เกรท อะโกร -เอ็มเทค พัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มไม่ใช้ไอน้ำระดับชุมชน

11/4/54
เมื่อ 12 ต.ค.2552

นายนเรศว์ร ชิ้นอินมนู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เกรท อะโกร จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขนส่งและภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ย 49 ล้านลิตร/วัน ทำให้แต่ละปีต้องสูญเสียเงินตราในการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนาพืชพลังงาน เพื่อเป็นทางเลือกด้านพลังงานและลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นไบโอดีเซลเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซล

อย่างไรก็ตาม การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มขนาดใหญ่ 20,000-60,000 ไร่ขึ้นเพื่อรองรับการตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่กำลังผลิต 15-60 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมงเป็นเรื่องยาก ทำให้เกษตรกรรายย่อยในหลายพื้นที่ รวมทั้งกลุ่มผู้ปลูกปาล์มรายใหม่ที่มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 1,000-3,000 ไร่ ต้องเสียค่าขนส่งผลผลิตที่แพงไปยังโรงสกัดน้ำมันขนาดใหญ่ที่อยู่ไกล อีกทั้งการขนส่งผลผลิตปาล์มในระยะทางไกลๆยังเป็นสาเหตุทำให้คุณภาพและเปอร์เซ็นต์ของน้ำมันปาล์มที่สกัดได้ลดลงด้วย

“จากปัญหาข้างต้น บริษัทฯ จึงทำการวิจัยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) เพื่อพัฒนาเครื่องต้นแบบระบบการสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำระดับชุมชน CPP-1500 ซึ่งเป็นเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำเครื่องแรกของโลกที่สามารถสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A และไม่มีปัญหาน้ำเสีย รวมทั้งกากที่เหลือจากการสกัดยังสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์อีกด้วย นอกจากนี้เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีระบบการควบคุมการทำงานที่สะดวก ติดตั้งง่าย ประหยัดพลังงานและสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สอดคล้องกับการทำงานในระดับชุมชน โดยเฉพาะแห่งปลูกปาล์มใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 1,000-3,000 ไร่” นายนเรศว์ร กล่าว

นายนเรศว์ร กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุด บริษัทฯ และเอ็มเทค ได้ทำสัญญากับ บริษัท ศิริรัตน์ ฟู๊ด แอนด์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการธุรกิจลานเทรายใหญ่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการซื้อขายระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาดกำลังการผลิต 1 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมงจำนวน 1 เครื่อง ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตั้งและทดสอบระบบคาดว่าจะสามารถเดินเครื่องได้เร็วๆนี้ ขณะเดียวยังมีผู้ประกอบการที่รวบรวมผลปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มแห่งใหม่กว่า 20 รายในหลายพื้นที่ฤฤได้แจ้งความจำนงที่จะเข้าเยี่ยมชมการทำงานของเครื่องต้นแบบที่โครงการไบโอดีเซลชุมชนเฉลิมพระเกียรติฯ ทุ่งหลวงรังสิตตอนบน เบื้องต้นภายในสิ้นปี 2552 จะมียอดสั่งซื้อระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำประมาณ 10 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50,000,000 บาท

อนึ่ง ที่ผ่านมาโรงหีบปาล์มน้ำมันในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ 1.โรงหีบระบบไอน้ำกำลังการผลิต 15-60 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง มูลค่าการลงทุน 100-150 ล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะสามารถสกัดน้ำมันเกรด A แต่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำเสียที่เกิดขึ้น รวมทั้งกากที่เหลือจากการสกัดยังไปใช้ประโยชน์ได้น้อย 2.โรงหีบระบบแห้งแบบดั้งเดิมกำลังการผลิต 1-5 ตันผลปาล์มต่อชั่วโมง น้ำมันที่ได้เป็นน้ำมันเกรด B แต่มีข้อดีคือไม่มีน้ำเสีย และกากที่ได้จากสกัดสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เพราะมีโปรตีนสูง ซึ่งปัจจุบันตลาดรับซื้อที่ กก.ละ 3-4 บาท ทางบริษัทฯ และเอ็มเทคจึงได้นำข้อดีของทั้ง 2 ระบบมาพัฒนาเป็นเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำระดับชุมชน CPP-1500
Read more ...

การสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กแบบไม่ใช้ไอน้ำ

11/4/54
การสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กแบบไม่ใช้ไอน้ำ

ระบบการสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชน ซึ่งกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองกับเงื่อนไข และข้อจำกัดของการใช้งาน มีจุดแข็ง คือ ไม่มีน้ำเสียในกระบวนการผลิต ใช้พลังงานต่ำ และใช้พื้นที่น้อยในการติดตั้งโรงงาน ดูแลรักษาง่าย สามารถเคลื่อนที่ได้ ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ และกากเหลือจากกระบวนผลิตสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

ผลงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าว ได้ขยายผลสู่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จของงานวิจัยและพัฒนา จากการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องต้นแบบฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มผลผลิตการสกัดน้ำมันปาล์ม จนได้รับการเชื่อมั่นและสามารถนำไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็น โรงหีบปาล์มในพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ขนาดประมาณ 1,500 – 3,000 ไร่ ปัจจุบันสามารถจำหน่ายได้แล้วถึง 10 เครื่อง ตัวอย่างพื้นที่นำไปใช้งาน อาทิ อ.นาทม จ.นครพนม อ.เขาพนม จ.กระบี่ เป็นต้น
Read more ...

เทคนิคกระบี่สร้างเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน

11/4/54
โดย76 เนชั่น  เมื่อ 10 ธ.ค.2553

วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ ผลิตเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน พร้อมเครื่องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์ม ต้นทุนต่ำราคา 6- 7 หมื่นบาท ให้เกษตรกรใช้ในการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ

จากการที่จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาลืมน้ำมันประมาณ 8 แสนกว่าไร มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิต จำนวน 776,146 ไร่ มีปริมาณผลิตปีละประมาณ 1,763,617 ตัน มีรายได้จากปาล์มน้ำมัน ปีละ8,190 ล้านบาท มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจำนวน 21 แห่ง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรจังหวัดกระบี่มีรายได้สูง

แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ไม่เคยมองข้ามเมื่อยามราคาปาล์มน้ำมันลดต่ำลง หรือผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดน้อย นั้นก็คือการช่วยเหลือตนเอง การมองหาเครื่องมือมาใช้ภายในครัวเรือนหรือภายในสวนปาล์มของตนเอง จึงเป็นสิ่งเดี่ยวที่จะทำให้ชาวสวนปาล์มมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถสกัดน้ำมันปาล์มได้ด้วยตัวเอง นอกจากนั้นสิ่งที่เหลือจากการสกัดน้ำมันปาล์มยังสามารถน้ำมาใช้เป็นปุ๋ยหมัก เครื่องมือสกัดน้ำมันปาล์มต้นทุนต่ำจึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือที่สนองพระราชดำริพระนาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี

แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ ได้น้อมนำพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถคิดค้นพัฒนา เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน ต้นทุนต่ำ เพื่อการใช้ประโยชน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตจากปาล์มน้ำมัน และใช้ในการเรียนการสอนของแผนกช่างยนต์ในระดับ ปวช. ปวส. ของวิทยาลัยเทคนิคกระบี่ เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ มีประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง และจากภาคทฤษฏี ในเรื่องของเครื่องยนต์ การประกอบชิ้นส่วน รวมทั้งความรู้ในเรื่องของปาล์มน้ำมัน การแปรรูป และการเรียนรู้การสกัดปาล์มน้ำมัน ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการผลิตเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน

นายเฉลิมศักดิ์ มีไพบูลย์สกุล อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ 

กล่าวว่า การผลิตเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน พร้อมเครื่องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์ม คณะอาจารย์แผนกช่างยนต์ ได้รับแรงบันดาลใจพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสน พระทัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับพลังงานทดแทนเพื่อให้ประเทศไทยและคนไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานทดแทน เพื่อจะให้ประชาชนทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดี ลดค่าใช้จ่ายจากภาวะราคาน้ำมันของโลกที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิตพลังงานทดแทนจากปาล์มน้ำมัน โดยได้ทำการคิดค้นตั้งแต่ปี 2551-2553 โดยได้รับงบประมาณในการประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 160,000 บาท จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เป็นงบประมาณในการประดิษฐ์เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน จำนวน 80,000 บาท และการการประดิษฐ์เครื่องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์ม จำนวน 80,000 บาท

การประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์สกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน โดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงเกินไป ซึ่งชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์หาซื้อได้ในท้องถิ่นทั่วไปราคาไม่แพง สามารถกลั่นน้ำมันปาล์มได้เองโดยไม่ยุ่งยาก ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถใช้สกัดน้ำมันปาล์มในครัวเรือนได้เอง สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในการจัดการกับผลผลิตหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ จากที่ขายได้เฉพาะผลปาล์มสดเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กเพื่อการเกษตร นอกจากนั้นยังสามารถนำน้ำมันปาล์มดิบเป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรง น้ำมันที่ได้จาการกลั่นยังสามารถนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซลหรือจะพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคได้เอง เป็นอีกทางเลือกที่ทำให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน มีคุณสมบัติสามารถย่อยผลปาล์มที่ใช้วิธีการเพียงสับหยาบๆ และคัดแยกผลปาลืมออกจากกลีบช่องทะลายปาล์มได้ในเครื่องเดียวกัน สามารถกลั่นน้ำมันได้อย่างต่อเนื่อง นาทีละประมาณ 3 กิโลกรัมของผลปาล์มสด หรือชั่วโมงละ 180 กิโลกรัมผลปาล์มสด การสกัดสามารถแยกกากและเส้นใยปาล์มออกจากน้ำมันปาล์มได้เอง นอกจากนั้นยังสามารถเลือกใช้น้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มสำหรับครัวเรือน พร้อมเครื่องปรับปรุงคุณภาพน้ำมันปาล์ม มีราคาถูก

