ระบบน้ำหยดแบบใช้ท่อจิ๋วเป็นหัวน้ำหยด ในการปลูกแตง

25/2/54
ระบบน้ำหยดแบบใช้ท่อจ๋ิวเป็นหัวน้ำหยด ในการปลูกแตง

ตามที่ลุงพูล เสนอมา

วิธีีการทำดังนี้

1.วางท่อย่อย(ท่อ PE ขนาด 20 มม.) ตามแนวหลุมแตง

2.ตัดท่อจิ๋ว(ท่อพีอี ขนาดรู 1-1.5 มม.) ยาว เส้นละ 30-50 ซม. เป็นหัวน้ำหยด

3.เจาะรูที่ท่อย่อย ตามระยะหลุมแตงที่ปลูก ขนาดพอเสียบท่อจิ๋วลงไปได้

4.เสียบท่อจิ๋วที่เตรียมไว้ ที่รูท่อย่อย

5.ใช้ฝาโค๊กเจาะรูเสียบปลายท่อจิ๋ว ใช้ลวดผูกฝาโค๊กเป็นขาปักลงดิน เพื่อ

บังคับให้ปลายหยดอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ

6.แหล่งน้ำ เพราะเป็นเรื่องทำให้น้ำรั่วจากท่อ ดังนั้นเราสามารถ นำถัง

ขนาด 100-200 ลิตร วางที่หัวแปลงสูงจากพื้นเพียง 1 ฟุต ก็พอ

ใส่น้ำตามที่ต้องการ

เมื่อเปิดประตูน้ำ น้ำจะรั่วออกตามรูท่อย่อย ไหลไปตามท่อจิ๋ว

ซึมลงดินที่โคนต้น น้ำจะไหลเป็นหยดจนหมดถัง ปรับให้น้ำหมดภายใน 4-6 ชั่วโมง

***ข้อสำคัญที่สุด คือ น้ำต้องไม่มีตะกอน มิฉะนั้นจะทำให้เกิดอุดตันที่ท่อจิ๋ว น้ำจะไม่ไหล****

***วิธีนี้เราสามารถละลายปุ๋ยปนลงไปกัยน้ำได้เลย***

รายละเอียดมีมากมาย สนใจถามได้ตลอดเวลา ภาพที่เห็นได้จากภาคปฏิบัติของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
Read more ...

การให้น้ำแบบเฉพาะจุด (LOCAUZE IRRIGATION)

25/2/54
การให้น้ำแบบเฉพาะจุด 

เป็นการให้น้ำแก่พืชที่จุดใด้จุดหนึ่งหรือหลายๆ จุดบนผิวดินหรือใน เขตรากพืช โดยอัตราของน้ำที่ให้นั้นไม่มากพอที่จุทำให้ดินในเขตรากพืชเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้าง ปกติแล้วผิวดินจะเปียกแต่ตรงจุดที่ให้น้ำเท่านั้นน้ำที่ให้แก่พืชอาจจุอยู่ในรูปของเม็ดน้ำเล็กๆ ซึ่งฉีดจากหัวฉีดขนาดเล็กที่ต้องการแรงดันไม่มากนัก เรียกว่า แบบมินิสปริงเกลอร์ หรือเป็นหยดน้ำเล็กๆ ที่ไหลจากหัวน้ำหยดหรือท่อพลาสติกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน ๑ ถึง ๒ มิลลิเมตร เรียกว่าแบบน้ำหยด 

หัวฉีดหรือท่อพลาสติกนี้จะวางในบริเวณโคนต้นพืช โดยมีท่อพลาสติกหรือสายยางขนาดใหญ่เป็นท่อจ่ายน้ำ ซึ่งนำน้ำจากท่อประธานอีกทีหนึ่ง จำนวนหัวฉีดหรือท่อพลาสติกจะขึ้นอยู่กับความต้องการน้ำ ของพืช และเนื่องจากจำนวนของท่อหรือหัวฉีดซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำมีขนาดเล็กมาก น้ำที่ใช้จึงต้องปราศ จากตะกอนที่มาอุดตันในท่อพลาสติกหรือหัวฉีด บางครั้งจะต้องให้น้ำผ่านเครื่องกรองตะกอนเสียก่อน

การเลือกใช้การให้น้ำแบบเฉพาะจุด
การให้น้ำแบบนี่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ที่มีน้อยอย่างจำกัดหรือมีราคาแพงมาก ดินที่เหมาะกับการให้น้ำแบบนี้ โดยเฉพาะน้ำหยดควรจะเป็นดินที่มีเนื้อละเอียดจนถึงค่อนข้าง หยาบ เพราะเป็นดินที่มีการไหลซึมทางด้านข้างที่ดี ดินที่มีความโปร่งมากจะทำให้ความชื้นในดิน แผ่นกระจายไปไม่ทั่วเขตรากพืช ถ้าเป็นดินที่มีการไหลซึมทางด้านข้างดีแล้วน้ำจะแผ่กระจายได้ดี ซึ่งเป็นผลให้สามารถลด จำนวนหัวจ่ายน้ำลงได้ เนื่องจากว่าการให้น้ำแบบนี้มีระยะการให้น้ำยาวนาน แต่ไม่ทำให้ดินเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้าง จึงเหมาะอย่างยิ่ง

สำหรับพืชที่มีรากตื้นและต้องการให้ดินมีความชื้นสูงอยู่แบบนี้ใช้ได้ดีกับพืช ยืนต้นเหมือนกัน แต่เนื่องจากการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่จึงเลือกใช้กับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น ไม้ผลต่าง ๆ เป็นต้น
อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบการให้น้ำแบบเฉพาะจุด คือ
๑. เครื่องสูบน้ำ (Pumping Unit) 

จะทำหน้าที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำและเพิ่มความดันของน้ำ แล้วส่งไปตามท่อจ่ายน้ำ เครื่องสูบน้ำอาจจะเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้
๒. เครื่องกรองน้ำ (Filter) 

จะทำหน้าที่กรองเอาเศษวัชพืช ใบไม้เมล็ดพืชและทราย ออกจากน้ำ ถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ผ่านไปจะทำให้หัวจ่ายน้ำเกิดการอุดตัน เป็นสาเหตุให้ต้นไม้ขาดน้ำเกิดชะงักการเจริญเติบโตถ้าเกิดขึ้นในช่วงที่ออกดอกหรือการให้ผลจะ ทำให้ดอกหรือผลร่วงเกิดความเสียหาย
๓. หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Unit) 

ทำหน้าที่จ่ายน้ำในลักษณะหยดหรือฉีดออกมาเป็นฝอยละออง
๔. ท่อประธาน (Mainline Pipe Unit) 

ทำหน้าที่ส่งน้ำจากเครื่อง-สูบน้ำไปสูบท่อแยก ท่อประธานอาจจะเป็นท่อพลาสติกหรือท่อโลหะก็ได้
๕. ท่อย่อย (Lateral Pipe Unit) 

ทำหน้าที่จ่ายน้ำจากท่อประธานให้กับหัวจ่ายน้ำ ท่อย่อยอาจจะเป็นชนิดเดียวกับท่อประธานแต่มีขนาดเล็กกว่าและมีอุปกรณ์หัวจ่ายติดตั้งบนท่อ เพื่อจ่ายน้ำให้กับต้นพืช

ข้อดีของระบบการให้น้ำแบบเฉพาะจุด
๑. ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก เพราะว่าสามารถควบคุมน้ำได้ทุกขั้นตอน และมีการสูญเสีย โดยการระเหยน้อย
๒. ค่าใช้จ่ายในการให้น้ำน้อยเพราะไม่ต้องใช้แรงงานในการให้น้ำมาก
๓. สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ แก่พืชพร้อมๆ กับการให้น้ำได้ด้วย ดดยการผสมปุ๋ยหรือ สารเคมีเข้ากับน้ำทางท่อดูดของเครื่องสูบน้ำเข้าไปในระบบ
๔. ไม่มีปัญหาโรคพืชหรือแมลงที่เกี่ยวเนื่องจากการเปียกชื้นของใบ
๕. ลดปัญหาของการแพร่กระจายของวัชพืชเนื่องจากน้ำที่ให้พืชจะเปียกผิวดินเป็นบริเวณแคบๆ เท่านั้น
๖. ไม่มีปัญหาเรื่องลมแรงที่จะพัดพาน้ำไปตกที่อื่น
๗. ไม่ต้องใช้ระบบส่งน้ำขนาดใหญ่หรือเครื่องสูบน้ำที่มีแรงดันสูง
๘. เนื่องการให้ปุ๋ยและสารเคมีโดยการผสมลงไปกับน้ำ ดังนั้นค่าใช้จ่ายสำหรับปุ๋ยและสารเคมี ก็จะลดลงด้วย
๙. ระบบกาครให้น้ำแบบน้ำจะมีระยเวลาการใช้งานที่ยาวนานยกเว้นเรื่องการอุดตันของหัวจ่าย น้ำ
๑๐. สามารถทำการติดตั้งการให้น้ำแบบอัตโนมัติได้ไม่ยาก เช่น ให้น้ำตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ หรือให้น้ำเมื่อความชื้นของดินในเขตราบลดลงถึงระดับหนึ่งเป็นต้น
๑๑. ไม่มีปัญหาเรื่องอัตราการซึมของน้ำเข้าไปในดิน เพราะอัตราการให้น้ำจะไม่มากพอที่จะ ทำให้ดินเปียกชุ่มเป็นบริเวณกว้างอยู่แล้ว
๑๒. เนื่องจากปริมาณน้ำที่ให้และที่สูญเสียไปโดยการระเหยน้อยดังนั้นการสะสมของเกลือที่ ติดมากับน้ำในเขตรากพืชจึงไม่มาก
ข้อเสียของระบบการให้น้ำแบบเฉพาะจุด
๑. มีปัญหาเรื่องอุดตันที่หัวจ่ายน้ำมากเนื่องมาจากตะกอนทรายตะไคร่น้ำ หรือเนื่องมาจากการ สะสมตัวของสารเคมีในน้ำ
๒. เนื่องจากบริเวณที่เปียกชื้นไม่กว้างขวางนัก ความเข้มข้นของเกลือซึ่งมักจะเกิดขึ้นในบริเวณ รอบนอกของส่วนที่เปียกชื้นจึงมักจะสูงและอาจจะเป็นอันตรายต่อพืชได้
๓. สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ แก่พืชพร้อมๆ กับการให้น้ำได้ด้วย โดยการผสมปุ๋ยหรือ เคมีเข้ากับน้ำทางท่อดูดของเครื่องสูบน้ำเข้าไปในระบบ
๔. ค่าลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูงเพราะจะต้องมีอุปกรณ์หลายอย่าง
การที่จะพิจารณาที่นำระบบการให้น้ำแบบประหยัดมาใช้ ควรจะมีการพิจารณาดังนี้
๑. เมื่อมีการให้น้ำแล้ว ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดคุ้มค่า หรือไม่
๒. ราคาของผลผลิตนั้นคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไปหรือไม่กับการที่จะลงทุนติดตั้งระบบการ ให้น้ำพืช
๓. จะต้องแน่ใจแล้วว่า แหล่งน้ำที่มีอยู่นั้นมีเพียงพอกับการให้น้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
ถ้าเกษตรกรท่านใดยังมีข้อสงสัยหรือมีความสนใจให้ติดต่อมายัง 

กลุ่มงานจักรกล การเกษตร สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต 
กรมส่งเสริมการเกษตร บางเขน กทม. ๑๐๙๐๐ 
โทร ๕๗๙๓๙๑๖, ๕๗๙๑๔๐๔
ศึกษาเพิ่มเติมที่เวปhttp://www.doae.go.th/library/html/detail/KUmagazine/february_44/upakon/water.htm
Read more ...

เทคโนโลยีระบบน้ำหยด

25/2/54
ระบบน้ำหยด เป็นเทคโนโลยีการชลประทานวิธีหนึ่งในหลายวิธี เป็นการให้น้ำแก่พืช โดยการส่งน้ำผ่านระบบท่อและปล่อยน้ำออกทางหัวน้ำหยด ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นพืช น้ำจะหยดซึมลงมาบริเวณรากช้า ๆ สม่ำเสมอในอัตรา 4-20 ลิตร ต่อชั่วโมง ที่แรงดัน 5-25 PSI ขึ้นอยู่กับระบบ ชนิดพืช ขนาดพื้นที่ และชนิดของดิน ทำให้ดินมีความชื้นคงที่ในระดับที่พืชต้องการและเหมาะสมตลอดเวลา ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ444

ข้อดีของน้ำหยดมีหลายประการ

1. ประหยัดน้ำมากกว่าทุก ๆ วิธี ไม่ว่ารดด้วยมือหรือใช้สปริงเกลอร์ หรือวิธีอื่นใดก็ตามและแก้ปัญหาภาวะวิกฤตการขาดแคลนน้ำในบางฤดูซึ่งเริ่มเกิดขึ้นในปัจจุบัน

2. ประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการ กล่าวคือ ลงทุนครั้งเดียวแต่ให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ยุ่งยาก ติดตั้งครั้งเดียวและใช้งานได้ตลอดอายุ สามารถควบคุมการ เปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ manual และ automatic หรือ micro controler โดยเฉพาะระบบตั้งเวลาและตรวจจับความชื้นทำให้ประหยัดค่าแรง มีรายงานการใช้แรงงานดูแลและบำรุงรักษาระบบในแปลงองุ่นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ พบว่า ใช้แรงงาน 1 แรง ต่อพื้นที่ 50 เอเคอร์ (100 ไร่) ต่อวัน

3. ใช้ได้กับพื้นที่ทุกประเภทไม่ว่าดินร่วน ดินทราย หรือดินเหนียว รวมทั้งดินเค็มและดินด่าง น้ำหยดและไม่ละลายเกลือมาตกค้างอยู่ที่ผิวดินบน

4. สามารถใช้กับพืชประเภทต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด ยกเว้นพืชที่ต้องการน้ำขัง

5. เหมาะสำหรับพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ต้องการใช้น้ำอย่างประหยัด

6. ให้ประสิทธิภาพในการใช้น้ำสูงที่สุด 75-95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด และเมื่อเทียบกับการปล่อยน้ำท่วมขัง มีประสิทธิภาพเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ในระบบสปริงเกลอร์ แบบติดตายตัวมีประสิทธิภาพ 70-80 เปอร์เซ็นต์ และในระบบสปริงเกลอร์แบบเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพ 65-75 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำอย่างอื่นได้เต็มที่ ไปพร้อม ๆ กับการใช้น้ำ

7. ประหยัดเวลาทำงาน ไม่ต้องคอยเฝ้า ใช้เวลาไปทำงานอย่างอื่นได้เต็มที่ไปพร้อม ๆ กับการให้น้ำ

8. ลดการระบาดของศัตรูพืชบางชนิดได้ดี เช่น โรคพืช และวัชพืช

9. ได้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ระบบชลประทานแบบอื่น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ประหยัดต้นทุนน้ำ ทำให้มีกำไรสูงกว่า

10. ระบบน้ำหยด สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่นละลายไปกับน้ำพร้อม ๆ กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาใส่ปุ๋ย พ่นยาอีก ทั้งนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย (injector) เข้ากับระบบ

ระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับเกษตรไทยจึงมีข้อจำกัดอยู่

ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะแรก การติดตั้งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และเกษตรกรจะต้องมีความรู้ปริมาณการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดที่ปลูก เช่น มะเขือเทศ ต้องการปริมาณน้ำประมาณ 40 มิลลิเมตร/ไร่/วัน หรือประมาณ 1.5 ลิตร/ต้น/วัน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรต้องมีการค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบติดตั้ง และบริหารระบบ จะต้องคำนึงถึงการจัดการระบบ เช่น ระยะเวลาให้น้ำ การใช้ปุ๋ย ชนิดปุ๋ย ตลอดจนต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ พืชจึงจะได้ปุ๋ย หรือสารเคมี ใช้อย่างพอทุกช่วงการเจริญเติบโต

การบริหารระบบน้ำหยดให้ได้ผลสูงสุด มี 3 ประการ

1. การให้น้ำปริมาณที่เหมาะสม กับความต้องการของพืชแต่ละชนิด

2. การให้ปุ๋ยปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะละลายผ่านเข้าสู่ระบบ

3. การวางแผนการบำรุงรักษาระบบ

อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยด คืออะไร

อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพิ่มเติม จุดหนึ่งของระบบน้ำหยด ทำหน้าที่ช่วยดูดสารละลายปุ๋ยเข้าสู่ระบบ น้ำกับปุ๋ยจะละลายปนกันไปจ่ายออกทางหัวน้ำหยด ปัจจุบันอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยที่มีจำหน่ายเป็นของต่างประเทศ นำเข้ามาใช้กันอยู่บ้างแต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากมีราคาแพงมาก ซึ่งถ้าเป็นเกษตรกรรายย่อยทั่วไป ไม่สามารถหาซื้อมาใช้ในการเพาะปลูกเพราะไม่เหมาะกับการลงทุนและมีข้อจำกัดบางประการ โดยเฉพาะถ้ามีการอุดตันในช่องดูดปุ๋ยจะทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากช่องดูดปุ๋ยมีลักษณะเป็นช่องแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบ ๆ นอกจากนี้การผลิต ต้องใช้ระบบการหลอมและขึ้นรูปพลาสติกในระบบโรงงานเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้วัสดุและภูมิปัญญาในท้องถิ่นทำได้ หรือถ้าทำได้ก็ต้องออกแบบใหม่หรือทำเลียนแบบ ซึ่งอาจมีความผิด ฐานละเมิดสิทธิบัตร

วัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์อุปกรณ์จ่ายปุ๋ย ในระบบน้ำหยดในครั้งนี้ นอกจากเพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสได้ใช้ของมีราคาถูก โดยได้ออกแบบและประดิษฐ์ไม่ซ้ำแบบของต่างประเทศในขนาดเดียวกัน พบว่ามีราคาถูกกว่าของต่างประเทศกว่า 10 เท่าตัว มีประสิทธิภาพการใช้งานดีกว่าคือ อุดตันได้ยากกว่า แต่ใช้หลักการทำงานแบบเดียวกัน กล่าวคือ เป็นระบบ venturi tube ซึ่งง่ายต่อการติดตั้งและใช้งานโดยเฉพาะอุปกรณ์นี้ สามารถผลิตได้โดยใช้วัสดุและเครื่องมืออุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือสามารถหลอมขึ้นรูปพลาสติกให้เป็นชิ้นเดียวกันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางก็ได้ ซึ่งราคาไม่รวมเครื่องปั๊มน้ำ ประมาณไม่เกิน 100 บาท หรือแพงกว่านี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้

ลักษณะทั่วไปของอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยดที่ประดิษฐ์ มีลักษณะที่เป็นท่อ 2 ส่วน คือท่อหลักกับท่อแยก ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้เชื่อมต่อกันตรงกลางคล้ายท่อสามทาง

ท่อหลัก มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลวงใน บริเวณตอนกลางท่อภายในจะมีผนังหนาและมีรูคอคอดขนาดเล็กทะลุถึงกัน ผนังคอคอดด้านเข้า มีลักษณะเป็นกรวยสอบเข้าหารู ส่วนทางด้านน้ำออกผนังภายในตัดตรงตั้งฉากกับผิวเท่ารูคอคอด มีลักษณะเป็นรูกลม ขนาดเท่ากันตลอด

ส่วนที่ 2 คือ ท่อแยก เป็นท่อสั้นและมีขนาดเล็กกว่าท่อหลัก วางตั้งฉากติดกับท่อหลัก ภายในมีรูคอคอดเช่นกัน จุดเชื่อมของรูคอคอดภายในระหว่าง 2 ท่อนี้ ทำมุม a ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของท่อแยกนี้ใช้ต่อกับท่อพลาสติก ทำหน้าที่ดูดสารละลายปุ๋ยเข้าไป ในรูคอคอดของท่อหลักผสมกับน้ำส่งออกไปยังหัวน้ำหยดต่อไป

หลักการทำงานของอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย

การให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยด โดยใช้อุปกรณ์จ่ายปุ๋ย มีหน้าที่ดูดปุ๋ยที่เป็นสารละลายเข้าไปในระบบท่อโดยไม่ต้องใช้ปั๊มเครื่องยนต์กลไกที่เคลื่อนไหวจากไฟฟ้าหรือน้ำมันให้สิ้นเปลือง แต่เป็นการใช้พลังงานจากมวลและความเร็วของน้ำที่อยู่ในท่อนั่นเอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ของธรรมชาติที่มีทั้งพลังงานศักย์ พลังงานจลน์ และแรงดันของน้ำภายในท่ออุปกรณ์จ่ายปุ๋ยระบบน้ำหยด ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ ประเภทท่อที่มีช่องคอคอด ซึ่งไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว และประเภทที่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวคือ มีลูกสูบเคลื่อนที่ด้วยพลังน้ำ หรือเป็นชนิดใช้ไฟฟ้า สำหรับประเภท venturi tube ทำงานโดยอาศัยหลักการของ Daniel Bernoulli ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ตั้ง โดยให้นิยามว่า เมื่อของเหลวหรือก๊าซ เคลื่อนที่เร็วขึ้นความดันจะลดลง หรือเมื่อความเร็วลดลงความดันของมันจะเพิ่มขึ้น ผลงานของ Bernoulli ที่นำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ระบบคาร์บูเรเตอร์ในรถยนต์ ระบบปั๊มสุญญากาศ ระบบลูกยางสเปรย์น้ำหอม และระบบท่อ venturi ของเครื่องจ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยด เป็นต้น

การติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย

เนื่องจากอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย venturi มีลักษณะเป็นท่อ คล้ายข้อต่อสามทางในระบบท่อชนิดโลหะหรือ ท่อ PVC ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในแปลงเกษตร เพียงแต่เลือกใช้ข้อต่อระหว่างสองปลายให้เหมาะสมกับรุ่น กล่าวคือ ใช้ข้อต่อชนิดเกลียวนอก เกลียวใน หรือเป็นหน้าแปลนยึดด้วยตัวสลักเกลียวเหมือนการต่อท่อตามปกติเพียงแต่เพิ่มข้องอเพื่อต่อเป็นท่อแยกขนานออกมาต่างหาก ติดตั้งวาล์วควบคุมการไหลของน้ำผ่านอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยโดยใช้ประตูน้ำที่ท่อแยก 2 ตัว และที่ท่อส่งน้ำหลัก 1 ตัว อุปกรณ์จ่ายปุ๋ยควรติดตั้งให้อยู่ระดับความสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร มีบริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งเพียงพอสำหรับวางทับหรือภาชนะใส่สารละลายปุ๋ย และสะดวกต่อการใช้ท่อยางสำหรับดูดปุ๋ยจุ่มแช่ในภาชนะ

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยในระบบน้ำหยดเป็นเทคโนโลยีการให้น้ำพืชแบบใหม่ กล่าวคือ เมื่อติดตั้งระบบน้ำหยดแล้วควรเพิ่มอุปกรณ์จ่ายปุ๋ยเข้าไปด้วย จึงถือว่าครบระบบ

ประโยชน์ของอุปกรณ์จ่ายปุ๋ย

1. การให้ปุ๋ยไปพร้อม ๆ กันกับน้ำหยดจะทำให้พืชเจริญเติบโตสม่ำเสมอ และควบคุมการให้ผลผลิตนอกฤดูกาลได้

2. ประหยัดปุ๋ยกว่าวิธีอื่น เพราะมีการคำนวณหาค่าความเข้มข้น ค่าเฉลี่ย/ต้น/ปริมาณน้ำ พืชจะได้รับปุ๋ยและน้ำพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป ไม่เกิดการสูญเสีย

3. พืชจะได้รับอาหารและแร่ธาตุสม่ำเสมอตามความต้องการในแต่ละช่วงอายุ ที่ละลายน้ำ พืชดูดไปใช้ได้ทันที

4. ประหยัดแรงงานในการให้ปุ๋ย ขนปุ๋ย หว่านปุ๋ย และใช้ได้สะดวกแม้อยู่ในหน้าฝน

5. สามารถให้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาหารเสริมต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยชีวภาพ ชนิดน้ำเข้าในระบบได้อย่างสะดวก

6. ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการระบาดของโรคพืช วัชพืช ลดต้นทุน ลดการปนเปื้อนของสารเคมี

รับปรึกษาการวางระบบน้ำหยดฟรี ติดต่อคุณอำนวย โทร.089-1777260
Read more ...

การอบรมออกแบบระบบน้ำหยดสำหรับสวนขนาดเล็ก ที่ราชมงคล ธัญบุรี

25/2/54
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

จัดอบรมโครงการบริหารวิชาการ

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมฟรี

1.โครงการออกแบบระบบน้ำหยดสำหรับสวนขนาดเล็ก วันที่ 27 มีนาคม 2554

2.โครงการการทำน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ (EM) วันที่ 20 เมษายน 2554

ท่านผู้สนใจสามารถติดต่อลงทะเบียนได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์

โทร 02-5493579-80 FAX ; 02-5493581

* หมายเหตุ เข้ารับการฝึกอบรมฟรีทุกโครงการ รับจำนวนจำกัด *
Read more ...

ระบบน้ำหยดแบบอิสราเอล

25/2/54
Read more ...

ระบบน้ำหยดสวนกาแฟ

25/2/54
เมื่อปี 2550

ต้นทุนม้วนละ 2500 บาท:100 เมตร 

หัวน้ำหยดประมาณ 3 บาท 

ตกไร่ละไม่เกิน 4-5000 บาทเท่านั้น

หัวน้ำหยดนี่สามารถปรับระดับการใช้น้ำได้ตามความต้องการ จะปรับให้หยดบ่อยหรือนานๆ หยดทีก็แค่หมุนที่จานเท่านั้น

ที่เรายกท่อน้ำเหนือพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง แทนที่จะวางราบไปกับพื้นดิน ก็เพื่อป้องกันปัญหาท่อเสียหายเวลาตัดหญ้าไงครับ

อายุการใช้งานน่าจะประมาณ 4-5 ปีเท่านั้น 

แต่สามารถประหยัดน้ำ และต้นทุนทั้งค่าของค่าแรงมากทีเดียว

เวลาที่ทรงพุ่มขยายขึ้นเมื่อต้นกาแฟมีอายุมากขึ้น ก็เพียงแค่เพิ่มหัวจ่ายน้ำเท่านั้น
Read more ...

การศึกษาผลการให้น้ำระบบน้ำหยด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของคะน้ายอด

25/2/54
การศึกษาระบบน้ำหยด เปรียบเทียบอัตราการไหลของหัวหยด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ของคะน้ายอด โดยวิธีการให้น้ำ ในอัตราต่างกัน 4 วิธีกาาร คือ

วิธีการที่ 1 (tr1) รดน้ำด้วยบัว 2 บัวต่อแปลงต่อวัน


วิธีการที่ 2 (tr2) อัตราการไหลของหัวหยด 2 ลิตรต่อวันต่อต้น


วิธีการที่ 3 (tr3) อัตราการไหลของหัวหยด 3 ลิตรต่อวันต่อต้น


วิธีการที่ 4 (tr4) อัตราการไหลของหัวหยด 4 ลิตรต่อวันต่อต้น

โดยทำการทดลองแบบ RCB (Randomized complete Block Design) เริ่มจากการเพาะเมล็ด ในแปลงทดลอง พร้อมๆกับการติดตั้ง ระบบน้ำหยด เพื่อให้น้ำ โดยระบบน้ำหยดในอัตราต่างๆกัน แล้วทำการวัดผลทุก 7 วัน จนครบ 7 ครั้ง รวมเวลาในการทดลอง 49 วัน

ที่แปลงทดลอง ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากการทดลองพบว่า อัตรากาารไหลของหัวหยด ในระบบน้ำหยด ที่มีผลต่อ การเจริญเติบโตของคะน้า ที่ดีที่สุด คือ หัวหยดที่มีอัตราการไหล ของน้ำ 4 ลิตรต่อวันต่อต้น โดยให้ผลตอบสนอง คิดเป็นค่าเฉลี่ย ในด้านความสูงของต้นเท่ากับ 14.20 เซนติเมตร จำนวนใบเท่ากับ 7.23 ใบ น้ำหนักสดเท่ากับ 154.95 กรัม และน้ำหนักแห้งเท่ากับ 13.65 กรัม

ส่วนทางด้านขนาดใบที่ 1 และขนาดใบที่ 3 ได้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 55.21 และ 119.61 ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 60.51 (tr3) และ 128.87 (tr1) ตารางเซนติเมตร ตามลำดับ

สำหรับทางด้านขนาดใบที่ 2 ได้ค่าเฉลี่ยจัดอยู่ใน อันดับที่ 3 คือเท่ากับ 97.56 ตารางเซนติเมตร

เมื่อเปรียบเทียบ กับค่าเฉลี่ยสูงสุด 105.02 ตารางเซนติเมตร (tr2) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด 94.38 ตารางเซนติเมตร (tr3) และสำหรับปริมาณไนโตรเจน วิธีการนี้ให้ค่าเฉลี่ย อยู่ในอันดับที่ 2 รองจากวิธีการที่ 3 คือ ให้ค่าเฉลี่ย 0.31 เปอร์เซนต์

ขณะที่วิธีการที่ 3 ให้ค่าเฉลี่ย 0.32 เปอร์เซนต์ แต่ไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ไม่ว่าจะเป็นขนาดใบ ที่ 1, 2 และ 3 หรือปริมาณไนโตรเจน ในคะน้า

ดังนั้นอัตราการไหลของหัวหยด ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของคะน้า คือ 4 ลิตร ต่อวันต่อต้น
Read more ...

ความจริงของการดูแลจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

23/2/54
เมื่อ 22 ก.พ.2554

เมื่อกล่าวถึงปาล์มน้ำมันเกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับพันธุ์ปาล์มน้ำมันมากกว่าการจัดการสวน พื้นปลูก มุ่งเน้นไปที่พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไร เมื่อปลูกแล้วไม่เคยเอาใจใส่หรือเข้าสวนเลยสักครั้ง ลองคิดดูแล้วกันว่าจะได้ผลดีหรือไม่ ความเป็นจริงของการดูแลจัดการสวนปาล์มน้ำมันนั้นเริ่มตั้งแต่ก่อนลงมือปลูกด้วยซ้ำ ซึ่งพอกล่าวได้ต่อไปนี้

1. ปรับสภาพพื้นที่ให้พร้อมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน กล่าวหยาบๆ คือทำไงก็ได้ให้ระดับน้ำต่ำกว่าระดับผิวดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แต่ไม่ควรเกิน 1 เมตร

2. วางระยะปลูกให้เหมาะสม ทุกวันนี้แนะนำส่งเสริมกันอย่างตะพึดตะพือว่า ระหว่างต้นต้อง 9 เมตร บางที่น้อยกว่า 9 เมตรด้วยซ้ำ เท่าที่ลงแปลงส่งเสริมแนะนำเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันในหลายพื้นที่พบว่ามีปัญหาดังกล่าวทุกสายพันธุ์ เนื่องจากระยะห่างน้อยเกินไปทำให้ทางใบสานกัน ต้นสูงเร็วเกินไป ส่งผลให้ผลิตน้อยกว่าปกติ กระทั่งปาล์มทางสั้นที่แนะนำให้ปลูกใน 9 เมตรก็ตาม อย่าลืมว่าปาล์มน้ำมันที่เจริญเติบโตเต็มที่ ทางใบยาวเต็มที่ ทะลายใหญ่เต็มที่ อย่างเร็วปลูกไปแล้ว 6 ปี ปัญหาก็คือ 4 ปีแรก ทางใบจะดูสั้นๆ ซึ่งจะเกิดกับทุกพันธุ์กว่าจะรู้ตัวว่าปลูกชิดก็เข้าปีที่ 6 ยิ่งเกษตรกรเจ้าของสวนไม่เอาใจใส่ยิ่งไม่มีทางรู้เลย ระยะเวลา 9 -10 ปีแทบไม่มีทะลายให้เชยชมเลย นี่คือความเป็นจริงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยที่ไม่มีใครกล่าวถึง

อยากแนะนำว่าควรปลูกระยะที่ 10เมตร ดินดีอาจต้องเพิ่มระยะห่างออกไปถึง 13 เมตร เคยมีบางหน่วยงานบางบริษัททดลองปลูกปาล์มในระยะ 9 เมตร เทียบกับกับระยะ 10 เมตร ในสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน ดูแลจัดการเหมือนกัน อายุปาล์ม 6 ปีขึ้นไป เนื้อที่ปลูกเท่ากันตัดผลผลิตได้เท่ากัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ระยะปลูก 10 เมตร ใส่ปุ๋ยต่อไร่น้อยกว่า ดูแลต้นน้อยกว่า แต่งทางน้อยกว่า และเมื่อต้นปาล์มอายุ 10 ปีนับจากวันลงปลูก ส่วนสูงต่างกัน ประมาณ 1-1.5 เมตร นั่นแปลว่าแปลงที่ปลูกระยะ 9 เมตร ต้องโค่นก่อนแน่นอน

3. การปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสม มีชีวิตมีจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ปุ๋ยคอก(มูลโค มูลไก่ มูลสุกร) หรือปุ๋ยหมักร่วมกับพูมิชซัลเฟอร์ เนื่องจากเป็นหินแร่ภูเขาไฟ มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช สามารถปลดปล่อย เคลื่อนย้าย เพิ่มธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ให้ต้นพืชได้อย่างสมดุล ซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืชต่างๆ ต่อไปนี้

- ซิลิซิค แอซิค ( H4SiO4) : ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่เซลล์พืช ลดการเข้าทำลายของแมลง ไร รา ศัตรูโรค * หากกรณีใส่ทางดิน ช่วยเพิ่มซิลิก้าในดิน ตรึงสารพิษไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช และช่วยอุ้มน้ำป้องกันดินแห้ง

- แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 ) : ช่วยในการแบ่งเซลล์ที่ปลายรากและยอด ช่วยสร้างโครงสร้างของโครโมโซม ช่วยในการทำงานของเอนไซม์และธาตุบางธาตุ ช่วยลดความเป็นพิษจากสารพิษต่าง ๆ ช่วยในการงอกและการเจริญเติบโตของละอองเกสรตัวผู้ (pollen)

- แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3 ) : เป็นสารประกอบของคลอโรฟิลล์ เอนไซม์ ช่วยสร้างเม็ดสี (pigments) และสารสีเขียว ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืชร่วมกับกำมะถันในการสังเคราะห์น้ำมัน ดูดซับฟอสฟอรัสและควบคุมปริมาณแคลเซียมในพืช

- ฟอสฟอริก แอซิค ( H2PO4- ): ช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างแป้งน้ำตาล ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากทำให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่ายและต้านทานโรค ช่วยให้พืชแก่เร็ว ช่วยในการสร้างดอกและเมล็ด และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน โพแทสเซียมและโมลิบดินัมได้ดีขึ้น

- ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน (So42- ) : ช่วยการเจริญเติบโตของราก เป็นส่วนประกอบของสารประกอบหลายชนิดเช่น วิตามินบี 1 และ บี 3 กรดอะมิโน ช่วยสร้างคลอโรฟีลล์ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพิ่มไขมันในพืชและควบคุมการทำงานของแคลเซียม

- เหล็ก (Fe): เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์สำหรับสร้างคลอโรฟิลล์และ Cytochrome ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการหายใจ สร้างโปรตีนและดูดซับธาตุอาหารอื่น

- สังกะสี (Zn) : ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน คลอโรฟีลล์และฮอร์โมน IAA (Indole Acetic Acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ เอนไซม์ ช่วยให้การทำงานของฟอสฟอรัสและไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น ช่วยให้พืชเจริญเติบโตเป็นปกติ สมบูรณ์เพศและมีส่งผลต่อการสุกแก่ของพืช

ข้อดีที่กล่าวนี้ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจถามหานำไปใช้เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ปรับค่า pH ในดิน ช่วยสร้างเพิ่มจุลินทรีย์ในดินพร้อมๆ ส่วนการเพิ่มธาตุอาหารหลักอย่าง N P K ยังคงต้องพึ่งปุ๋ยเคมีเป็นหลัก เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ลูกมาก ใครคิดจะใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกล้วนๆ จะต้องใส่ต้นละประมาณ 1 ตัน/ปี กันเลยจึงจะเพียงพอ ลองคิดดูแล้วกันว่าต้นทุนจะสูงขนาดไหน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกสักทีเดียว นั้นคือใช้พูมิชซัลเฟอร์ที่ว่าผสมปุ๋ยเคมี (1 : 1) ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก (1 : 2) ผสมเป็นปุ๋ยละลายช้า

4. การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง ถูกสัดส่วน ถูกเวลา และถูกที่ กระทำได้ต่อไปนี้

- ถูกต้อง นั่นคือแบ่งใส่น้อยแต่บ่อยครั้งดีกว่านาน ๆใส่ครั้งแต่ใส่หนักมือ

- ถูกสัดส่วน พืชทุกชนิดต้องการธาตุอาหารหลัก คือไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) โดยในสัดส่วนของ N:P:K ที่ไม่เท่ากัน สำหรับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วต้องการในสัดส่วนประมาณ2:1:4 ถึง 3:1:7 ขึ้นกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ

- ถูกเวลา กล่าวคือช่วงหน้าแล้งหรือฝนตกหนัก ห้ามใส่ปุ๋ยเด็ดขาด ให้ใส่ช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ มีฝนตกประราย

- ถูกที่ การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน คือแรกปลูกใส่ห่างจากโคนประมาณ 1 คืบ เมื่อแตกพุ่มแล้ว ให้ใส่ราวช่วงระยะ 1 ใน 3 จากปลายใบเข้าไป ไม่ว่าจะปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพราะนั่นเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด ยกเว้น โบรอนพืชให้ใส่ตามเงาปลายใบ อย่าใส่ที่โคนหรือกาบใบเป็นอันขาด

5. การแต่งทางใบให้จำง่ายๆ ว่าปลูกไปแล้วอย่างน้อย 36 เดือน จึงจะเริ่มแต่งทางใบได้ หลักเกณฑ์ง่ายๆ คือทะลายล่างสุดต้องมีทางเหลืออยู่ 2 ชั้น ภาษาสวนปาล์มเรียก ทางเลี้ยง(ทางใบที่ติดกับทะลายกับทางรับ ถ้าแต่งมากกว่านี้จะทำให้ต้นปาล์มจะโทรม ส่วนปาล์มที่ใช้เคียวจึงจะแต่งเหลือแค่ทางเลี้ยงอย่างเดียว

6. การใช้สารกำจัดวัชพืชในสวนปาล์ม ควรหลีกเลี่ยงเคมีประเภทดูดซึมเด็ดขาดหรือเลิกใช้เคมีได้ก็จะเป็นเรื่องดี ซึ่งจะส่งผลโดยตรงทำให้ต้นปาล์มจะชะงักการเจริญเติบโต

ให้พึงระลึกเสมอว่าการดูแลจัดการสวนมีความสำคัญ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว จะทำให้ดีหรือเลวสุดๆก็ยังได้ อย่าเชื่อคำโฆษณา ผลงานในแปลงปลูกเป็นตัวประจานเจ้าของและสายพันธุ์ปาล์ม พี่น้องเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหาซื้อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร. 02-9861680 -2 หรือคุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ) โทร. 081-3983128

เขียนและรายงานโดย : คุณเอกรินทร์ ช่วยชู (นักวิชาการชมรมฯ)
Read more ...

การจัดการสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำ (อาศัยน้ำฝน)

23/2/54
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มได้ตลอดปี เริ่มตั้งแต่อายุได้ประมาณ 3 ปี หลังปลูก โดยเฉลี่ยแต่ละต้นควรจะให้ผลผลิตอย่างน้อย 1 ทะลายต่อเดือน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 25 ปี 

รากเป็นแบบรากฝอย รากที่สามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้มากอยู่ที่ความลึกประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร จากผิวดิน

ลำต้นของปาล์มจะสูงขึ้นปีละ 50- 60 เซนติเมตร ใบ ประกอบด้วยแกนทางใบ ก้านใบ และใบย่อย ทางใบของปาล์มจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น 

ช่อดอกปาล์มน้ำมัน เกิดจากตาดอกที่ออกจากซอกทางใบที่ติดกับต้น ตาดอกอาจพัฒนาเป็นช่อดอกตัวเมียหรือดอกตัวผู้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นปาล์ม ทั้งช่อดอกตัวเมียและช่อดอกตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน

การพัฒนาของช่อดอก ตั้งแต่ระยะตาดอกที่อยู่ในซอกทางใบ จนถึงระยะเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มใช้ระยะเวลานาน 44 เดือน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดเพศของช่อดอก คือ ความสมบูรณ์ของต้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการสวน 

ต้นปาล์มที่สมบูรณ์จะให้ดอกเพศเมียมากกว่าเพศผู้ ซึ่งหมายถึงทะลายปาล์ม ปาล์มที่ไม่สมบูรณ์จะให้ดอกเพศผู้มาก เนื่องจากอาหารไม่พอเลี้ยง

เดือนที่ 1 – 38 ตาดอกอยู่ในลำต้น

เดือนที่ 39 – 44 ดอกบานอยู่นอกลำต้น

ผลและเมล็ด หลังจากช่อดอกตัวเมียได้รับการผสมแล้วประมาณ 6 เดือน ปาล์มจะสุก ขนาดของทะลายปาล์มประมาณ 10 - 30 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และความสมบูรณ์ของต้นปาล์ม ปาล์มที่สมบูรณ์ขนาดทางใบจะใหญ่และยาว ทะลายก็จะใหญ่ตามไปด้วย ปาล์มที่ไม่สมบูรณ์ทางใบจะเล็ก ทะลายจะเล็กตามไปด้วย

เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ซึ่งจะมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้า ช่วงแล้งติดต่อกัน 3 เดือน เราจัดการอย่างไรกับสวนปาล์มที่ไม่มีระบบน้ำ เพื่อให้ต้นปาล์มมีความสมบูรณ์หรือกระทบกับความแห้งแล้งน้อยที่สุด ผู้เขียนขอแนะนำพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มดังนี้

1. รีบใส่ปุ๋ยก่อนถึงช่วงแล้ง ประมาณเดือน พฤศจิกายน – มกราคม

2. ไม่กำจัดวัชพืชในช่วงหน้าแล้ง ปล่อยให้วัชพืชคลุมดิน เพื่อเก็บความชื้นและรากของวัชพืชยึดดินไม่ให้แตกระแหง หากวัชพืชมีมากเกินไปให้ใช้วิธีตัด อย่างใช้ยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด

3. ทางใบให้นำไปวางเรียงไว้ระหว่างแถวเว้นแถว เพื่อใช้คลุมดินและลำเลียงผลผลิต

4. รีบใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ทันทีหลังจากที่ฝนเริ่มตก ประมาณเดือนพฤษภาคม

5. หากสวนปาล์มเกิดผลกระทบจากความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอก่อน เช่น 15 – 15 – 15 , 19 – 19 - 19 เพื่อเร่งให้ทุกส่วนของปาล์มน้ำมันมีความสมบูรณ์เร็วขึ้น

หลังจากนั้นตามด้วย 0-0-60 เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นเช่นเดิมปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอตลอดทั้งปีนั้น ต้นปาล์มจะต้องมีความสมบูรณ์ ต้นปาล์มที่สมบูรณ์ จะต้องได้รับธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ
Read more ...

"เอนก ลิ่มศรีวิไล"นักปรับปรุงพันธุ์พืชดีเด่นปี'53

23/2/54
คมชัดลึก เมื่อ 9 ก.พ.2554

นับเป็นความสำเร็จสำหรับ

"เอนก ลิ่มศรีวิไล" 

ผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ และกรรมการผู้จัดการ

หจก.โกลด์เด้นเทเนอร่า 

ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลนักปรับปรุงพันธุ์พืชดีเด่นปี 2553 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังประสบผลสำเร็จพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มลูกผสมพันธุ์เทเนอร่า

ขณะนี้รอเพียงการจดทะเบียนพ่อแม่พันธุ์กับกรมวิชาการเกษตร โดยมีแนวความคิดในการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มให้เหมาะกับพื้นที่ ซึ่งประสบความสำเร็จไปแล้ว 1 สายพันธุ์ และนำออกจำหน่ายให้แก่บริษัทรายใหญ่ๆ ซึ่งเป็นผู้ค้าร่วมทางธุรกิจนำไปเพาะพันธุ์ต้นกล้าจำหน่ายให้แก่เกษตรกร ซึ่งพันธุ์ปาล์มที่ออกจำหน่ายนั้นให้ผลผลิตมากกว่า 4 ตันต่อไร่ต่อปี และมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

เอนกยอมรับว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มลูกผสมอีก 1 สายพันธุ์ ซึ่งรุ่นใหม่ที่กำลังจะจดทะเบียนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้วพบว่า

ให้ผลผลิตมากกว่า 5 ตันต่อไร่ต่อปี และ

มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สกัดได้มากถึง 28 เปอร์เซ็นต์ 

ซึ่งพันธุ์ปาล์มที่ได้นี้จะนำออกจำหน่ายได้ในไม่ช้า รอเพียงการจดทะเบียนเท่านั้น สำหรับการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มลูกผสม เป็นการผสมระหว่างพันธุ์ดูร่ากับพิสิเฟอร่า ออกมาเป็นเทเนอร่า โดยมีขั้นตอนคือการหาต้นพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์

ซึ่งขณะนี้ได้ใช้พื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ทำการปลูกปาล์มพันธุ์ลูกผสมที่คิดค้นขึ้นมาปลูกกว่า 1,000 ต้น โดยเลือกแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ที่สมบูรณ์นำมาผสมเกสรตามขั้นตอน จากนั้นก็จะได้พันธุ์ปาล์มออกมาแล้วนำมาผ่านขั้นตอนต่างๆ ในห้องวิจัยและเพาะเมล็ดพันธุ์ส่งจำหน่ายให้แก่บริษัทต่างๆ และชาวบ้านที่ต้องการเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงก่อนปลูกหรือขายต่อไป

ทั้งนี้ ในพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ที่ ต.เขาคราม โดยนายเอนก และนักวิชาการซึ่งจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางด้านเกษตร ได้ร่วมกันพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเขาได้ใช้เวลานานถึง 30 ปี ในการคิดค้นสายพันธุ์ปาล์มว่าจะทำอย่างไรให้ปาล์มน้ำมันมีสายพันธุ์ที่ดี เหมาะสมกับพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อที่จะให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากพันธุ์ปาล์มที่นำไปปลูกมากที่สุด และได้ผลผลิตมากที่สุด ซึ่งสายพันธุ์ที่ได้นั้นขณะนี้เทียบเท่ากับต่างประเทศ และในอนาคตจะดีกว่าสายพันธุ์จากต่างประเทศด้วย

"สิทธิชัย สิขวัตร"
Read more ...

การปลูกปาล์มด้วยระบบน้ำหยด

23/2/54
อนวัช สะเดาทอง โทร.081-857-0811 ที่มา http://www.ch7.com/news/2/8/11758/

ปัจจุบันภาคเอกชน มีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกปาล์มน้ำมัน ด้วยระบบน้ำหยด สามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันได้สูงขึ้น

ช่วยให้การให้น้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น 85 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการให้น้ำในระบบอื่นๆ 

โดยวางท่อส่งน้ำไปตามแนวต้นปาล์ม และติดตั้งหัวน้ำหยดไว้รอบๆโคนต้น เพื่อให้ต้นปาล์มสามารถดึงน้ำไปใช้ได้เต็มที่ และ ไม่สิ้นเปลืองน้ำ

การวางท่อดังกล่าว ควรจะทำในระยะที่ต้นปาล์มยังมีขนาดทรงพุ่มเล็กอยู่ เพราะต้นปาล์มต้องการน้ำตลอด ทุกระยะการเจริญเติบโต แต่เกษตรกรส่วนใหญ่คิดว่าต้นปาล์มต้องการน้ำอย่างเต็มที่ในช่วงที่ต้นโตเท่านั้น ทำให้ผลผลิตปาล์ม น้ำมันที่ได้มีน้อย และเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ได้ก็น้อยตามไปด้วย 

เมื่อต้นปาล์มโตเต็มที่ ให้ปรับหัวน้ำหยดห่างจากโคนต้น ประมาณ 1.2-1.5 เมตร จะทำให้ต้นปาล์มได้น้ำอย่างทั่วถึง 

การปลูกปาล์มด้วยระบบน้ำหยด ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการปลูกปาล์มแบบวิธีธรรมชาติประมาณไร่ละ 5,000 ถึง 6,000 บาท แต่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และผลปาล์มที่ได้จะให้เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ตรงตามศักยภาพของสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาแรงงานในการให้ปุ๋ย เพราะระบบดังกล่าว สามารถให้น้ำและปุ๋ยไป พร้อมๆกันได้โดยตรง ซึ่งถือว่าคุ้มค่า 


Read more ...

ความรู้เกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน

23/2/54
ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด

1 การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง

2 การจัดการดินและปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน

3 การให้น้ำปาล์มน้ำมัน

4 การรวมกลุ่มและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาตรฐาน

เนื้อหา

1 การปลูกสร้างปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง
1.1 การเลือกสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำสวนปาล์มน้ำมัน
สภาพดินที่เหมาะสมคือ ดินร่วนเหนียว มีความลึกของชั้นหน้าดินมากกว่า 75 เซนติเมตร อุ้มน้ำได้ดี ระดับน้ำใต้ดินลึก 75-100 เซนติเมตร มีธาตุอาหารสูง มีค่าความเป็นกรดอ่อน pH 4.0-6 สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร มีความลาดชันไม่เกิน 12% พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง

1.2 การเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี
- เป็นปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า (DxP)

- ซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือมีหนังสือรับรองจากทางราชการ

- เลือกต้นที่สมบูรณ์ ลักษณะดี ไม่มีอาการผิดปกติ

- มีข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตที่ดี และสม่ำเสมอ

- มีประวัติพันธุ์ (Breeding Program) ชัดเจน

- มีแหล่งที่ผลิต (ที่มา) ของเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้

- ต้นกล้าปาล์มน้ำมันควรมีอายุหรือขนาดเหมาะสมตามความต้องการของเกษตรกร เช่น ถ้าปลูก

ทันทีควรมีอายุ 8-12 เดือน ถ้าซื้อต้นกล้าเล็กเพื่อนำไปปลูกดูแลก่อน ควรซื้อถุงขนาดเล็กที่มีอายุ 2-4 เดือน

1.3. การเตรียมพื้นที่และการปลูกปาล์มน้ำมัน
หลังการเตรียมพื้นที่ ตัดถนนและทางระบายน้ำแล้ว จึงวางแนวทางการปลูก โดยพิจารณาจาก

ความสอดคล้องกับการทำงาน การระบายน้ำ ความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมันได้รับแสงแดดมากที่สุด เพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม

ด้านเท่าและการจัดระยะการปลูก 9x9 เมตรเป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากทำให้ปาล์มทุกต้นได้รับแสงมากสุด

แสดงการวางแนวการปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 9x9x9 เมตร

1.4 ดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน
การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน แต่มีหลักสำคัญคือ

1. ใส่ช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ

2. ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด

ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนักใน
ปีแรกหลังจาก

ปลูกควรใสปุ๋ย 4-5 ครั้ง 
ตั้งแต่ปีที่ 2 เ ป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี 

ช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25 % สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝนและปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40 % ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝนตามลำดับ

ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน

ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน

ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

การให้น้ำ
ถ้าปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝน ในปริมาณ 150-200 ลิตร /ต้น/ปี ถ้ามีแหล่งน้ำจำกัดควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด ( Drip irriqation ) ส่วนพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากควรติดตั้งระบบน้ำแบบ Minisprinkler

การปลูกพืชคลุม
เพื่อป้องกันและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชรวมถึงการพังทะลายของหน้าดิน ควรปลูกพืชคลุมดินหรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าเป็นวัสดุคลุมดิน โดยนำทะลายเปล่ากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วนำไปวางกระจายรอบโคนต้น

2 การจัดการดินและปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน
2.1 วิธีการเก็บดินที่ถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์
ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บตัวอย่างดินคือควรเก็บดินยังมีความชื้นอยู่พอสมควร ดินไม่แห้งหรือแฉะเกินไป ถ้าที่ดินเป็นแปลงขนาดใหญ่ ควรจะแบ่งดินออกเป็นแปลงย่อย แต่ละแปลงย่อยไม่ควรมีขนาดมากกว่า 30 ไร่ แต่ละแปลงย่อยจะเก็บดินได้ 1 ตัวอย่าง

จุดที่จะเก็บดินเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยในพื้นที่แปลงย่อยจะเก็บตัวอย่างดินหลายจุด ดินที่เก็บได้จาก แต่ละจุดจะนำรวมกันเป็น 1 ตัวอย่าง ระดับการเก็บตัวอย่างดินออกเป็น 2 จุด คือระดับชั้นบนเก็บลึก 0-15 เซนติเมตร ระดับดินชั้นล่าง เก็บลึก 15-30 เซนติเมตร ซึ่งจะเป็นตัวอย่างของที่ดินในแปลงย่อยนั้น ถ้าแปลงย่อยมีขนาด 10 –20 ไร่ ก็ควรจะเก็บดิน 10 –20 จุด ถ้าเป็นที่สูงๆต่ำ ควรจะเก็บให้มากจุดขึ้น

การเตรียมตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์ มีวิธีการดังนี้
ย่อยหรือทุบดิน แต่ละตัวอย่างให้เป็นก้อนเล็กคลุกเคล้าดิน แต่ละตัวอย่างให้เข้ากันดี ผึ่งลมไว้ประมาณ 2 – 3 วัน โดยมีข้อควรระวังคือ ไม่ผึ่งแดด เครื่องมือเครื่องใช้ต้องสะอาด และระวังอย่าให้มีสิ่งอื่นลงไปเจือปน แบ่งดินแต่ละตัวอย่างออกเป็นส่วนๆแต่ละส่วนหนักประมาณ 1 กิโลกรัม เอาดินเพียงหนึ่งส่วนใส่ถุงพลาสติก เขียนรายละเอียดประกอบตัวอย่างใส่ลงไปในถุงแล้วรัดปากถุงส่งห้องปฏิบัติการ

2.2 วิธีการเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องเพื่อการวิเคราะห์
ต้องเก็บตัวอย่างทางใบที่ 17 โดยนับจากใบย่อยบริเวณโคนทางใบคลี่เต็มที่และตั้งลากแล้ว ทางใบที่ 17 จะอยู่ซ้ายหรือขวาขึ้นอยู่กับการเวียนของทางใบ โดยใช้จุดกึ่งกลางทางใบที่เริ่มจากแบนเป็นสันเหลี่ยม เก็บใบย่อยทั้ง 2 ด้านข้างละ 6-10 ใบ ตัดส่วนโคนและปลายใบ เก็บเฉพาะส่วนกลางใบยาวประมาณ 5-6 นิ้ว ลอกเส้นกลางใบทิ้งเหลือเฉพาะแผ่นใบ ทำความสะอาดแผ่นใบ อบแห้งและส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

2.3 เทคนิคการแปรความหมาย
เมื่อส่งตัวอย่างดิน-ใบปาล์มน้ำมันไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ระยะหนึ่ง เกษตรกรจะได้รับผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ จึงต้องมีการแปลค่าวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าเป็นตัวเลข เราจะต้องทำการแปลค่าหรือให้ความหมายค่าแต่ละค่าว่ามีความหมายอย่างไร การแปลค่าจะทำให้ทราบถึงสภาพของดิน-ใบปาล์มน้ำมันว่ามีสภาพและคุณสมบัติเช่นใด

2.4 การจัดการปุ๋ย สำหรับปาล์มน้ำมัน เมื่อห้องปฏิบัติการได้ผลการวิเคราะห์แล้วก็จะแนะนำให้ใส่ปุ๋ยตามอาการขาดธาตุอาหาร

3 การให้น้ำปาล์มน้ำมัน
3.1 ความจำเป็นและหลักการให้น้ำ

3.2 การคำนวณและการติดตั้งระบบน้ำในสวนปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง

3.3 วิธีการให้น้ำในสวนปาล์มน้ำมันที่เหมาะสม
- พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation)

- พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอ ควรติดตั้งระบบน้ำแบบระบบโปรยน้ำ (Mini Sprinker)

4 การรวมกลุ่มและเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
4.1 ความจำเป็นและหลักการรวมกลุ่มของเกษตรกร

4.2 การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันที่ถูกต้องและเหมาะสม

การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย
การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในการเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์มต่อไร่ เจ้าของสวนปาล์มต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพอส่งเข้าโรงงานเพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงสุดต่อไร่ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ ดังนี้

1. เก็บเกี่ยวทะลายผลปาล์มสดในระยะที่สุกพอดี คือ ระยะที่ผลปาล์มมีสีผิวเปลือกนอกเป็นสีส้มสดและเริ่มมีผลร่วงหล่นทะลายปาล์มร่วมที่โคนต้นไม่น้อยกว่า 10 ผลต่อทะลาย

2. รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน

3. รอบการเก็บเกี่ยวในช่วงมีผลผลิตน้อย ควรเก็บเกี่ยว 14-21 วันต่อรอบ

4. รวบรวมผลปาล์มน้ำมันที่เป็นทะลายและลูกร่วมให้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น ควรเก็บผลปาล์มร่วงใส่ภาชนะ เช่น ตะกร้า เข่ง หรือกระสอบ

5. การเก็บรวบรวมผลปาล์ม ควรลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย เพื่อลดการชอกช้ำและบาดแผลของผลปาล์ม

6. ทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน หรือเศษหิน ดิน ทราย และไม้กาบหุ้มทะลายออกก่อน

7. ต้องรีบส่งผลปาล์ม ไปยังโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
Read more ...

เทคโนโลยีการปลูกปาล์มระบบน้ำหยด

23/2/54

นายอนวัช สะเดาทอง รองผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยถึงที่มาและความสำคัญที่กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มีการพัฒนา

เทคโนโลยีการปลูกปาล์มแบบการให้ธาตุอาหารในรูปแบบระบบน้ำหยด

ว่า โดยธรรมชาติของปาล์มน้ำมันจะเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตสูง ตามศักยภาพของสายพันธุ์ ต้องการน้ำประมาณ 1,800 – 2,000 มม./ปี (150-200 มม./เดือน)

แต่ในเขตปลูกปาล์มน้ำมันทั่วไปของประเทศไทยจะมีช่วงขาดน้ำฝนประมาณ 2-4 เดือน/ปี (300-350 มม./ปี) การกระทบแล้งดังกล่าวทำให้คุณภาพผลผลิตปาล์มสดลดลง การติดตั้งระบบชลประทาน จะทำให้ผลผลิตปาล์มสดเพิ่มขึ้น 15- 30 %
ดังนั้นการนำระบบการติดตั้งระบบชลประทานแบบน้ำหยดสามารถเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตปาล์มน้ำมันซึ่งระบบดังกล่าวมีข้อดีดังนี้คือ ทำให้การให้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการให้น้ำสูงสุด เมื่อเทียบกับการให้ระบบชลประทานแบบอื่นๆ

ถ้าหากเป็น

ระบบสปริงเกลอร์ จะสามารถให้น้ำที่มีประสิทธิภาพถึง 60-75% 
ระบบมินิสปริงเกลอร์ 75-85%
ส่วนระบบน้ำหยดจะสามารถให้น้ำที่มีประสิทธิภาพถึง 85-95% 

ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวระบบน้ำหยด เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะนอกจากจะสามารถช่วย
ลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินใต้โคนปาล์มได้ดีแล้วยัง
สามารถารกระจายน้ำให้เหมาะสมพอดีกับบริเวณรากปาล์มได้ดี และ
ช่วยลดการสูญเสียน้ำจากการไหลออกนอกเขตรากปาล์ม และ
ช่วยให้มีการดูดไปใช้ของวัชพืชในโคนปาล์มได้ดี
ไม่มีปัญหาเรื่องลมในขณะให้น้ำ
สะดวกต่อการปฏิบัติงานในแปลงปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีขนาดเล็กกระทัดรัด ไม่กีดขวางการทำงาน การกำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยว
การตัดแต่งทางใบไม่ชำรุดเสียหายง่าย(ไม่ต้องมีเสาปักยึดหัวน้ำหยด)
 ที่สำคัญระบบน้ำหยดนี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้ 15-25%

ทั้งนี้หากเกษตรกรปลูกปาล์มแล้วขาดน้ำจะเกิดผลเสียดังนี้คือมีลักษณะคือ
ผลผลิตปาล์มสดลดลง
ยอดใบใหม่ไม่คลี่
เพิ่มอัตราฝ่อของช่อดอกเพศเมีย
จำนวนช่อดอกเพศผู้เพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำมันในเนื้อผลลดลง

นอกจากนี้ระบบน้ำหยดยังส่งผลดีต่อ
การให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารไปพร้อมระบบน้ำ
ซึ่งจะส่งผลดีของการให้ปุ๋ยไปพร้อมระบบน้ำที่สำคัญคือ สามารถจัดการธาตุอาหารให้ตรงตามปริมาณและเวลาที่พืชต้องการได้ รวมทั้งยัง
ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยหรือธาตุอาหารทำให้ประหยัดค่าปุ๋ยไปได้ 10-25% และ
ลดปัญหาแรงงานในการใส่ปุ๋ย
ลดการระบาดของวัชพืชได้มาก ซึ่งระบบการให้น้ำในรูปแบบนี้มีการใช้และดูแลรักษาง่าย
อายุการใช้งานนาน

