดขึ้น จึงค่อยนำกระสอบป่านที่คลุมออก ดูแลรดน้ำทุกวัน ประมาณ 30 วัน ใบอ่อนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นใบเพสลาด ต้นกล้าเริ่มแข็งแรง ย้ายไปดูแลต่อในที่กลางแจ้ง ให้แสงแดดส่องประมาณ 15 วัน ก็สามารถย้ายต้นกล้าดังกล่าวลงดินได้หรือจำหน่ายได้ราคาขั้นต่ำต้นละ 18 บาท

เกษตรกรดังกล่าวตั้งเป้าหายผลิตกล้ายางพาราจำหน่ายไปจน กว่าต้นยางพาราจะเปิดกรีดน้ำยางได้ และมีต้นขนาดสูงขึ้น ไม่สามารถตัด แต่งกิ่งได้ในช่วงนี้เน้นผลิตกล้ายาง 3 เดือน เฉพาะในช่วงฤดูฝน ตามใบสั่งซื้อล่วงหน้า ที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนผลิตไม่ทันกับที่ ต้องการ

วิธีดังกล่าว ได้กล้ายางพารารอดตายสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรรับประกันคุณภาพ ทำให้ตลาดเชื่อมั่น มีรองรับอย่างต่อเนื่องด้วยประสบการณ์การเรียนรู้ เกษตรกรดังกล่าวได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรตัวอย่าง ครูบัญชี ทั้งหมดนี้ก็เนื่องมาจากการมองตลาดให้เป็น รู้จักนำโอกาสที่เกษตรกรรายอื่นและรัฐบาลต้องการขยายพื้นที่ปลูกยางพารามา ใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงประสบผลสำเร็จเช่นนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น