ตกเครื่องละประมาณ 60,000 – 70,000 บาท 

สามารถเลือกใช้น้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ได้ ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ซ่อมบำรุงได้ง่าย เกษตรกรสามารถสกัดน้ำมันปาล์มได้เองโดยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก หาซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมแซมตามท้องตลาดทั่วไป

วิธีการและกรรมวิธีในการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ เริ่มจากการเก็บผลสุกปาล์มจากต้น นำมาสับให้ผลปาล์มหลดุจากทะลายปาล์มอย่างหยาบๆ สตาร์เครื่องยนต์ด้วยน้ำมันดีเซล 1 นาที แล้วเปลี่ยนวาล์ว ไปใช้น้ำมันปาล์มดิบ ( ก่อนดับเครื่อง 4 นาที ให้เปลี่ยนวาล์วกลับไปใช้น้ำมันดีเซลเพื่อล้างระบบปั๊มและหัวฉีด ) เทผลปาล์มที่สับแล้วลงในช่องด้านบนของเครื่องสกัดน้ำมันฯ
Read more ...

เครื่องบีบน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก

11/4/54
โดยส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2553

อ.สมชาติ นนทะนาคร ผู้วิจัย โทร. 02 588 3667

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดเครื่องบีบน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่มีราคาถูกสำหรับเกษตรกรไว้ใช้ในครัวเรือน โดยมีขอบเขตงานวิจัยตั้งแต่การสกัดน้ำมันปาล์มดิบแล้วนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานกับเครื่องยนต์ได้ ชุดเครื่องบีบน้ำมันปาล์มที่ได้จากการวิจัยนี้ประกอบด้วยเครื่องต่าง ๆ ที่ต้องใช้ร่วมกันดังนี้

1. เครื่อง ฉีกแยกเปลือก เนื้อและเมล็ดปาล์มน้ำมัน
2. เครื่องย่อยเปลือกเนื้อปาล์มน้ำมัน
3. เครื่องบีบเนื้อปาล์มให้เป็นน้ำมัน
4. เครื่องสลัดเหวี่ยงแยกปาล์มน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัว (CPOL) และชนิดอิ่มตัว (CPS)
5. เครื่องกรองน้ำมันปาล์มขนาด 5 ไมครอน

รวมระยะเวลาที่ใช้ในการประดิษฐ์ชุดเครื่องบีบน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก การทดลองบีบน้ำมันและการทดสอบเครื่องยนต์ทั้งหมดประมาณ 12 เดือน

การผสมน้ำมันปาล์มกับน้ำมันดีเซลใช้อัตราส่วน น้ำมันปาล์ม CPOL  100% 1 ลิตร ต่อน้ำมันดีเซล 1  ลิตร แล้วนำมาเข้าเครื่ีองสลัดเหวี่ยงแยกปาล์มน้ำมันอีกประมาณ 5 นาที เพื่อให้น้ำมันดีเซลผสมกับน้ำมันปาล์มชนิดไม่อิ่มตัว (CPOL) ได้ดีขึ้น แล้วนำไปผ่านเครื่องกรองน้ำมันปาล์มขนาด 5 ไมครอน

ผลการทดสอบการใช้กับรถยนต์ที่ระยะทาง 1,500  กิโลเมตร พบว่า สามารถใช้งานได้ตามปกติ
Read more ...

ปาล์มน้ำมัน ที่กุดข้่าวปุ้น จ.อุบลราชธานี

3/4/54
โดยไทยทีวีทูเดย์ เมื่อ 26 ก.พ.2554

นายแหล่ คำพรม เจ้าของสวนปาล์มน้ำมัน ภาคอีสาน บ้านดงตาหวาน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี

บนพื้นที่ 32 ไร่ ปลูกมา 4 ปี ปีที่ห้าให้ผลผลิตทุกสิบห้าวัน ทำให้คุณภาพชีวิตของ คุณแหล่ คำพรม ดีขึ้นสามารถปลดหนี้ได้ในระยะสั้น ถือได้ว่านายแหล่ คำพรมน่าจะเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ไทยทูเดย์ทีวี สมควรนำเสนออย่างต่อเนื่อง

ซื้อต้นพันธ์มาราคา 85 บาท 
Read more ...