นายอนวัชยังกล่าวถึงรูปแบบการให้น้ำ หรือรูปแบบการติดตั้งระบบชลประทานแบบน้ำหยด จะวางสายส่งน้ำไปตามแนวต้นปาล์ม และจะติดตั้งหัวน้ำหยดไว้รอบๆใต้โคนปาล์ม ระยะที่ต้นปาล์มยังมีขนาดทรงพุ่มเล็กอยู่ จะวางหัวน้ำหยดไว้ไกล้โคนปาล์ม เพื่อให้น้ำหยด กระจายรอบโคนปาล์มและน้ำซึมลงไปให้เหมาะสมกับเขตรากปาล์มพอดี

เมื่อต้นปาล์มมีขนาดทรงพุ่มใหญ่ขึ้น ก็สามารถขยับหรือจัดหัวน้ำหยดให้อยู่ในตำแห่งเขตรากได้ตามความเหมาะสม เมื่อต้นปาล์มโตเต็มที่ก็สามารถปรับหัวน้ำหยดให้ห่างจากโคนปาล์มประมาณ 1.2-1.5 เมตร หัวน้ำหยดก็จะกระจายน้ำให้กับต้นปาล์ม
สำหรับการลงทุนติดตั้งระบบชลประทานแบบน้ำหยดในสวนปาล์มน้ำมันนั้นในการปลูกปาล์มน้ำมันโดยระบบน้ำหยดจะมี

ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการปลูกโดยวิธีธรรมชาติประมาณไร่ละ 5,000-6,000 บาท 

ขึ้นอยู่กับ
สภาพพื้นที่
แหล่งน้ำ
ขนาดพื้นที่
การจัดการปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ(Fertigation)

การลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนปาล์มน้ำมันสามารถเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 20% 

คิดง่ายๆ ถ้ามีระบบน้ำจะไม่ทำให้ทะลายปาล์มฝ่อหรือหายไป (ขาดคอ)สมมุติว่าถ้า

1 ปี สามารถเพิ่มทะลายปาล์มน้ำมันได้ 2 ทะลายต่อต้นต่อปี(25 กก./ทะลาย) 


1ไร่จะมีทะลายปาล์มเพิ่ม 40 ทะลายต่อไร่ต่อปี = 1,000 กก./ไร่/ปี 


ราคาปาล์มทะลายสด 4 บาท/กก.จะเป็นเงิน 1,000 x 4 = 4,000 บาท

ใช้เวลา 1 ปีครึ่ง ก็สามารถคืนทุนได้แล้ว

ที่สำคัญกว่านั้นคุณภาพของปาล์มทะลายสดจะสูงมาก (%) น้ำมันจะสูงตรงตามศักยภาพของสายพันธุ์

ในส่วนของการติดตั้งระบบชลประทานในระบบนี้มีความเหมาะสมในเขตปลูกปาล์มน้ำมันที่มีฝนแล้งติดต่อกันตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สำหรับเขตปลูกปาล์มน้ำมันที่มีฝนกระจายตลอดทั้งปี มีปริมาณฝนตกทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องลงทุนติดตั้งระบบชลประทานเพื่อให้น้ำแก่ต้นปาล์ม แต่อาจมีความเหมาะสมกับเขตปลูกปาล์มที่มีปัญหาแรงงาน เพราะระบบน้ำหยดสามารถให้ปุ๋ยกับต้นปาล์มได้โดยใส่ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ ซึ่งเป็นระบบจัดการธาตุอาหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

นายอนวัชยังกล่าวถึงข้อดีหรือข้อแตกต่างที่เกิดขึ้นว่าการติดตั้งระบบชลประทานมีข้อดีและแตกต่าง จากการปลูกปาล์มที่ไม่ติดระบบน้ำ อธิบายโดยสังเขปได้ว่าตามหลักธรรมชาติการเจริญเติบโตของพืชแทบทุกชนิดต้องการน้ำที่เพียงพอ และเหมาะสมโดยเฉพาะช่วงอายุระหว่างการเจริญเติบโตและช่วงให้ผลผลิต ในช่วงของการเจริญเติบโต(ก่อนให้ผลผลิตอายุ 1-3 ปี)

การติดตั้งระบบชลประทานมีส่วนสำคัญมากในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน และป้องกันความเสียหายจากการขาดน้ำ การขาดน้ำทำให้ต้นปาล์มแคระแกรนชะงักงัน การเจริญเติบโตให้ผลผลิต ล่าช้ากว่าปกติ เพราะโดยธรรมชาติของปาล์มน้ำมันจะผลิตตาดอกประมาณ 30 เดือน ก่อนที่ช่อดอกจะโผล่พ้นดอกมาจากต้น ถ้ามีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ขบวนการเจริญเติบโตและการผลิตตาดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ตรงตามสายพันธุ์ และให้ผลผลิตเร็วตามอายุ

ในช่วงให้ผลผลิต(อายุ 4 ปีขึ้นไป) การให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะส่งเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีทะลายเพิ่มขึ้น(ช่อดอกไม่ฝ่อ) น้ำหนักต่อทะลายเพิ่มขึ้น และเปอร์เซ็นต์น้ำมันในเนื้อผลปาล์มไม่ลดลง เป็นการเพิ่มผลผลิตปาล์มสดต่อไร่ได้มากขึ้นประมาณ 15-20% เพราะว่าปาล์มน้ำมันถ้าขาดน้ำติดต่อกันเกิน 2 เดือน (300-350 มม.) จะทำให้ผลผลิตปาล์มสดลดลง

ข้อดีที่สำคัญของการติดตั้งระบบชลประทานสามารถชดเชยการขาดน้ำช่วงฝนแล้งเป็นการป้องกันและลดการเสียหายของผลผลิตปาล์มน้ำมัน ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสม่ำเสมอ และลดปัญหาผลปาล์มล้น และขาดในบางฤดู ผลผลิตปาล์มสดออกสู่ตลาดสม่ำเสมอ แก้ปัญหาราคาผลปาล์มตกต่ำในช่วงฤดูปาล์มออกมาก นายอนวัชกล่าวเสริมว่าในปัจจุบันระบบนี้ในปัจจุบันการติดตั้งระบบชลประทานในสวนปาล์มยังมีค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับจำนวนพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะมีบ้างที่ติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนปาล์มส่วนมากจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก

สาเหตุที่สำคัญน่าจะมาจากการขาดข้อมูลที่ดี ขาดการแนะนำ ที่สำคัญปาล์มน้ำมันส่วนมากจะปลูกในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ทำให้ผลผลิตลดลงไม่มาก ชาวสวนจึงขาดความสนใจ

ในอนาคตคาดว่าจะมีการติดตั้งระบบน้ำหยดในสวนปาล์มมากขึ้น เนื่องจากจำเป็นต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น เพราะการเพิ่มผลผลิตปาล์มโดยการขยายพื้นที่ปลูกใหม่ ในอนาคตจะมีอย่างจำกัด การเพิ่มผลผลิต/ไร่ จึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก โดยเฉพาะเขตปลูกปาล์มน้ำมันที่มีฝนน้อย เช่นภาคกลาง ภาคอีสานและภาคตะวันออก การติดตั้งระบบชลประทานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้มีการตื่นตัวในการติดตั้งระบบชลประทานน้ำหยดมากขึ้นวัตถุประสงค์หลักคือการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น เช่น

อ้อยน้ำหยด
มันสำปะหลังน้ำหยด
ข้าวโพดน้ำหยด

สำหรับในพืชผักส่วนมากจะติดตั้งในพืชตระกูลแตง สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้สูงและสร้างผลตอบแทนได้มาก อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนปาล์มน้ำมันสิ่งที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันหันมาสนใจในการติดตั้งระบบชลประทาน ระบบน้ำหยด และเพิ่มความเข้มข้นในการดูแลเอาใจใส่สวนปาล์ม เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ/ไร่ให้มากขึ้น ราคาผลผลิตปาล์มสดมีส่วนสำคัญมาก

ในด้านของอายุการใช้งานของระบบชลประทานแบบน้ำหยดเป็นระบบที่ติดตั้งและดูแลรักษาง่ายไม่ซับซ้อนที่สำคัญชาวสวนปาล์มหรือผู้ใช้ ต้องมีความเข้าใจ การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพดี การออกแบบที่ถูกต้องจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบใช้การได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน รวมทั้งการดูแลรักษาระบบที่ถูกต้องมีคำแนะนำจากบริษัทผู้ออกแบบติดตั้ง การเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้ออกแบบติดตั้งและผู้ใช้ จะทำให้การใช้งานของระบบคุ้มค่าต่อการลงทุน และอายุการใช้งานยาวนาน ปกติอายุการใช้งานของระบบมากกว่า 10 ปีขึ้นไปขึ้นอยู่กับวัสดุและการบำรุงรักษานายอนวัชกล่าว

หากสนใจระบบน้ำติดต่อได้ที่
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์
คุณอนวัช สะเดาทอง 081-857-0811
ศิริลักษณ์ /ศิริพร ฝ่ายข่าวและประชาสัมพันธ์
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจรืญโภคภัณฑ์
089-1399801/086-3135966 /02-6759668
Read more ...

การวางแนวปลูก

23/2/54
ระยะปลูก 9 เมตร

กับ

ระยะปลูก 8 เมตร
Read more ...

ปาล์มโคลนนิ่ง "คอมแพค ทอร์นาโด" ผลผลิต 6-7 ตัน ต่อไร่

23/2/54
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 461
ปาล์มโคลนนิ่ง "คอมแพค ทอร์นาโด" ผลผลิต 6-7 ตัน ต่อไร่ อาร์ แอนด์ ดีฯ ที่ชุมพร ภูมิใจนำเสนอ...โปรดติดตาม

ระยะเวลา 4-5 ปีมานี้ เมืองไทยพูดถึงพืชพลังงานกันมาก โดยเฉพาะพลังงานที่นำไปเติมให้กับรถ จะไม่ให้พูดได้อย่างไร เพราะมีอยู่ช่วงหนึ่ง น้ำมันดีเซลราคาพุ่งสูงเกือบ 2 ลิตร 100 บาท คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ หากที่ทำงานไกลหน่อย รถติด ไป-กลับวันหนึ่งหากใช้น้ำมันสัก 4 ลิตร ก็ไม่ไหวแล้ว เพราะมีรายได้เท่าเดิม นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเท่านั้น อาชีพอื่นๆ อย่างเรือประมง การขนส่งสินค้า ก็หน้าซีดหน้าเซียวไปตามๆ กัน ระยะหลังราคาน้ำมันดูผ่อนคลายลง แต่จะให้ราคาถูกเหมือน 7-8 ปีที่แล้ว คงเป็นไปได้ยาก

การพูดถึงพืชพลังงานในช่วงราคาน้ำมันแพง ดูคึกคักจริงๆ สังเกตได้จากการสัมมนาตามที่ต่างๆ คนแห่กันไปฟังจนล้นหลาม ต้องต่อโทรทัศน์วงจรปิด ในทางกลับกัน เมื่อราคาน้ำมันลดลง งานสัมมนามีคนไม่มากเท่าที่ควร

ในบ้านเรา มีการหยิบยกพืชพลังงานมาปัดฝุ่นกันหลายชนิด บางชนิดเป็นไม้ที่ใช้ทำรั้วมาก่อน หลังๆ ก็ซาไป แต่ยังพบเห็นตามสถาบันที่สอนทางด้านการเกษตร แต่ผู้ดูแลก็ไม่เอาใจใส่เท่าที่ควร ปล่อยให้หญ้าขึ้นรก คงต้องให้น้ำมันลิตรละ 40 บาท เขาจึงต้องดูแลกันอย่างจริงจังอีกทีหนึ่ง

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชพลังงานที่ได้รับการพูดถึงมากในช่วงที่ผ่านมา จริงๆ แล้วเดิมพืชชนิดนี้ปลูกมานานกว่า 80 ปีแล้ว หลักฐานที่ชัดเจนที่สุด คือที่ฟาร์มบางเบิด หรือสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หน่วยงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกที่หนึ่งคือศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อยู่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี แต่อายุของต้นจะน้อยกว่าที่บางเบิด

ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านปาล์มน้ำมันมาก อยู่ใกล้ๆ บ้านเราคือ มาเลเซีย ทุกวันนี้ เขาพัฒนาเพิ่มมูลค่าไปมากแล้ว โดยมีบริษัทเอกชนจากสหราชอาณาจักร เป็นผู้ดำเนินการ

ปาล์มน้ำมัน.......ปลูกได้ผลดีเฉพาะถิ่น
ประเทศไทยมีปลูกปาล์มน้ำมันมากที่ภาคใต้ ต่อมามีเพิ่มเติมที่ภาคตะวันออก และที่แทบไม่น่าเชื่อ มีการนำไปปลูกที่อีสานถิ่นที่แห้งแล้ง ปรากฏว่าได้ผล โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำ

มีคำถามอยู่เสมอว่า ปาล์มน้ำมันกับยางพาราอย่างไหนดีกว่ากัน เป็นคำถามที่เกจิทางด้านการเกษตรตอบยาก เพราะการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน

แต่ก็มีผู้รู้ทางด้านนี้ให้ความเห็น ขอเน้นว่า...เป็นเพียงความเห็น
ผู้รู้บอกว่า ยางพาราปลูกได้ทั่วไป แม้กระทั่งใจกลางทุ่งแล้งอย่างทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ปลูกยางพาราอำเภอนี้มากกว่า 1,000 ไร่ ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ปลูกยางพารากันมากมาย คนที่เคยไปเที่ยว นั่งรถไป ก่อนงีบหลับเห็นต้นยางพาราเต็มไปหมด ตื่นขึ้นมาก็ยังเห็นต้นยางพาราอยู่ รถวิ่งปกติ ไม่ได้หยุด

เมื่อหันมามองปาล์มน้ำมัน เดิมผลิตเพื่อเป็นอาหาร ต่อมาได้นำมาใช้เป็นพืชพลังงาน อย่าง B5 ใน 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำมันดีเซลที่ได้จากการสูบขึ้นมาจากใต้ดิน 95 เปอร์เซ็นต์ อีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำมันปาล์ม พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดีเป็นเขตร้อนชื้นฝนตกชุก เขตที่ฝนน้อยอย่างอีสาน ปลูกได้แต่ต้องมีแหล่งน้ำ บริเวณที่มีน้ำน้อย ความชื้นไม่ดี เมื่อต้นปาล์มเริ่มมีพัฒนาการของดอก ดอกเพศเมียจะกลายเป็นเพศผู้ ผลผลิตจึงไม่ได้เก็บเกี่ยว ดูตัวอย่างได้ตามเกาะกลางถนนที่กรุงเทพฯ เดิมเขาขุดมาจากชลบุรี จากประจวบคีรีขันธ์ พอมีผลผลิตบ้าง แต่มาเจออากาศร้อน น้ำน้อยที่กรุงเทพฯ ดอกจึงกลายเป็นตัวผู้อย่างที่เห็น

นี่เป็นข้อแตกต่างระหว่างยางพารากับปาล์มน้ำมัน

ในอดีต ได้พันธุ์ปาล์มที่ผลผลิตน้อย
งานปลูกปาล์มน้ำมัน เรื่องของสายพันธุ์มีความสำคัญมาก คือต้องให้ผลผลิตสูง ดังนั้น สายพันธุ์ต้องมีการผสมและคัดเลือกอย่างดีจากองค์กรที่เชื่อถือได้ แรกๆ ที่ปาล์มบูม มีความเชื่อว่า การปลูกปาล์มทำได้ง่ายๆ เหมือนการปลูกมะพร้าว คือผลร่วงหล่นใต้ต้นก็เก็บมาปลูกได้ จริงๆ แล้วไม่เป็นอย่างนั้น

ยุคเริ่มต้นที่มีการปลูกปาล์ม มีผู้ค้าหัวใส ไปเก็บปาล์มน้ำมันใต้ต้นจากประเทศมาเลเซีย มาเพาะจำหน่าย แล้วบอกผู้ซื้อว่า นำมาจากต่างประเทศ ซึ่งก็ต่างประเทศจริงๆ คือมาเลเซีย ผู้ซื้อเมื่อนำไปปลูก ปรากฏว่าให้ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน หลังๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ผู้ค้ากล้าปาล์มไปขึ้นทะเบียนเพื่อให้เกษตรกรได้กล้าปาล์มที่มีคุณภาพ

ปาล์มโคลนนิ่ง "คอมแพค ทอร์นาโด"......สุดยอดของปาล์ม ที่ชุมพร
บริษัท อาร์ แอนด์ ดี เกษตรพัฒนา จำกัด เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงโดดเด่นทางด้านกล้าปาล์มน้ำมันไม่น้อย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ภายใต้ "โครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร"

มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมกิจการของ บริษัท อาร์ แอนด์ ดีฯ บริษัทนี้มีแต่คนหนุ่มๆ ทำงาน เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย ดูคึกคักมาก เหมือนวัวหนุ่มมุ่งมั่นและพร้อมที่จะเทียมเกวียน ที่มีอาวุโสหน่อยก็ คุณเอกชัย รัตนมงคล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ อาจารย์พิเศษ และที่ปรึกษา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ถึงแม้จะอาวุโสกว่าน้องๆ แต่คุณเอกชัยดูแคล่วคล่อง มีอัธยาศัยและไมตรีอันดีเยี่ยม เรื่องนี้ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ทราบดี

การไปเยี่ยมชมกิจการของ บริษัท อาร์ แอนด์ ดีฯ ครั้งใหม่นี้ คุณเอกชัย และ คุณอรุณ ไชยานุล นักวิชาการเกษตร ได้พาไปดูปาล์มโคลนนิ่งนามว่า "คอมแพค ทอร์นาโด" ระหว่างนั่งไปบนรถ ได้ข้อมูลว่า คุณอรุณเป็นคนหนุ่มที่แดนใต้ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี‚สถาบันนี้ไม่ธรรมดา

คุณอรุณเล่าว่า ปกติทางบริษัทนำพันธุ์ปาล์มน้ำมันเข้ามาจากประเทศคอสตาริกา ชื่อพันธุ์ "คอมแพค ไนจีเรีย" ผลผลิต 5 ตัน ต่อไร่ มาเผยแพร่ บริษัทที่ผสมและคัดเลือกอยู่ที่คอสตาริกา คือบริษัท ASD ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงก้องโลก เรื่องพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

คอมแพค ไนจีเรีย ดีอยู่แล้ว สุดยอดอยู่แล้ว ทำไมต้องมีสิ่งใหม่ๆ เข้ามา
คุณอรุณอธิบายว่า คอมแพค ไนจีเรีย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด เมื่อปลูกมีความแปรปรวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่คอมแพค ทอร์นาโด ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากต้นคอมแพคที่ดีที่สุด การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "โคลนนิ่ง" เจ้าคอมแพค ทอร์นาโด ให้ผลผลิต 6-7 ตัน ต่อไร่ ต่อปี เห็นไหมผลผลิตสูงกว่าคอมแพค ไนจีเรีย ถึง 1-2 ตัน

ขอยกตัวอย่าง หากปาล์มคอมแพค ทอร์นาโด เปรียบเสมือน สมจิตร จงจอหอ วีรบุรุษเหรียญทองโอลิมปิค ที่มีความเก่ง เราอยากได้คอมแพค ทอร์นาโดมากๆ ก็เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกมา ก็จะได้ลักษณะให้ผลผลิตดกมากๆ เปรียบกับคน ก็คือ สมจิตร จงจอหอ คนที่ 1, 2, 3 ๆๆๆ

ในทางปฏิบัติ ทางด้านพืช สามารถทำได้ อย่างปาล์มให้ผลผลิต 6-7 ตัน ต่อไร่ ต่อปี เมื่อเพาะเนื้อเยื่อจากต้นที่ได้ 6-7 ตัน ต้นใหม่ก็ให้ผลผลิตตามนั้น

ในวงการสัตว์ โคลนนิ่งได้แล้ว เมืองไทยทำกับวัว....สำหรับคนหรือมนุษย์ ยังไม่มีงานทดลอง หรือฝรั่งจะทดลองแล้วก็ได้

ถามว่า...แล้วทำไมไม่ปลูกคอมแพค ทอร์นาโด ทั้งประเทศ นำผลผลิตมาเติมรถ ไม่ต้องซื้อน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศ

คุณอรุณมีคำตอบว่า คอมแพค ทอร์นาโด มีต้นทุนสูง โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยง สภาพแวดล้อมต้องดี หมายถึงน้ำและความชื้น ราคาต้นพันธุ์นั้นก็สูงแน่นอน

คุณอรุณบอกว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือการโคลนนิ่ง ที่คอสตาริกา เขาใช้ช่อดอกอ่อน ที่มาเลเซียใช้ยอดอ่อนของต้น หมายถึงต้องตัดต้นมาทำ แล้วเสียต้นนั้นไป ถือเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง เมืองไทยเราก็กำลังศึกษาอยู่

แล้วคอมแพค ทอร์นาโด.....ดีอย่างไร
คุณอรุณอธิบายว่า โดยทั่วไป การปลูกปาล์มน้ำมันใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 9 คูณ 9 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 22 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 3-4 ตัน ต่อไร่ หากใช้พันธุ์ที่ดีหน่อยก็ขยับขึ้นเป็น 5 ตัน ต่อไร่

เจ้าคอมแพค ทอร์นาโด ต้นเตี้ย ทางใบสั้น จำนวนที่ปลูกต่อไร่ได้มาก ผลผลิต 6-7 ตัน ต่อไร่

คอมแพค ทอร์นาโด หลังปลูก 6 เดือน เริ่มแทงช่อดอก ขณะที่ปาล์มทั่วไปใช้เวลา 14 เดือน เมื่ออายุ 18 เดือน ติดผล เมื่ออายุ 2 ปี หลังปลูก เก็บผลผลิตได้เลย

คุณอรุณบอกว่า โดยทั่วไป ปาล์มน้ำมันมีจำนวนต้นต่อไร่ 22 ต้น เมื่อปลูกคอมแพค ทอร์นาโด ปลูกได้ 33 ต้น ต่อไร่ ผลผลิตจึงเพิ่มขึ้น เพราะแต่ละต้นให้ผลผลิตมาก รวมทั้งจำนวนต้นต่อไร่มากขึ้นด้วย ในอนาคต นักวิชาการเกษตรหนุ่มบอกว่า ถึงแม้ประเทศไทยโดยรวม ต้องการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่การไปบุกรุกที่ขยายพื้นที่ปลูกทำได้ยาก การเพิ่มผลผลิตที่ดีทางหนึ่ง คือเพิ่มจำนวนต้นต่อไร่ให้มากขึ้น โดยใช้พันธุ์ที่ต้นเล็กลง อาจจะใช้ระยะระหว่างแถว 6 คูณ 6.5 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 44 ต้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยอยู่ รวมทั้งหาต้นพันธุ์ที่โดดเด่นในเมืองไทยเอง

"เหตุที่คอมแพค ทอร์นาโด มีราคาแพง เพาะอยู่ในแล็บ 2 ปี ผู้สนใจปลูกต้องมีปัจจัยพร้อม แต่หากได้ปลูกแล้วคุ้มค่าต่อการลงทุน มีคนสนใจสั่งจอง แต่เรามีตอบสนองให้น้อย" คุณอรุณ บอก

คุณเอกชัย รัตนมงคล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บอกว่า บ้านเราตอนนี้ปลูกคอมแพค ทอร์นาโด 300-400 ไร่ เป็นเกษตรกรมืออาชีพ ใช้เทคโนโลยีที่สูง แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน

คุณเอกชัย และคุณอรุณ ได้พาไปเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร ที่อำเภอละแม จัดเป็นสถาบันการศึกษาที่น่าเล่าเรียนมาก ภูมิทัศน์ของแม่โจ้-ชุมพร สวยงามมาก ด้านหน้าติดทะเลที่มีหาดทรายขาว น้ำใส

อาจารย์จิระศักดิ์ วิชาสวัสดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร เล่าถึงการทำงานว่า ทางแม่โจ้-ชุมพร ได้ร่วมกับ บริษัท อาร์ แอนด์ ดี จำกัด ศึกษาเรื่องปาล์มน้ำมัน หลายๆ ด้าน

สำหรับการขยายพันธุ์ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือการทำโคลนนิ่งก็ทำกันอยู่ เป็นการศึกษาเบื้องต้น ต้องใช้เวลา ขณะนี้เริ่มเห็นแนวทางพอสมควร

ผู้สนใจเรื่องปาล์มน้ำมัน ต้องสำรวจตัวเองให้ดี เรื่องความพร้อมทางด้านต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจ

หากมีข้อสงสัยก็สอบถามได้ที่ คุณอรุณ ไชยานุล โทร. (086) 293-6977 คุณเอกชัย รัตนมงคล โทร. (085) 762-6897 หรือที่ศูนย์ฯ สวี (085) 214-8668 ศูนย์ฯ ละแม (087) 935-0001

คุณสมชาติ สิงหพล ผู้จัดการฝ่ายผลิต บริษัท อาร์ แอนด์ ดีฯ บอกว่า เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่อยู่ในกระแสความสนใจของเกษตรกรและบุคคลทั่วไป เป็นพืชที่มีผลต่อเศรษฐกิจของชาติ ทางบริษัทยินดีให้คำปรึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจโดยกระจ่างแจ้ง ดังนั้น ใครสนใจโทร.ปรึกษาได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อผลิตผลก็ได้
Read more ...

พันธุ์ปาล์มทนแล้ง

23/2/54
พันธุ์ปาล์มที่แนะนำเหมาะสมที่จะปลูกในภาคเหนือและภาคอีสานคือ

พันธุ์ "ลาเม่" (Deli x Lame) ของ บริษัท A S D จากประเทศคอสตาริกา และ

พันธุ์ ซีหราด (Deli x Lame) ของฝรั่งเศส ผลิตที่ประเทศไอเวอรีโคสต์

ลักษณะพันธุ์

1. เป็นพันธุ์ทางใบสั้น ทนแล้ง จึงสามารถให้ผลผลิตในหน้าแล้งได้ดี ทำให้ขายปาล์มในราคาที่ดี เพราะปาล์มหน้าแล้งมีไม่มาก

2. ต้นสูงช้า เฉลี่ยปีละ 30-40 เซนติเมตร ต่อปี มีผลดีต่อการเก็บเกี่ยวง่ายและเก็บเกี่ยวได้นานถึง 25 ปี

3. ระยะปลูก ใช้ระยะ 8.5x8.5 เมตร หรือ 8.75x8.75 เมตร จะได้จำนวน 26 ต้น ต่อ 1 ไร่ ผลผลิต = 3.5-5 ตัน ต่อ 1 ไร่ ต่อ 1 ปี

4. เหมาะที่จะปลูกในภาคเหนือและอีสาน ที่มีฝนเฉลี่ย 1,400 มิลลิเมตร ต่อ1 ปี โดยมีระบบน้ำให้เพิ่มเติมอยู่ 4 เดือน คือเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นหน้าหนาวไม่มีฝนตก ทดแทนไว้เพื่อป้องกันผลผลิตต่ำ
Read more ...

ปาล์มน้ำมัน จ.กำแพงเพชร

23/2/54
เมื่อ 2 ม.ค.2551

ปาล์มพืชน้ำมันบนดิน ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าสนใจมากชนิดหนึ่งเพราะปัจจุบันราคาน้ำมันสูงปาล์มสามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ใช้กับเครื่องยนต์ทดแทนน้ำมันได้ ดิฉันไม่ได้มีความรู้ในเรื่องการปลูกปาล์มเพียงแต่ทราบว่า ปาล์มปลูกและให้ผลผลิตดีในภาคใต้

ที่นำมาเขียนถึงเพราะมีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรนำปาล์มมาปลูกในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรจากภาคใต้ที่มาซื้อที่ดินในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และขณะนี้มีเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรได้ปรับเปลี่ยนตาม ในขณะนี้ปาล์มในจังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,000 ไร่ ผลงานทางวิชาการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเขตไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน

คุณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสร สัมทับ อยู่บ้านเลขที่21 หมู่ที่ 12 บ้านดาดเจริญ ตำบลอ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 

จบปริญญาตรีและเคยทำงานบริษัทญี่ปุ่น บริษัทน้ำมัน เป็นสื่อมวลชน และเอ็นจีโอ ได้ออกมาทำการเกษตรปลูกพืชหลากหลายชนิด ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่คุณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสร ได้ให้ความสนใจปลูกในพื้นที่ 30 ไร่ ปัจจุบันปาล์มมีอายุ 1-3 ปี ปาล์มที่มีอายุ 3 ปีให้ผลผลิตแล้ว

ในการปลูกปาล์ม คุณศักดิ์ชัย และคุณตฤณสรว่าการปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรต้องให้น้ำช่วย เพราะปาล์มเป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำฝนมาก ความชื้นในอากาศสูง และจังหวัดกำแพงเพชรมีอุณหภูมิสูงในฤดูร้อนและอากาศเย็นในฤดูหนาวเป็นสภาพที่อุณหภมิไม่ค่อยเหมาะสม 

พันธุ์ปาล์มที่นำมาปลูกใช้เทเนอรา 

การปลูกปาล์มในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรจึงเป็นการศึกษาหาความรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาอย่างน้อยอีก 5 ปีว่าผลผลิตทีได้จะคุ้มค่าหรือไม่ สำหรับการเจริญเติบโตทางต้นถือว่าต้นปาล์มเจริญเติบโตดีพอสมควร

ผลงานทางวิชาการกับทดลองทำจริงอาจจะได้คำตอบที่เหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้แต่มีการทดลองได้ปฏิบัติจริงจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดแต่การปลูกปาล์มครั้งนี้คงต้องอาศัยระยะเวลานานหลายปี
Read more ...

เติมเต็มครบวงจร สู่พลังงานทดแทน จากโครงการปลูกปาล์มน้ำมันล้านนา

23/2/54
รศ.ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์
ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล

9/2/2011

การริเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันนประเทศไทยเมื่อประมาณ 40 ปีมานี้ ถ้าจะถามว่าได้มีการพัฒนากันไปถึงไหนแล้ว ก็คงตอบได้ว่า มีไม่มาก โดยเฉพาะช่วงกลางๆ ระหว่างปี 2530-2545 เกือบพูดได้ว่า ปาล์มน้ำมันในประเทศไทยช่วงนั้น หลับสนิท ในขณะที่มาเลเซีย มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เขามีการให้ความสนใจเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอย่างจริงจัง และดูเหมือนว่าเขาสนใจให้การสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศเขามากกว่ายางพาราเสียด้วยซ้ำไป มาเลเซียมีปัญหาที่เขาคาดเหตุการณ์ว่า

ในอนาคตจะเป็นเรื่องของแรงงานในการกรีดยางอย่างแน่นอน เลยมีการปลูกปาล์มน้ำมันกันยกใหญ่ ลดพื้นที่การปลูกยางตามลำดับ นั่นก็คือเมื่อโค่นยางพาราที่อายุครบ ก็ปลูกปาล์มน้ำมัน แทนที่จะปลูกยางพาราอย่างที่เคยทำมา ในอดีต มาเลเซีย เคยเป็นประเทศที่ปลูก และส่งออกยางพารามากที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันกลายเป็นประเทศไทย ส่วนมาเลเซียก็เป็นประเทศที่ปลูก และผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดในโลก

ประเทศไทยเรามีการปลูกปาล์มน้ำมันกันทั้งประเทศประมาณ 3 ล้านกว่าไร่ เทียบไม่ได้เลยกับประเทศมาเลเซีย แต่ก็ยังดีที่มีผู้สนใจปลูกกันมาก โดยเฉพาะในภาคใต้ การปลูกปาล์มน้ำมันนั้นในอดีตเคยมีปัญหารเรื่องราคาผลปาล์ม ซึ่งตกต่ำเหลือ กิโลกรัมทะลายสด บาทกว่าๆ เมื่อเป็นอย่างนี้เลยทำให้การขยายพื้นที่ปลูก ลดน้อยลง แต่แล้วเมื่อประเทศ และชาวโลกมีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่สูงทำลายสถิติ คนทั่วโลกและคนไทยที่ใช้น้ำมันเป็นกิจวัตรประจำวันก็ตกใจ หันมาหาพลังงานทดแทนกันยกใหญ่

พลังงานทดแทนที่ว่ากันนั้นก็เป็นเรื่องของน้ำมันไบโอดีเซล และแก๊สโซฮออล์ ซึ่งทำมาจากผลผลิตเกษตร เรื่องของไบโอดีเซลนั้นก็คงเป็นเรื่องของปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำ ในช่วงนั้นไปไหนมาไหนมีแต่คนพูดถึงปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำกันทุกหย่อมหญ้า ความต้องการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเพียง 2 เปอร์เซนต์ ที่เรียกว่า B2 นั้นก็ไม่รู้ว่าจะเอาไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชอะไร 

ในช่วงนั้นยอดการใช้น้ำมัน ดีเซลทั้งประเทศ วันละ 40 กว่าล้านลิตร ส่วนผสมเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ก็มีปริมาณมากมายมหาศาล และต้องมีการปลูกปาล์มน้ำมัน หรือสบู่ดำหลายแสนไร่จึงจะพอผสมในน้ำมันดีเซล พื้นที่ปลูกในภาคใต้ก็แทบไม่เหลือ เพราะได้มีการปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันดั้งเดิมอยู่แล้ว เรื่องการหาพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันในที่ใหม่ ก็ไม่มีข้อมูล หรือได้ทดสอบมาก่อน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ในอดีตไม่มีใครคิดว่าจะขยายเนื้อที่การปลูกปาล์มน้ำมันกันอีกแล้ว เพราะตอนนั้นไบโอดีเซลก็ยังไม่เกิด ไม่มีรัฐบาลไหนพูดถึง แล้วก็ยังคิดว่าปาล์มน้ำมนที่ปลูกกันขณะนั้นก็เกินความต้องการของตลาด

ในสมัยนั้น้ำมันปาล์มก็ส่งเข้าโรงกลั่นอย่างเดียว เมื่อมีปัญหาน้ำมันแพง ไบโอดีเซลก็เป็นพระเอก ปาล์มน้ำมันก็ได้รับความสนใจ โดยมีแนวคิดจะปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ ในภาคอื่นๆ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคอีสาน จากความคิดและนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ประเทศชาติมีน้ำมันไบโอดีเซลใช้กัน ก็เลยมีการที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ปลูกใหม่ดังกล่าว ทางศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการทดสอบวิจัยการปลูกในภาคเหนือ ดินแดนล้านนาที่ไม่เคยมีใครปลูกมาก่อนเลย

โครงการวิจัยนี้ เป็นโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมันและพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจรในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา

การวิจัยปาล์มน้ำมันแห่งล้านนา

การทดสอบวิจัยการปลูกปาล์มน้ำมันของโครงการวิจัยนี้ ได้ปลูกในพื้นที่จังหวัด ลำพูน และเชียงใหม่ ได้มีการทดสอบในเรื่องของการเปรียบเทียบสายพันธุ์ การให้น้ำ การจัดการปุ๋ย และการจัดการต่างๆ ในสวนปาล์มน้ำมันทั้งในที่สูงและที่ลุ่ม ผลการวิจัยเป็นที่น่าพอใจ โดยได้มีการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะเป็นระยะๆตลอดมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสาธิตควบคู่กันไป ซึ่งเป็นการหาคำตอบว่าจะปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือได้หรือไม่ ถ้าได้ จะต้องมีเงื่อนไข หรือตัวแปรปัจจัยอะไร เช่น

- เนื้อดิน 
- คุณสมบัติดิน 
- ความชื้นดิน 
- การชลประทาน 
- ทุนของเกษตรกร 
- ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกร และ
- การจัดตั้งโรงงานหีบน้ำมันปาล์มในพื้นที่ 

การปลูกปาล์มน้ำมันในล้านนานั้น ได้มีเกษตรกรหน่วยกล้าตายในจังหวัดเชียงราย ตัดสินใจปลูกกันมาบ้างแล้ว โดยยังไม่มีการนำผลการวิจัยมาสนับสนุนแต่อย่างไร เกษตรกรในจังหวัดเชียงรายยังได้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันล้านนาขึ้น ปัจจุบันเชื่อว่ามีการปลูกในจังหวัดเชียงรายประมาณ หมื่นไร่

ผลผลิตที่ได้ในการปลูกที่เชียงรายก็ได้ส่งไปยังโรงงานที่จังหวัดชลบุรี และเมื่อเร็วๆนี้ก็ได้มีการสร้างโรงหีบน้ำมันปาล์มขึ้นที่เชียงแสน เพื่อรับผลปาล์มน้ำมันเข้าหีบในพื้นที่ ลดค่าขนส่งได้อย่างมาก
การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคเหนือ ล้านนา เท่าที่เกรงกันก็คือ ปริมาณน้ำฝน อากาศหนาว และความชื้นอากาศ เรื่องต่างๆเหล่านี้ได้มีการวิจัยจากโครงการอย่างละเอียด โดยได้มีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การออกดอก การผลิตทางใบ การตอบสนองของปาล์มน้ำมันต่อสภาพแสดล้อม จึงน่าจะเป็นการวิจัยปาล์มน้ำมันที่ละเอียดที่สุด ผลการวิจัยมีคุณค่าอย่างมาก เพราะจะเป็นคำตอบเพื่อใช้ในการตัดสินใจของเกษตรกรที่คิดจะปลูกใหม่ในล้านนา

เรื่องของพืชกรรมทางพืชของปาล์มน้ำมันนี้ ก็กำลังทำการวิจัยต่อไป เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุยาวนานกว่า 25 ปี การวิจัยจำเป็นต้องทำต่อไปอย่างงต่อเนื่อง การให้ผลผลิตที่ดี หรือไม่ดีในช่วง 5-6 ปีแรก ก็ยังไม่แน่ ในช่วงต่อไปอาจเปลี่ยนแปลงได้ ต้องรอดูผลต่อไปอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยทางการเกษตรนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก เพราะมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องมากมาย การสรุปผลออกมานั้นต้องใช้เวลา และการวิจัยมากมาย จึงจะสามารถสรุปให้คำตอบอย่างถูกต้อง เรื่องของการวิจัยปาล์มน้ำมันในสวนผลออกมาย่างไร ก็ว่ากัน แต่การวิจัยพัฒนาต่อจากการวิจัยทางการเกษตรก็ยังมีอีกมากมาย ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินการต่อไป

การพัฒนาโรงงานหีบน้ำมันปาล์ม

เมื่อได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันแล้ว สิ่งที่จำเป็นมากที่สุดก็คือกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม หรื่อที่เรียกว่า การหีบน้ำมันปาล์ม เพราะลูกปาล์มจะต้องผ่านกระบวนการหีบเพื่อให้ได้น้ำมันออกมา ขั้นตอนการหีบมีรายละเอียดมากมาย ไม่ใช่เพียงนำลูกปาล์ม มาใส่เครื่องหีบเฉยๆ โรงหีบน้ำมันปาล์มก็จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ ไม่ไกลจากสวนมากนัก เพราะจะเสียค่าขนส่ง การหีบปาล์มน้ำมันในประเทศไทยนั้น ทั้งหมดจะเป็นระบบหีบแบบนึ่ง ไอน้ำความดัน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ การขนส่งปาล์มน้ำมันจากภาคอื่นส่งที่ภาคใต้เป็นไปไม่ได้ เพราะไกลมาก

ทางโครงการวิจัยนี้ จึงได้มีการค้นคิดระบบการสกัดน้ำมันปาล์ม แบบ สวนทฤษฎี หรือที่เรียกว่า แวกแนว คิดนอกกรอบ โดยจะเป็นการหีบระบบแห้ง ซึ่งต้นทุน ราคาโรงงานจะต่ำกว่าโรงงานระบบเดิม และยังมีความเป็นไปได้ในพื้นที่ปลูกใหม่ที่มีสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มากเท่าสวนปาล์มในภาคใต้ และที่สำคัญที่สุด ก็คือการหีบระบบแห้งนี้ไม่มีน้ำเสีย ไม่เกิดมลภาวะ ไม่เสียค่าบำบัด

กระบวนการหีบปาล์มน้ำมันนี้ เป็นการอบผลปาล์มน้ำมันด้วยพลังงานความร้อนจากชีวมวลในท้องถิ่น ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิ และระยะเวลาอย่างแม่นยำ ไม่ ร้อน หรือใช้เวลานานหรือน้อยไป ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพน้ำมัน และปริมาณน้ำมัน

ขั้นตอนการหีบน้ำมันปาล์มระบบแห้งนี้มีมากมาย โดยเฉพาะการฉีก และแยกลูกปาล์มออกจากทลาย การใช้แรงงานคนนั้นทำได้แต่ต้นทุนสูง โครงการวิจัยนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องดังกล่าวที่สามารถใช้ได้ดี
กระบวนการมีของใช้ไร้ของเสีย
เรื่องของกระบวนการที่เรียกว่า ของเสียเป็นศูนย์ หรือ ไร้ของเสีย ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Zero Waste นั้น น่าสนใจ และถูกพูดถึงทุกวงการ การปลูกปาล์มน้ำมัน การสกัดน้ำมันปาล์ม การแปรรูปน้ำมันปาล์ม ก็มความจำเป็นต้องพูดถึงกระบวนการไร้ของเสีย เช่นกัน ของเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม พวกน้ำเสีย ในกระบวนการหีบปาล์มแบบเก่า เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม กลิ่น ซึ่งชุมชนจะต่อต้าน

การแก้ปัญหานี้ก็คือ การแก้ที่ต้นเหตุ โดยการหีบน้ำมันระบบแห้ง ซึ่งจะไม่มีน้ำเสียออกมาเลย แต่ถ้าเป็นการหีบแบบเก่า ก็มีทางออกโดยการนำเอาน้ำเสียเหล่านั้นไปทำเป็นแก๊สชีวภาพ ปั่นไฟขายได้ เป็นการทำลายได้ แล้วก็มีไฟฟ้าใช้ อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าบำบัด และที่สำคัญก็คือการได้ผลตอบแทนเรื่องของคาร์บอนเครดิตอีกด้วย

ของเหลือจากโรงงานสะกัดน้ำมันปาล์มอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทลายเปล่า หลังการแยกลูกปาล์มออกมา แล้ว จะมีทลายเปล่าแยกออกมา โดยทั่วไป ถือว่าส่วนของทลายเปล่าเป็นเศษเหลือ หรือของเสีย ทลายเปล่าเหล่านี้แต่ละโรงงานแต่ละวันมีมากมายมหาศาล ถ้าถูกกองทิ้งไว้ก็เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ในเรื่องนี้ มีแนวทางก็คือการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ด แต่ปริมาณการผลิตแต่ละวัน กับปริมาณการใช้ต่างกันมาก พูดง่ายๆก็คือ เหลือเยอะ นั้นแหละ จึงได้มีการนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล แบบใช้เผาเพื่อผลิตไฟฟ้า หรืออบลูกปาล์มโดยตรงก็ได้ มีประโยชน์ และไม่ต้องเสียค่าทำลาย

การนำทลายเปล่ามาเพิ่มค่าความร้อนนั้นทำได้ โดยได้มีการพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ ตามมาตรฐาน ก็จะยิ่งมีมูลค่ามากขึ้น การใช้เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบนี้จำเป็นต้องใช้ในหัวเผา ที่ได้พัฒนาเป็นหัวเผาอัจฉริยะ ที่ควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ หัวเผาอัจฉริยะ เชื้อเพลิงแท่งตะเกียบนี้ สามารถนำไปใช้ทดแทนแก๊ส หรือน้ำมันเตา ในการผลิตไฟฟ้า หรือใน Boiler ที่ใช้ในโรงงานต่างๆ

การปาล์มน้ำมัน การสกัดน้ำมันปาล์ม ในพื้นที่ปลูกใหม่ เช่นภาคเหนือนั้น หากได้ผลผลิตออกมามีประโยชน์มาก แต่ถ้าจะให้ได้ผลตอบแทนมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องวิจัยเติมเต็มต่อยอดให้ครบวงจร จึงจะนำไปสู่การปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานทดแทนแห่งล้านนาต่อไป
Read more ...

เครื่องสกัดน้ำมันจากเมล็ดปาล์มน้ำมัน โดย ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์

23/2/54
Read more ...

กระบวนการจัดการปาล์มน้ำมันครบวงจร...เพื่อพลังงานทดแทน

23/2/54
โดย ดร.พรชัย เหลืองอาภาพงศ์ เทคโนโลยีเกษตรแนวใหม่ เมื่อปี 2551
โอกาสการขยายพื้นที่ ปลูกปาล์มในประเทศไทยดูเหมือนว่ากำลังเข้าสู่ความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันดีเซลเฉียด 30 บาทเช่นนี้ การปลูกปาล์มน้ำมันที่มีอยู่เดิมประมาณ 3 ล้านกว่าไร่ ไม่มีทางที่จะเพียงพอกับการที่จะนำมาใส่กับเครื่องยนต์ ซึ่งในปี 2551 นี้ ปริมาณความต้องการใช้ตามนโยบาย B5 ก็ยิ่งไม่มีวัตถุดิบเพียงพอ 

สำหรับเรื่องพื้นที่ปลูกในประเทศไทยนั้นไม่มีปัญหา เพียงแต่ว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนมากน้อยเพียงใด และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเข้าใจของเกษตรกร ซึ่งในปัจจุบันนี้กระแสของยางพารากำลังแข่งขันกับปาล์มน้ำมันอย่างกระชั้นชิด อีกทั้งการปลูกในพื้นที่ใหม่นอกเขตภาคใต้ก็ยังเป็นที่ลังเลใจ หาคำตอบว่าปลูกได้หรือไม่ ส่วนในพื้นที่ภาคใต้เองนั้นการขยายตัวไม่มีปัญหาในเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็อยู่ที่การตัดสินใจของเกษตรกรเองว่าจะเอายางพาราหรือปาล์มน้ำมัน 

การปลูกในพื้นที่ใหม่หรือเก่านี้ ถ้าจะให้มีความเป็นไปได้สูงจะต้องมีการจัดการแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศษเหลือจากสวนและโรงงาน มีความจำเป็นต้องนำมาแปรรูป หรือใช้ประโยชน์ที่มีมูลค่าควบคู่กับการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนที่เรียกว่า ไบโอดีเซล

แนวโน้มการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
จากกระแสการใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันที่ดูจะรุนแรง และฮอตมากขึ้นทุกวันนี้ ทำให้นโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการส่งเสริมปาล์มน้ำมันดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยคาดการณ์จะมีการขยายพื้นที่ปลูกอีกประมาณ 1 ล้านไร่ในปี 2551 ซึ่งบางส่วนก็อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และบางส่วนก็อยู่ในพื้นที่ภาคอื่น เช่น ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแม้แต่ภาคเหนือ 

การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ที่ทำกันมากว่า 40 ปี คำตอบและความเหมาะสมของพื้นที่ชัดเจนเพียงแต่ว่าจะเอาพื้นที่ที่ไหนมาปลูก ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ปลูกใหม่ที่ไม่เคยปลูกพืชพวกยางพารามาก่อน หรือพื้นที่ที่กำลังจะปลูกยางพาราใหม่ หากจะขยายพื้นที่ปลูกในภาคใต้นั้นก็คงต้องมีตัวเปรียบเทียบที่สำคัญอย่าง น้อย 1 อย่างก็คือ ยางพารา ในภาคใต้ของประเทศไทย

โดยเฉพาะในจังหวัดกระบี่มีการคาดการณ์ว่าจะขยายพื้นที่ ปลูกอีก 7 แสนไร่ ซึ่งถ้าเป็นดังนี้กระบี่ก็คงเป็นจังหวัดที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดใน ประเทศไทย การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ที่กำลังจ่อคิวว่าจะลงที่ไหนกันดี ภาครัฐก็ประกาศอย่างกว้างๆว่าจะปลูกในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยยังไม่ได้กำหนดว่าที่ไหน แต่เป็นการตั้งเวลาว่าในปี 2551 นี้จะปลูกกันอย่างจริงจัง ด้วยสาเหตุที่ภาครัฐพูดๆหยุดๆอย่างนี้ก็ทำให้หลายคนเลิกราเกี่ยวกับปาล์ม น้ำมันไป ใน2-3ปีที่ผ่านมาขณะเดียวกันก็มีเกษตรกรที่พร้อมเสี่ยงปลูกกันไปล่วงหน้า บ้างแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง เช่น ในจังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ดินสวนส้มเก่า แถวรังสิต ซึ่งเกษตรกรเหล่านี้ พูดตรงๆก็คือ เป็นบุคคลที่กล้าเสี่ยงด้วยตนเอง ทั้งๆที่พวกเขาเหล่านั้นยังไม่รู้เลยว่าปลูกแล้วจะออกดอกออกผลอย่างไร ซึ่งตามทฤษฎีแล้วบอกว่าปลูกไม่ได้ ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เกษตรกรเหล่านี้ยอมเสี่ยงถึงขั้นที่ว่า ถ้าหากได้ผลผลิตแล้วจะนำส่งโรงงานแถวภาคตะวันออกด้วยตนเอง ไม่กลัวแม้กระทั่งค่าขนส่งที่อาจมีต้นทุนสูง

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่คนไทยเริ่มมีคนพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ข่าวสารที่ออกมาว่าสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนต่างๆ นั้นทำให้ประชาชนมีความ รู้ความเข้าใจมากขึ้น ทั้งๆที่ 30 กว่าปีที่ผ่านมานี้เรารู้เพียงแต่ว่าปลูกปาล์มน้ำมันแล้วสามารถนำมาทำเป็น น้ำมันพืช และสบู่เท่านั้น แต่ความจริงภายใต้ผลผลิตของน้ำมันปาล์มก็คือในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามี ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มหลายอย่าง ปาล์มน้ำมันจึงเปรียบเสมือนพืชมหัศจรรย์ที่อาจเรียกเป็นศัพท์เท่ห์ๆว่า

Amazing Plant 

โดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า น้ำมันปาล์มที่หีบได้ออกมาจากผลปาล์มนี้อาจใช้ประโยชน์ทั้งการอุปโภคและ บริโภคมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ที่กำลังฮอตฮิตอยู่ก็คือ การนำมาทำเป็นไบโอดีเซล ซึ่งมีปริมาณความต้องการมากแบบไร้ขีดจำกัด เพราะทุกนาทีมีความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อทำไบโอดีเซลอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้

ในรอบปีที่ผ่านมานี้ ปริมาณการขายน้ำมัน B5 อยู่ที่ประมาณ 200,000 ลิตร/วัน แต่สำหรับในปี 2550 นี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีปริมาณการใช้ B5 เพิ่มขึ้นตามลำดับล่าสุดมีการใช้อยู่ที่ 2,000,000 ลิตรต่อวัน การใช้ในปริมาณมากขึ้นนี้จะมีผลทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้น ระยะยาว ดังนั้น เรื่องของการกำหนดเวลาการปลูกปาล์มน้ำมัน จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดต้องมาคำนวณ เพราะการที่จะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่เรียกว่า ค่าเฉลี่ย 3-5 ตัน/ไร่ เป็นผลผลิตในช่วงปีที่ 7-8 ไปแล้ว 

แต่อย่าลืมว่าหากจะนำต้นปาล์มลงปลูกในแปลง และให้ผลผลิตตามสถิติจะต้องตั้งเวลาตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ด การเพาะเลี้ยงในถุงและการปลูกในแปลง รวมๆแล้วนานกว่า 9 ปีแน่นอน ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเป็นเรื่องเป็นราวจึงต้องใช้เวลาหลายปี 

ดังนั้นทั้งภาครัฐและเกษตรกรควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและเวลา มิใช่คิดว่าจะปลูกปีหน้าก็ขุดหลุมปลูกและเก็บผลผลิตได้เลย เรื่องสำคัญก็คือ การที่จะประกาศว่าใช้น้ำมันปาล์มเท่าไรนั้นจะต้องคิดถึงช่วงเวลาที่ต้องรอ คอยด้วย

การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ก็มีการพูดกันอยู่ประปราย แต่เอาเข้าจริงๆก็ยังกำหนดไม่ได้ทั้งที่เกษตรกรกลัวและสิ่งที่นักวิชากร หรือภาครัฐไม่กล้าตอบก็คือ ถ้าปลูกในพื้นที่นอกเขตภาคใต้แล้วจะได้ผลหรือไม่ เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ไม่เหมือนกับพืชที่เก็บผลผลิตอย่างอื่น ต้นปาล์มจะให้เงินให้ทองแก่เจ้าของสวนก็คือเมื่อมีการออกดอกออกผล เรื่องของการรวมตัวกันปลูกเป็นกลุ่มก็มีความสำคัญไม่น้อย ถึงแม้ว่าจะมีการปลูกปาล์มน้ำมันได้ในพื้นที่ปลูกใหม่ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ 

โรงหีบ 

ดังนั้นการจะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ จึงมีความจำเป็นต้องรวมเป็นกลุ่มแล้วทำการหีบรวมกันในชุมชน ความฝันที่ว่าจะมีโรงงานหีบปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ที่มีกำลังการผลิต 40-50 ตัน/ชั่วโมง คงเป็นไปได้ยาก เพราะพื้นที่ที่จะปลูกเพื่อส่งโรงงานขนาดใหญ่จะต้องมีการปลูก 60,000-70,000 ไร่ขึ้นไป

การขยายตัวการปลูกปาล์มน้ำมันทั้งในพื้นที่ดั้งเดิมภาคใต้ และการปลูกใหม่นี้จะเป็นไปได้ตามความฝันหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
ภาครัฐเป็นตัวการ สำคัญ 
รองลงมาก็คือ สถาบันการเงิน และ
สุดท้ายก็คือ ตัวเกษตรกรเอง 

ส่วนองค์ประกอบอื่นๆก็คือ สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ และอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยหลักทั้งสิ้น การขยายพื้นที่ปลูกถ้าจะพูดให้เจาะลึกลงไปก็คือ จะต้องมีการพูดถึงราคาของฟาร์มของครอบครัวหรือเกษตรกรแต่ละราย ซึ่งความเป็นไปได้ในพื้นที่ปลูกใหม่นี้ อย่างน้อยๆคงจะต้องเป็นระดับรายละ 20-30 ไร่ขึ้นไป แต่ก็คงมีบางรายที่มีพื้นที่ปลูกเป็นร้อยไร่ซึ่งก็คงมีไม่มากนัก นโยบายการขยายพื้นที่ปลูกนี้คงจะเร่งทำเร่งปฏิบัติ เพราะมีผู้รอคำตอบอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรที่สิ้นหวังจากการเกษตรอื่นๆมาแล้ว การตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะปลูกแล้วปาล์มน้ำมันจะอยู่กับเกษตรกรอย่างน้อย 25 ปีขึ้นไป การที่จะปลูกไปแล้วนึกจะเลิกปลูกเสียก็คงไม่น่าทำกัน เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ เสียเวลาและเสียโอกาส ภาครัฐควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้ในเชิงวิเคราะห์แก่เกษตรกรที่สนใจปลูก ในพื้นที่ปลูกใหม่ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ การจัดระบบ การจัดการในลักษณะของกลุ่มผู้ปลูก และผลิตไบโอดีเซลชุมชน โดยจะต้องมีการจัดการแบบครบวงจรถึงจะไปสู่จุดเป้าหมายได้อย่างเรียบร้อย ไม่มีอุปสรรคและปัญหาตามมาเหมือนพืชชนิดอื่นที่ล้มเหลวมาตลอด

ปลูกปาล์มน้ำมันให้คุ้มค่าต้องมีการจัดการแบบครบวงจร
จะว่ากันไปแล้วปาล์มน้ำมันถึงแม้จะเป็นพืชยืนต้นที่มีระยะปลูกห่าง จะให้ผลผลิตต้องใช้เวลา 2-3 ปีขึ้นไป แต่ก็มีข้อดีอีกหลายอย่างที่ต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้การปลูกปาล์มน้ำมันในแต่ละไร่ได้ผลคุ้มค่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีระยะปลูกกว้าง ซึ่งตามหลักวิชาการที่ปลูกกันมาช้านาน คือ ใช้ระยะปลูกแบบ 

9 x 9 x 9 เมตร แบบสามเหลี่ยม 

ซึ่งจะมีพื้นที่เหลืออยู่ใน 3 ปีแรกอย่างน้อย 70% หากจะทำให้เกิดประโยชน์โดยเกษตรกรอาจจะปลูกโดยคิดเสียว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืช แซมในระยะแรกไปก่อน การปลูกพืชแซมนี้เมื่อมีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ก็จะเท่ากับเป็นการเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีการเจริญเติบโตดีควบคู่กันไป ซึ่งจัดว่าเป็นผลพลอยได้ นอกจากเกษตรกรจะมีรายได้จากพืชแซมโดยตรง

การปลูกพืชแซมในสวนปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่นอกเขตภาคใต้ อาจใช้วิธีการปลูกที่มีระยะห่างมากกว่าระบบเดิม โดยจะปลูกแบบสี่เหลี่ยม ระยะปลูก 9 x 12 เมตร ก็อาจจะเป็นไปได้โดยที่เกษตรกรจะสามารถหารายได้จากพืชแซมระหว่างปาล์มน้ำมัน ได้มาก และยาวนานขึ้นอีก ทั้งนี้อาจเป็นลดความเสี่ยงในเรื่องของการปลูกแบบระบบพืชเดี่ยว

วิธีการดังกล่าวที่พูดมานี้ ก็ได้มีการทดสอบและวิจัยกันอย่างจริงจังใน“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน และพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร ในพื้นที่ตัวอย่างเขตภาคเหนือ” ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินงานโดย 

ศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ซึ่งได้ทดลองวิจัยเกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเจ้าของความคิดเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคเหนือ คือ 

ดร.พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน 

คนปัจจุบัน เนื่องจากต้องการให้นักวิชาการได้ศึกษาค้นหาคำตอบของการปลูกปาล์มน้ำมันใน พื้นที่ภาคเหนือกันอย่างจริงจัง ซึ่งผลงานวิจัยได้ทยอยออกสู่สายตาประชาชนแล้วเป็นระยะๆ

เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุให้ผลผลิต รายได้จากสวนปาล์มเมื่อคำนวณจากสวนซึ่งเป็นน้ำมันที่อยู่ในผลและเนื้อใน การทำน้ำมันปาล์มทั้ง 2 ส่วนมาทำเป็นพลังงานทดแทนจะมีโอกาสมากที่สุด เพราะปัญหาเรื่องตลาดจะหมดไป เพียงแต่ว่าจะทำให้มีคุณภาพเพื่อผลิต การจัดการเศษเหลือของโรงงาน เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะเรื่องทะลายเปล่าหรือการส่งเข้าโรงหีบจะเป็นมูลค่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทะลายเปล่า จะมีอยู่ประมาณ 25% จากน้ำมันรวมทะลาย ซึ่งเศษเหลือ 25% นี้โอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างมาก คือ 

การทำปุ๋ย และเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ 

การทำเชื้อเพลิงชีวภาพอาจทำในรูปของเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นแบบ Gasifier ระบบเก่า ก็ล้วนแต่มีประโยชน์อย่างมากเหมือนกัน ในส่วนของกากใยหลังการหีบที่มีอยู่ประมาณ 7% ก็สามารถนำไปใช้รูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ย สำหรับเศษเหลือในส่วนของของกะลามีอยู่ประมาณ 15% ก็มีประโยชน์อย่างมหาศาล นอกจากสามารถจะใช้เป็นเชื้อเพลิงธรรมดายังสามารถนำมาใช้เป็นActivated charcoal ซึ่งถือว่าเป็นเศษเหลือที่มีราคาสูง

น้ำเสียจากโรงงานในการหีบแบบดั้งเดิมที่ปรากฏว่า ใน 1 ตันน้ำมันที่หีบได้ จะมีน้ำเสียที่เกิดขึ้นถึง 3-4 คิว น้ำเสียเหล่านี้อาจไม่เป็นของเสียอีกต่อไป โดยการจัดการให้เป็น Biogas ที่มีคุณภาพกว่า

เศษเหลือในสวนปาล์มอันได้แก่ 

ทางใบที่ต้นปาล์มผลิตขึ้นประมาณ 2 ทางใบต่อเดือน 

แต่เดิมมีการรวบรวมไว้ในสวนอย่างไร้คุณค่า แต่ในการทำสวนปาล์มมิติใหม่ ทางใบเหล่านี้สามารถนำมาย่อยแล้วใช้เป็น

อาหารสัตว์ หรือแม้แต่นำมาใช้เป็นปุ๋ยในสวนปาล์ม 

และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ใช้เป็นพลังงานชีวมวลเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป การจัดการแบบครบวงจรดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีการที่ไม่มีของเหลือ ของเสียหรือขยะจากสวนปาล์ม และโรงงานปาล์มอีกต่อไป ส่วนต่างๆเหล่านี้นับว่ามีประโยชน์อย่างมากที่เราไม่ควรมองข้าม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็ไม่ควรเรียกชื่อส่วนต่างๆเหล่านี้ว่า ของเสียอีกต่อไป ถ้าจะนำมาคำนวณแล้ว จะพบว่า มูลค่าและการใช้ประโยชน์จากส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันจะมีไม่น้อยกว่าน้ำมันปาล์มอย่างแน่นอน 

เรื่องของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเก่าภาคใต้และพื้นที่ปลูกใหม่นั้นควรมี การมีการจัดการทั้งระบบแบบใหม่ที่คิดแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ซึ่งจะได้ทั้ง

พลังงานทดแทน ที่เรียกว่า Biodiesel และ
พลังงานทดแทนจากชีวมวลของสวนปาล์ม และ
โรงงานปาล์มเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในชุมชน 
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน 
การเลี้ยงสัตว์
การปลูกพืชแซมเสริมรายได้ 

ทำเพียงแค่นี้เกษตรกรไทยก็จะอยู่รอด ประเทศไทยก้าวไกลในเรื่องของพลังงาน และเศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะการต่อสู้วิกฤติภาวะโลกร้อน
Read more ...

ปัญหาที่ดิน

22/2/54
88. จะโอนที่ดินให้กับทายาท หรือจะถูกเพิกถอนเพราะขาดคุณสมบัติ แล้วถูกยืดที่ดินคืนหลวงหรือไม่

หลัก การจัดที่ดินของส.ป.ก.คือจัดให้กับเกษตรกรทำประโยชน์ ดังนั้น เมื่อเป็นข้าราชการต้องถือว่าขาดคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามกฎหมายปฏิรูป ที่ดินฯ จึงหมดสิทธิที่จะได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จำเป็นจัดที่ดินให้กับทายาทของคุณที่เป็นเกษตรกร เช่น บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ในที่ดินเอกชน(โฉนด /น.ส.3) ที่ส.ป.ก.จัดซื้อมาแล้วจัดให้ออกจะดูเป็นธรรม แต่ที่ดินของรัฐที่เกษตรกรถือครองอยู่ก่อนหรือซื้อมาก่อนการปฏิรูปที่ดิน ดูว่ากฎหมายจะไม่ให้ความเป็นธรรม หลายคนจึงเห็นว่าสมควรให้มีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยเร็ว
87. ซื้อที่ สปก. และได้แจ้งเปลี่ยนชื่อแล้วจะมีปัญหาหรือไม่


ถ้า คุณซื้อมาก่อนส.ป.ก. ทำการสำรวจรังวัด หรือก่อนการสอบสวนสิทธิ หรือก่อนคัดเลือกรับมอบที่ดิน ไม่เป็นไร ไปแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลสอบสวนสิทธิใหม่ได้ แต่ถ้าซื้อภายหลังได้คัดเลือกและมอบที่ดินให้กับผู้ขายไปแล้ว จะหมดสิทธิทั้งคู่(ผู้ขายและผู้ซื้อ) ก็ลองนึกดูว่าเข้ากรณีใหน ส่วนการรังวัดแบ่งแยกอาจอยู่ในขั้นตอนก่อนคัดเลือกก็ได้ ลองไปตรวจสอบดู
86. เกษตรกร 1 รายสามารถมีพื้นที่ที่เป็น สปก. ได้มากที่สุดกี่ไร่ หากมีที่อยู่แล้ว 40 ไร่ปลูกต้นไม้และปลูกพืชผัก เต็มหมด สามารถรับมรดกจากบิดาอีก 20 ไร่ ได้อีกหรือไม่โดยต้องการที่จะใช้เลี้ยงสัตว์เช่นวัวเนื้อ เป็นต้น มีวิธีแบ่งแยกอย่างไร


ที่ ดินที่ส.ป.ก.ได้มาจะจัดให้ใช้ประกอบเกษตรกรรมได้ไม่เกิน 50 ไร่โดยคิดรวมทั้งบุคคลในครอบครัวคือคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ด้วย แต่ ถ้าประสงค์จะใช้ที่ดินเลี้ยงสัตว์ใหญ่(โค กระบือ ม้า) ส.ป.ก.จะจัดให้ได้ไม่เกิน 100 ไร่ โดยต้องแสดงได้ว่ามีความสามารถและปัจจัยที่จะทำได้พร้อมคำรับรองจากกรมปศุ สัตว์ โดยไปยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานที่ส.ป.ก.จังหวัด ถ้าต่อมาเกิดเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ว่า ส.ป.ก.จะเพิกถอนการอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรเพื่อนำไปจัดให้ กับเกษตรกรอื่นต่อไป กรณีของคุณถ้าประกอบการเกษตรจะได้อีก 10 ไร่ แต่ถ้าใช้เลี้ยงสัตว์ใหญ่สามารถรับจากบิดาได้ทั้ง 20 ไร่ อย่างไรก็ตาม การขอมีที่ดินเกินสิทธิเพื่อเลี้ยงสัตว์ใหญ่ อำนาจพิจารณาเป็นของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี รมว.เกษตรฯเป็นประธาน

85. สค.1หมายความว่าอย่างไร ช่วยตอบที


แบบ แจ้งการครองครองที่ดิน(ส.ค. 1)คือใบแจ้งการครอบครองที่ดิน เป็นหลักฐานว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่(แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.1อีกแล้ว)ส.ค.1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เพียงเป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น รายละเอียดนอกจากนี้สอบถาม ปชส.ของกรมที่ดิน

84. อยากจะขอที่ดิน ส.ป.ก.หรือพื้นที่ถูกแผ้วถางรกร้างวางเปล่าที่ติดกับแนวเขตอุทยานฯเพื่อเลี้ยงสัตว์


ที่ ดินที่ส.ป.ก.ได้มาจะจัดให้ใช้ประกอบเกษตรกรรมได้ไม่เกิน 50 ไร่โดยคิดรวมทั้งบุคคลในครอบครัวคือคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ด้วย แต่ ถ้าประสงค์จะใช้ที่ดินเลี้ยงสัตว์ใหญ่(โค กระบือ ม้า) ส.ป.ก.จะจัดให้ได้ไม่เกิน 100 ไร่ โดยต้องแสดงได้ว่ามีความสามารถและปัจจัยที่จะทำได้พร้อมคำรับรองจากกรมปศุ สัตว์ โดยไปยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานที่ส.ป.ก.จังหวัด ถ้าต่อมาเกิดเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ว่า ส.ป.ก.จะเพิกถอนการอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรเพื่อนำไปจัดให้ กับเกษตรกรอื่นต่อไป อย่างไรก็ตาม การขอมีที่ดินเกินสิทธิเพื่อเลี้ยงสัตว์ใหญ่ อำนาจพิจารณาเป็นของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี รมว.เกษตรฯเป็นประธาน

83. ที่ดินของพ่อผม อยู่ในเขต ส.ป.ก. แต่ไม่ได้แจ้งรังวัด (ที่ข้างเคียงเป็น ส.ป.ก.) จะมีผลอย่างไร และต้องทำอย่างไรต่อไป


ไม่ ทราบว่าที่ดินที่บิดาคุณครอบครองเป็นที่แปลงใหญ่ที่กำลังเป็นข่าวอยู่หรือ เปล่า ...จะใช่หรือไม่ไม่เป็นไรให้ไปแจ้งการครอบครองกับเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.เพื่อได้สำรวจรังวัดและรับรองสิทธิให้ตามที่กฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนด (หรือถ้ามีเอกสารสิทธิใดๆก็นำไปยืนยันพิสูจน์ความจริงกันได้) อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ดินที่ซื้อมานั้นเป็นที่ดินของรัฐ เป็นที่มือเปล่า ย่อมมีปัญหาเรื่องการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องยอมรับหากปัญหานั้นเกิดขึ้น ส่วนการแก้ไข ขอแนะนำให้ไปแจ้งการครอบครองกับส.ป.ก. เพราะเห็นว่ากระบวนการปฏิรูปที่ดินเท่านั้นที่สามารถช่วยให้ได้ กรรมสิทธิ์(โฉนดที่ดิน)ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เช่นนั้นคุณคงต้องปวดหัวกับเรื่องที่ดินแปลง(ใหญ่)นี้ไปอีกนาน

82. ปัจจุบันบิดาได้รับจัดสรรที่สปก.จำนวน 50 ไร่ กรณีถ้าบิดาเสียชีวิตที่ดินสปก.จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร


ส.ป.ก. อนุญาตให้ทายาท(ของผู้เสียชีวิต)รับมรดกสิทธิที่ดิน ดังนี้ 1.คู่สมรส หรือ บุตร 2.บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ที่ดินที่บิดาคุณได้รับนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ดังนั้น ทายาทที่มีสิทธิจึงเป็นไปตามที่ส.ป.ก.กำหนด ไม่ใช่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่ง-พาณิชย์เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ

81. วีธีการดำเนินการในการซื้อที่ดินของ ส.ป.ก. จากเอกชน มาปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม


ตาม กฎหมายปฏิรูปแล้ว ที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม หากใครมีที่ดินแล้วไม่ทำการเกษตรจะเก็บไว้ได้เพียง 20 ไร่ หากทำการเกษตร จะเก็บไว้ได้ 50 ไร่ เท่านั้น ส่วนที่เกินสิทธิ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือเวนคืนเพื่อนำไปจัดให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องราคาและนโยบายของรัฐ ทำให้การจัดซื้อที่ดินต้องชลอไปก่อน

80. คำว่า" ห้ามโอน " ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินฯ มีความหมายว่าห้ามโอนโดยทางนิติกรรมหรือรวมถึงโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม


โอน ทางอื่นนอกจากนิติกรรมคืออะไรครับ และการโอนอย่างว่าสิทธิในที่ดินนั้นติดไปด้วยหรือเปล่า ช่วยยกตัวอย่างให้ชัดจะได้ช่วยตอบให้ชัดเจน

79. ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินคิดอย่างไร


ที่ดิน ของรัฐที่ ส.ป.ก.เป็นเจ้าของไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอน แต่ถ้าเป็นที่ดินเอกชนที่ ส.ป.ก.จัดซื้อมา เมื่อเกษตรกรชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ เกษตรกรต้องเสียค่าโอนร้อยละ 1 ของราคาประเมินของกรมที่ดิน

78. อาโอนที่ดินให้หลานตัวได้หรือไม่


ตาม กฎหมายปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.เป็นเจ้าของที่ดิน คุณไม่มีสิทธิโอนให้ใครยกเว้นตกทอดทางมรดกให้ สามี ภรรยา และบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนแล้วจึงจะถึงเครือญาติ แต่ต้องเป็นเกษตรกรด้วย ดังนั้น หลานต้องไปยื่นคำร้องขอรับการจัดที่ดินก่อน

77. ซื้อที่ดินมีใบ สทก. ทำอย่างไรจึงจะได้ใบ ส.ป.ก.4-01


ที่ดิน นั้นต้องอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ต้องทำหนังสือยินยอมสละสิทธิ สทก.และต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามระเบียบข้อบังคับและผ่านการคัดเลือก ของ ส.ป.ก.

76. ซื้อที่ดินมีใบ ภบท.5 เท่านั้นไม่มีหลักฐานอื่น ถ้า ส.ป.ก. มาจัดที่ดินให้จะได้รับที่ดินไหม


การ ซื้อที่ดินที่มีใบ ภบท.5 และคุณเสียภาษีต่อจากคนเดิม แสดงว่าคุณได้ถือครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาจากคนเดิม แต่เป็นการถือครองมือเปล่าเพราะเป็นที่ของรัฐ ถ้าที่ดินนั้นอยู่ในพื้นที่ของ ส.ป.ก.หรือประกาศเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดให้ใคร ส.ป.ก.จะสอบสวนสิทธิและรังวัดที่ดิน ซึ่งคุณจะต้องชี้แนวเขตและคุณต้องเป็นเกษตรกรที่ทำกินด้วยตนเองเต็มเวลา ไม่มีอาชีพอื่นและที่ดินที่อื่นที่เพียงพอแก่การครองชีพ รวมทั้งต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรก่อน จึงจะได้รับที่ดินนี้

75. ใบ ภบท.5 คืออะไร


ใบ ภบท.5 คือ หลักฐานการเสียภาษี บอกแต่เพียงชื่อที่ปรากฎอยู่ว่าเป็นผู้ที่สียภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ไม่ได้แสดงหลักฐานการครอบครอง

74. น.ส.3 คืออะไร


น.ส.3 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ออกโดยกรมที่ดิน

73. ส.ท.ก. คืออะไร


ส.ท.ก. คือหนังสืออนุญาตให้ทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว ออกโดยกรมป่าไม้

72. ส.ป.ก. จัดที่ดินให้นายทุน ได้หรือไม่


การ ได้รับที่ดินโดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ คปก.กำหนด โดยขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้ได้รับการจัดที่ดินจะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ และต้องอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ คือ

1. ต้องนำชี้แปลงที่ตนทำประโยชน์ให้ช่างรังวัดจัดทำแผนที่

2. ต้องให้ถ้อยคำในการสอบสวนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญาตามความเป็นจริง หากให้ความเท็จอาจถูกดำเนินคดีอาญาได้

3. ต้องได้รับการรับรองจากผู้ปกครองท้องที่ คือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันว่าเป็นเกษตรกรผู้ทำประโยชน์จริง

4. ต้องผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคัดเลือกเกษตกรซึ่งมีนายอำเภอเป็น ประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ และผู้แทนเกษตรกรในอำเภอเป็นอนุกรรมการ

5. ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน

71. ส.ป.ก.มีวิธีการควบคุมสิทธิในที่ดินอย่างไรบ้าง


ส.ป.ก.มีวิธีการควบคุมสิทธิในที่ดิน 2 ช่วง คือ

1. ช่วงก่อนได้รับกรรมสิทธิในที่ดิน ใน ช่วงนี้ เกษตรกรหรือผู้ประกอบกิจการเกี่ยวเนื่อง หรือผู้ได้รับอนุญาตในการประกอบการ ยังอยู่ในขั้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์สิทธิตามสัญญาเช่าและสิทธิตามสัญญาเช่า ซื้อ ผู้ได้รับสิทธิยังไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสิทธิ การโอนการตกทอดทางมรดกสิทธิและบทลงโทษ

2. ช่วงหลังจากได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เกษตรกร ที่ได้ชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าชดเชยครบถ้วนแล้ว จะได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของตนเอง สามารถจัดการทำประโยชน์ในที่ดินได้ตามประสงค์ แต่จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายปฏิรูปที่ดินมาตรา 39 กล่าวคือ เกษตรกรจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรอาชีพเกษตรกรรม ก็อาจขายที่ดินให้กับ ส.ป.ก. เพื่อจะได้นำไปจัดให้กับเกษตรกรรายใหม่ที่มีความต้องการที่ดินประกอบ เกษตรกรรมต่อไป

70. ขั้นตอนการประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง


การ ที่ ส.ป.ก.จะดำเนินการความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อมแล้วด้วยปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่ใดนั้น ต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ขั้นแรกจะต้องมีการกำหนดเขต ที่ดินท้องที่นั้นให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ และเสนอ คปก. ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน อนุมัติกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน

2. จัดทำแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

3. จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาและบันทึกคำชี้แจงรายละเอียดประกอบร่าง

4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

5. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา โดยมีผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมพิจารณา ซึ่งจะต้องผ่าน

6. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

7. ดำเนินการจ้างพิมพ์แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา

8. นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
69. ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร คือเท่าไร




ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด มีดังนี้

1. ไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัว ใช้ประกอบเกษตรกรรม

2. ไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัว ใช้ประกอบเกษตรกรรมประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ

3. จำนวนตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร สำหรับสถาบันเกษตรกร

4. ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและเกษตรกรครอบครองอยู่แล้วก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด จัดให้ตามที่ครอบครองแต่ไม่เกิน 100 ไร่
68. ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง




ผู้ที่มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน มี 4 ประเภท ดังนี้คือ

1. กรณี จัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องจัดให้แก่เกษตรกรผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่ เพียงพอแก่การครองชีพ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.1 ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

1.2 ผู้ประสงค์จะเป็นเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มี 3 ประเภท คือ

1.2.1 บุคคลผู้ยากจน

1.2.2 ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม

1.2.3 ผู้เป็นบุตรของเกษตรกร

1.3 สถาบันเกษตรกร

2. กรณีการ จัดที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับ การปฏิรูปที่ดิน ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลผู้มีความสามารถตามกฎหมายและประกอบกิจการตามที่กำหนดใน ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

3. กรณีการจัดที่ดินกิจการสาธารณูปโภค ได้แก่ ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร

4. กรณีการจัดที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดิน มาใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในการนำทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์
67. การจัดที่ดินมีกี่ประเภทอะไรบ้าง




การจัดที่ดินสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของกิจการแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1. การจัดที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วย กรณีการจัดให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร

2. การจัดที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการ ปฏิรูปที่ดิน ซึ่งลักษณะของกิจการเป็นไปตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

3. การจัดที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นบริการสาธารณประโยชน์

4. การจัดที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินมาใช้ประโยชน์ ตามกฎหมายอื่น ซึ่ง ส.ป.ก.เพียงให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดิน ส่วนการอนุญาตให้ประกอบกิจการเป็นไปตามกฏหมายอื่น
66. ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง




ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูปที่ดิน มี 4 ขั้นตอน คือ

1. การนำที่ดินมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

2. การจัดที่ดิน

3. การควบคุมสิทธิในที่ดิน

4. การประสานงานพัฒนาและการจัดระบบการผลิตและการจำหน่าย
65. ส.ป.ก. กำหนดราคาที่ดินที่จะจัดซื้ออย่างไร




ส.ป.ก. กำหนดราคาที่ดินขั้นสูงสุดที่ คปจ.มีอำนาจอนุมัติ แยกตามรายภาค คือ

ภาคเหนือ ไม่เกินไร่ละ 20,000 บาท

ภาคกลาง ไม่เกินไร่ละ 23,000 บาท

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่เกินไร่ละ 10,000 บาท

ภาคใต้ ไม่เกินไร่ละ 30,000 บาท

ถ้าราคาเกินจากนี้ อยู่ในอำนาจการอนุมัติของคณะอนุกรรมการโครงการและการเงิน กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (อกก.คง.) และ คปก.
64. ที่ดินเอกชน ได้แก่ ที่ดิน ประเภทใดบ้าง




ที่ดิน ของเอกชน หมายถึง ที่ดินที่ ส.ป.ก.จัดซื้อมาจากเจ้าของที่ดินที่ต้องการขายที่ดินให้ หรือมีที่ดินมากเกินกว่ากฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนด คือ

- เกินกว่า 50 ไร่ สำหรับที่ดินประกอบเกษตรกรรม

- เกินกว่า 100 ไร่ สำหรับการประกอบเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่

- เกินกว่า 20 ไร่ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ประกอบเกษตรกรรม
63. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินประเภท ใดบ้าง




ที่ของรัฐที่นำมาปฏิรูปที่ดิน ได้แก่

- ที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม ไม่สามารถฟื้นฟูเป็นป่าได้ และที่ดินมีสภาพเหมาะสมกับการเกษตร และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน

- ที่จำแนกฯ ออกจากป่าไม้ถาวร ตาม มติคณะรัฐมนตรีในกรณีที่เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ มีความเหมาะสมต่อการเกษตร และยังไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติจะพิจารณามอบให้ ส.ป.ก.นำมาปฏิรูปที่ดิน

- ที่สาธารณประโยชน์ เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกันหรือได้เปลี่ยนสภาพไป ส.ป.ก.จะดำเนินการเมื่อสภาตำบลเห็นสมควรให้นำมา ปฏิรูปที่ดิน และผ่านความเห็นชอบจากอำเภอและจังหวัดแล้ว

- ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ รกร้างว่างเปล่า หรือที่สงวนหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เช่น ที่หวงห้ามทหารที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงการคลังดูแล เมื่อได้รับความยินยอมจากทางราชการไม่จำเป็นต้องใช้ที่ดินนั้นแล้ว ส.ป.ก.จะนำมาปฏิรูปที่ดิน
62. ประเภทของที่ดินที่นำมาปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง




ที่ดินที่นำมาปฏิรูปที่ดิน มี 2 ประเภท คือ ที่ของรัฐ และที่ของเอกชน ซึ่งรวมที่ดินบริจาคไว้ด้วย
61. เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หมายความว่าอย่างไร




เจ้า ของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง หมายความว่า เจ้าของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผลประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรง และไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น
60. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายความว่าอย่างไร




การ เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายความว่า การเช่าหรือการเช่าช่วง โดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ว่าการเช่า หรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าท่ดินและการทำนิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดัง กล่าว
59. สถาบันเกษตรกร หมายความว่าอย่างไร




สถาบันเกษตรกร หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
58. เกษตรกร หมายความว่าอย่างไร




เกษตรกรรม หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงผู้ยากจน หรือ ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือ ผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และปะสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย
57. เกษตรกรรม หมายความว่าอย่างไร




เกษตรกรรม หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
56. ที่ดินของรัฐหมายความว่าอย่างไร




ที่ดิน ของรัฐ หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัย หรือทำประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
55. เขตปฏิรูปที่ดินหมายความว่าอย่างไร




เขต ปฏิรูปที่ดิน หมายความว่า เขตที่ดินที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีแผนที่แสดงเขตระบุท้องที่ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินด้วย และให้กำหนดเฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นจะถือเขตของ ตำบลหรืออำเภอเป็นหลักก็ได้ และมีข้อยกเว้นไม่ต้องประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ในกรณีที่ ส.ป.ก.ได้ที่ดินมาเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยและมิได้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดที่ดินให้กับเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร เสมือนว่าเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน
54. ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร




ส.ป.ก.4-01 คือ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของ รัฐไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
53. ประโยชน์ของการปฏิรูปที่ดิน มีอะไรบ้าง




ประโยชน์ของการปฏิรูปที่ดินคือ

1. รักษาที่ดินเพื่อการเกษตรให้เป็นของเกษตรกรโดยแท้จริง ได้รับการคุ้มครองสิทธิและควบคุมไม่ให้มีการเปลี่ยนสิทธิการถือครองแก่ผู้ อื่น ยกเว้นตกทอด ทางมรดกแก่ทายาทที่เป็นเกษตรกร หรือโอนให้แก่ ส.ป.ก. หรือสถาบันเกษตรกร

2. เกษตรกรที่ถือครองทำกินอยู่เดิมในที่ของรัฐ จะได้รับการจัดให้ทำกินใน ขนาดที่เหมาะสม และได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูป ขนาดที่เหมาะสม และได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูป ที่ดิน ซึ่งสามารถค้ำประกันเงินกู้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้

3. ที่ดินได้รับการพัฒนา มีถนนหนทางแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่มีขึ้น

4. กระจายระบบผูกขาดที่ดินจากผู้มีที่ดินมากเกินกฎหมายกำหนดและไม่ได้ใช้ ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการเกษตรด้วยตนเองมาจัดให้เกษตรกรได้มีที่ดิน ทำกิน โดยรัฐจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกได้ชำระ ค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เพื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายและได้ใช้ที่ดินเพื่อ การเกษตรต่อไป
52. กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คืออะไร




กอง ทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นองค์กรทางการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดินนอกเหนือจากงบประมาณ ที่ ส.ป.ก.ได้รับ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อจัดซื้อที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การให้สินเชื่อเกษตรกร
51. องค์กรเพื่อการปฏิรูปที่ดินมีอะไรบ้าง




องค์กรเพื่อการปฏิรูปที่ดิน ประกอบด้วย

1. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงาน

ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆรวมทั้งจัดหาที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดิน

2. คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดมาตรการวิธีปฏิบัติงานของ ส.ป.ก.จังหวัด และควบคุมติดตาม การปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการที่ คปก.อนุมัติ
50. วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดิน คืออะไร




จากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

การปฏิรูปที่ดิน มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

1. เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทำให้เกษตรกรผู้เช่าที่ดิน ผู้ไร้ที่ดินทำกิน และผู้ประสงค์จะเป็นเกษตรกร ได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินหรือมีที่ดินสำหรับทำการเกษตรเป็นของตนเองอย่าง ถาวรต่อไป

2. เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม และใช้ทรัพยากรที่ดินให้มีประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงการผลิต ให้บริการด้านสินเชื่อและการตลาดให้เกษตรกร

3. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันเกษตรกร พัฒนาอาชีพนอกการเกษตร บริการสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มสวัสดิการและเสริมสร้างความเจริญในท้องถิ่นทำให้เกษตรกรมีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น
49. ศูนย์ฯ จะมีแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลที่สามารถนำมาใช้เป็นแผนในการให้บริการความ รู้แหล่งข้อมูลพื้นฐานเกษตร การพยากรณ์และเตือนภย คณะกรรมการศูนย์เกิดกระบวนการเรียนรู้วิธีบริหารจัดการงาน เกิดเครือข่าเกษตรกร ตำบลมีฐานข้อมูล และแผนพัฒนาเกษตรที่สอดคล้องกับศักย




พันธกิจของ ส.ป.ก. มี 4 ประการ คือ

1. การจัดที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกร

2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอาชีพ

3. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม

4. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
48. คนในชุมชนจะได้อะไรจากการมีโครงการ




ศูนย์ฯ จะมีแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลที่สามารถนำมาใช้เป็นแผนในการให้บริการความ รู้แหล่งข้อมูลพื้นฐานเกษตร การพยากรณ์และเตือนภย คณะกรรมการศูนย์เกิดกระบวนการเรียนรู้วิธีบริหารจัดการงาน เกิดเครือข่าเกษตรกร ตำบลมีฐานข้อมูล และแผนพัฒนาเกษตรที่สอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของชุมชน และชุมชนสามารถบริหารจัดการตามแผนพัฒนาด้วยตนเอง
47. โครงการนี้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง




โครงการนี้ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ

1. การอุดหนุนแผนชุมชนที่ได้รับการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรตำบลแล้ว

2. การจัดเวทีชุมชนเพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาการเกษตรของตำบล

3. การอบรมผู้ชุมชนเกษตรกรเพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ชุมชนในการสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชน

4. การประชุมสัมมนาคณะกรรมการการบริหารศูนย์ฯเพื่อกำหนดแผนพัฒนาการเกษตรและบริหารจัดการศูนย์ฯ
46. โครงการนี้ดำเนินการในพื้นที่ใดบ้าง




ดำเนินการในศูนย์และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรกรประจำตำบล 7,125 ตำบล ทั่วประเทศ
45. สมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกร จะเข้าร่วมโครงการลดภาระ หนี้ฯ หรือปรับโครงสร้างหนี้หรือฟื้นฟูอาชีพได้ ต้องมีคุณสมบัติอะไรหรือไม่




ต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กำหนด
44. การฟื้นฟู หมายถึงอะไร




การ ฟื้นฟูอาชีพ หมายถึง การให้สมาชิก (ลูกหนี้ผิดปกติ) กู้เงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (ก.พ.ส.) เพื่อฟื้นฟูอาชีพเดิมประกอบอาชีพเสริม ส่งเสริมอาชีพใหม่
43. การปรับโครงสร้างหนี้ หมายถึงอะไร




เป็นการจัดระเบียบหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ (ลูกหนี้ผิดปกติ)ใหม่ดังนี้

1. หนี้ค้างนานยืดงวดชำระไม่เกิน 15 ปี

2. ดอกเบี้ยและค่าปรับค้างเปลี่ยนเป็นเงินต้น ยืดงวดชำระไม่เกิน 15 ปี ดอกเบี้ย 0%

3. เสนอแผนการผลิตเพื่อฟื้นฟูอาชีพ
42. สมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ปกติ (ไม่สามารถชำระหนี้ได้) เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้วจะได้รับการช่วยเหลืออะไรบ้าง




ได้รับการการช่วยเหลือโครงการปรับโครงสร้างหนี้ และฟื้นฟูอาชีพ
41. สมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ปกติ (สามารถชำระหนี้ได้) เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้วจะได้ลดดอกเบี้ย 3 % ตอนไหน




จะได้ดอกเบี้ย 3 % ทันที เมื่อส่งชำระหนี้
40. เกษตรกรทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรจะเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่




ไม่ได้ เพราะโครงการนี้ ต้องการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์หรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกร
39. เมื่อเข้าร่วมโครงการลดภาระหนี้แล้ว จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง




1. ได้รับการลดภาระหนี้โครงการลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 3 ต่อปีเป็นเวลา 3 ปี และเป็นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 ถึง 30 กันยายน 2547

2. เกษตรกรจะได้ใช้โอกาสการลดภาระหนี้ไปฟื้นฟูการประอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้สามารถนำรายได้ส่งชำระหนี้

3. เพิ่มเงินออมให้ครอบครัว เพื่อนำไปขยายการลงทุนการประกอบอาชีพ
38. บุคคลประเภทใดที่จะได้ลดภาระหนี้




ต้อง เป็นสมาชิกสหกรณืภาคเกษตรหรือสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือกับ สถาบันเกษตรกรนั้นๆ ไม่เกิน 100,000 บาท โดยใช้มูลหนี้ที่สมาชิกเคยกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกรในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาและต้องไม่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรย่อย ตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)
37. วัตถุประสงค์ของโครงการลดหนี้ฯ เป็นอย่างไร




เพื่อ ให้เกษตรกรสมาชิกสถาบันเกษตรกรทที่มีหนี้สินไม่เกิน 100,000 บาท ใช้โอกาสที่สุดภาระหนี้ไปปรับปรุงประสิทธิ์ภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้และ เพิ่มความสามารถในการส่งชำระหนี้ โดยได้รับการฟื้นฟูอาชีพจากโครงการฯ
36. โครงการลดภาระหนี้ฯเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่และจะสิ้นสุดเมื่อใด




โครงการลดภาระหนี้ฯ เริ่มมาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 และจะสิ้นสุด 30 ตุลาคม 2547 รวม 3 ปี
35. หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของ ธกส.




เมื่อ ประกาศรายชื่อเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สกย. จะจัดปฐมนิเทศชี้แจง อบรมการปลูกและรักษาต้นยาง และมอบหนังสือประจำตัว เพื่อใช้เป็นหลักซานในการกู้เงิน โดยรัฐให้รับความช่วยเหลือรายละไม่เกิน 10 ไร่ และกำหนดเวลาจ่ายเงินกู้ 6 ปี ตามข้อกำหนดของ สกย.
34. การสนับสนุนจากภาครัฐ




เกษตรกร จะได้รับต้นพันธ์ยางจำนวน 90 ต้นต่อไร่ และสินเชื่อจาก ธกส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต้นยาง ในวงเงินกู้ไม่เกิน 5,360 บาท/ไร่
33. หลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกร




เกษตรกร ยื่นสมัคร และตรวจสอบเอกสารแสดงรายการครอบครองที่ดินที่ทางราชการออกให้ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง ในพื้นที่ 30 ตร.กม. ต้องมีพื้นที่ปลูกยางไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่
32. ความเป็นมาของโครงการ




มี มติคณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงฯ ระยะดำเนินการ ปี 2547-2549 และมีพื้นที่เป้าหมาย 1,000,000 ไร่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
31. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือหน่วยงานใด




สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
30. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ แต่อาจจะไม่ขอกู้ได้หรือไม่




ได้ (เมื่อเกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้แล้ว ในระยะเวล่าอไปเมื่อเกษตรกรต้องการจะกู้เงิน ก็สามารถยื่นกู้ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการดำเนินการงานบางขั้นตอนของเจ้าหน้าที่
29. หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีอะไรบ้าง




1. ความน่าเชื่อถือในตัวเกษตรกร

2. ความเป็นไปได้ของโครงการและแผนการผลิต

3. ที่ดิน

4. สินทรัพย์ติดที่ดิน
28. ขั้นตอนการเข้าโครงการฯและยื่นกู้ของเกษตรกร




1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

2. เกษตรกรเข้าอบรมพัฒนาอาชีพ (สำหรับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนอาชีพ)

3.เกษตรกรยื่นกู้ ธ.ก.ส. (หลังจากนั้น ธ.ก.ส. ตรวจสอบ ประเมินเพื่ออนุมัติ อนุมัติสินเชื่อ
27. ประเภทของเอกสิทธิ์ ที่สามารถนำมาแปลงสินทรัพย์มีอไรบ้าง




เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. มี 4 ประเภท ได้แก่

1.หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก. 4-01

2. สัญญาเช่า

3. สัญญาซื้อ

4. กรรมสิทธิ์อื่นๆ เช่น โฉนด นส. 3ก (เป็นกรรมสิทธิ์ที่ยังติดเงื่อนไขการโอนสิทธ์ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)
26. สถาบันการเงินที่ให้กู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯนี้




ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ
25. เป้าหมายเกษตรกรที่จะได้รับอนุมัติเงินกู้เท่าไร




800,000 ราย วงเงินกู้ เป้าหมาย 80,000 ล้านบาท
24. ดำเนินการจังหวัดใดบ้าง




ดำเนิน การในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 69 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ชลบุรี ตรด ระยอง กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระยอง สงขลา สตูล สุราษฎรธานี (จังหวัดที่ไม่ได้ดำเนินการ ได้แก่ กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปรการ อ่างทอง สิงห์บุรี)
23. ดำเนินการตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่




ปี 2547-2551
22. โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในเขตปฏิรูปที่ดิน (พื้นที 69 จังหวัด)




ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่

กำแพงเพชร,เชียงราย,เชียงใหม่,ตาก,นครสวรรค์,น่าน,พะเยา,พิจิตร,พิษณุโลก, เพชรบูรณ์,แพร่,แม่ฮ่องสอน,ลำปาง,ลำพูน,สุโขทัย,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี

ภาคกลาง 19 จังหวัด ได้แก่

กาญจนบุรี,จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี,ชัยนาท,ตราด,นครนายก,นครปฐม, ปทุมธานี,ประจวบคีรีขันธ์,ปราจีนบุรี,พระนครศรีอยุธยา,เพชรบุรี,ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี,สระแก้ว,สระบุรี,สุพรรณบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ได้แก่

กาฬสินธุ์,ขอนแก่น,ชัยภูมิ,นครพนม,นครราชสีมา,บุรีรัมย์,มหาสารคาม,มุกดาหาร ยโสธร,ร้อยเอ็ด,เลย,ศรีสะเกษ,สกลนคร,สุรินทร์,หนองคาย,หนอง บัวลำภู,อุดรธานี,อุบลราชธานี,อำนาจเจริญ

ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่

กระบี่,ชุมพร,ตรัง,นครศรีธรรมราช,นราธิวาส,ปัตตานี,พังงา,พัทลุง,ภูเก็ต,ยะลา, ระนอง,สงขลา,สตูล,สุราษฎร์ธานี
21. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือหน่วยงานใด




สำนักงานการปฏิรูปที่เพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
20. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ แต่อาจจไม่ขอกู้ได้หรือไม่




ได้ (เมื่อเกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ ในระยะเวลาต่อไปเมื่อเกษตรกรต้องการจะกู้เงิน ก็สามารถยื่นกู้ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการดำเนินงานบางขั้นตอนของเจ้าหน้าที่
19. หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ มีอะไรบ้าง




1. ความน่าเชื่อถือในตัวเกษตรกร

2 ความเป็นไปได้ของโครงการและแผนการผลิต

3. ที่ดิน

4. สินทรัพย์ติดที่ดิน
18. ขั้นตอนการเข้าโครงการฯและยื่นกู้ของเกษตรกร




1. ขึ้นทะเบียนเกษตรกร

2. เกษตรกรเข้าอบรมพฒนาอาชีพ (สำหรับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนอาชีพ)

3. เกษตรกรยื่นกู้ ธ.ก.ส. (หลังจากรฃนั้น ธ.ก.ส. ตรวจสอบ ประเมินเพื่ออนุมัติ อนุมัติสินเชื่อ)
17. ประเภทของเอกสิทธิ์ ที่สามารถนำมาแปลงสินทรัพย์มีอไรบ้าง




เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. มี 4 ประเภท ได้แก่

1.หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก. 4-01

2. สัญญาเช่า

3. สัญญาซื้อ

4. กรรมสิทธิ์อื่นๆ เช่น โฉนด นส. 3ก (เป็นกรรมสิทธิ์ที่ยังติดเงื่อนไขการโอนสิทธ์ตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม)
16. สถาบันการเงินที่ให้กู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯนี้




ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ
15. ขั้นตอนการดำเนินงานหรือขั้นตอนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของพื้นที่ นำร่องต่างจากพื้นที่ปกติหรือไม่




เหมือนกัน (เพียงแต่ในพื้นที่นำร่องจะเริ่มดำเนินการก่อนและสิ้นสุดโครงการก่อน)
14. จังหวัดที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว จะดำเนินการในพื้นที่ปกติ (69 จังหวัด) ด้วยหรือไม่




จังหวัดที่ดำเนินการในพื้นที่นำร่องแล้ว จะดำเนินการในพื้นที่ปกติด้วย
13. เป้าหมายเกษตรกรที่จะได้รับอนุมัติเงินกู้เท่าไร




12,599 ราย
12. ดำเนินการในจังหวัดใดบ้าง




ดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย ราชบุรี ระยอง มหาสารคาม สกลนคร ชุมพร และ นครศรีธรรมราช
11. ดำเนินการตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่




ปี 2547-2551
10. โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในเขตปฏิรูปที่ดิน(พื้นที่นำร่อง 8 จังหวัด)




ดำเนินการในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน 8 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย ราชบุรี ระยอง มหาสารคาม สกลนคร ชุมพร และ นครศรีธรรมราช
9. ถ้าชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการงานโครงการนี้จะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่




จะ ไม่สามารถแบ่งแยกพื้นที่ป่ากับพื้นที่เกษตรให้ชัดเจน หน่วยงานต่างๆ ที่จะเข้ามาส่งเสริม และการพัฒนาในด้านต่างๆก็จะไม่สามารถเข้ามาดำเนินการได้เนื่องจากไม่แน่ใจ ขอบเขตที่แน่นอน ซึ่งโครงการนี้เมื่อมีการปักเสาแบ่งแยกพื้นที่ป่ากับพื้นที่เกษตรชัดเจนแล้ว ทางกรมพัฒนาที่ดินก็จะเข้ามาทำระบบฃงประทานและเส้นทางลำเลียงให้เป็นต้น
8. ในอนาคตสามารถนำที่ดินที่ สปก.สำรวจไปแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้หรือไม่




ใน อนาคตถ้าหากรัฐบาลมีนโยบายให้เกษตรในพื้นที่โครงการหลวงสามารถนำที่ดินไป แปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้ เราก็สามารถนำแปลงรวมที่ สปก.สำรวจให้นี้ไปแยกเป็นแปลงเดี่ยวของที่ละคนได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปสำรวจใหม่ เนื่องจากการสำรวจในครั้งนี้ถือเป็นมาตรฐานได้ในเรื่องของความถูกต้องและ แม่นยำ
7. เมื่อร่วมโครงการแล้วชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง




ชาว บ้านได้สิทธิในการทำกิน ทำการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่ต้องกังวลใจว่าจะถูกจับข้อหาบุกรุกป่า เพราะว่าโครงการนี้เป็นการแบ่งแยกพื้นที่ทำกินชัดเจน และหน่วยราชการอื่นๆ เช่น กรมพัฒนาที่ดิน หรือ โครงการหลวง ก็จะสามารถเข้ามาส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างเติมที่และชาวบ้านยังได้มีส่วน ร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย
6. จะแจกเอกสารสิทธิ์ให้หรือเปล่า


ในพื้นที่โครงการหลวงซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน หรือ เขตอุทยาน ตามกฎหมาย ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ใดๆ ได้
5. ชื่อเจ้าของแปลงที่ดินจะใช้ชื่อลูกได้หรือไม่เมื่อ สปก.มาทำการรังวัด


ได้ จะเป็นชื่อของใครก็ได้ เช่นของพ่อ ของแม่ ของลูกๆ เพียงแต่ต้องตกลงให้ได้ว่าจะใช่ชื่อใครเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นๆ เพราะมีกรณีที่ว่าให้ภรรยาไปนำชี้ที่ดินและช่างที่ทำการสำรวจก็ถามว่าที่ดิน ของใคร ภรรยาก็ตอบว่าเป็นของตน พอถึงการประชุมใหญ่ สามีมาประชุมปรากฎว่าไม่มีชื่อของตนเองคิดว่าที่ตนเองหายไป แต่ที่จริงแล้วกลับเป็นชื่อของภรรยา
4. มีชื่อเข้าร่วมโครงการ แต่ยังไม่ได้รับปัจจัยการผลิต


การ สนับสนุนของรัฐในปี 2545 และ 2546 จะช่วยเหลือเป็นเงินสด 3,000 บาท โดยเกษตรกรหาซื้อปัจจัยการผลิตที่ต้องการแนะนำบิลมาให้ส่วนราชการทำเบิก ซึ่งหากท่านไม่นำบิลมาเบิกก็จะไม่ได้รับเงินค่าปัจจัย
3. การสนับสนุนปัจจัยการผลิตยังคงมีต่อเนื่องในปีต่อๆ ไปหรือไม่




การ สนับสนุนปัจจัยการผลิตจะมีในปีแรกปีเดียว เมื่อรับปัจจัยการผลิตและดำเนินกิจกรรมดังกล่าว และมีรายได้จากผลผลิต นำรายได้ไปซื้อปัจจัยการผลิตมาดำเนินการต่อเนื่อง
2. การชำระหนึ้คืน ธกส. หลังสิ้นสุดโครงการ


เมื่อสิ้นสุดโครงการ เกษตรกรจะต้องชำระหนี้สินคืนให้กับ ธกส. อาจเป็นงวด หรือชำระคืนทั้งหมด ตามข้อตกลงกับ ธกส.
1. โครงการพักชำระหนี้จะมีต่อหรือไม่


ได้มีการจดทะเบียนคนยากจน เพื่อกำหนดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหาที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจประเทศ

Directory >> เว็บท่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ >FAQ >สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
Read more ...